เสียงสัชฌายะดิจิทัล

เสียงสัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation) คือ การออกเสียงปาฬิในระบบดิจิทัลตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ โดยอ่านตามโน้ตเสียงปาฬิ ทั้งชุดในพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งถ้าจัดพิมพ์เป็นชุดหนังสือจะมีจำนวนถึง 250 เล่ม

พระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะดิจิทัลรวมเวลา 3,052 ชั่วโมง หรือ 1.6 เทราไบต์  จัดทำเพื่อบริการสื่อมัลติมีเดียภาพและเสียง​ในระบบ​สตรีมมิ่ง​บนอินเทอร์เน็ตสำหรับการฟังเสียงสัชฌายะพร้อมคำแปล และสามารถค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบต่างๆ อาทิ e-book ตลอดจนภาพและเสียงในระบบออนไลน์  (Streaming Media) ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

เสียงสัชฌายะดิจิทัล สามารถบันทึกลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัชฌายะต่างๆ เพื่อเป็นคู่มือประกอบการศึกษาชุดหนังสือ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) เพื่อประโยชน์ในการพกพา อันกล่าวได้ว่าเป็นความพยายามในการนำเสียงสังคายนาพระไตรปิฎกจากอดีตเมื่อ พ.ศ. 1 กว่า 2500 ปีมาแล้ว กลับมาสู่โลกปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง โดยโครงการพระไตรปิฎกสากลใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการสร้างสรรค์พระไตรปิฎกสัชฌายะ รวมเวลาดำเนินงานในโครงการพระไตรปิฎกสากลทั้งสิ้น 20 ปี 

เสียงสัชฌายะดิจิทัลสร้างตามสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาของมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล เรื่อง โปรแกรมการแบ่งพยางค์ปาฬิอัตโนมัติ เลขที่ 46390

ขั้นตอนดำเนินงานสร้าง
พระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะดิจิทัล
สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ / สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
พร้อมคำแปลเป็นภาษาต่างๆ
พ.ศ. 2549-2562 :

1. ถอดเสียงปาฬิ ตามต้นฉบับพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 เป็น พระไตรปิฎกสากล อักษรไทย (Pāḷi Transcription into Thai Alphabet) โดย สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9, พ.ศ. 2549-2554

2. นำเสนอชุด อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Lahu Garu Phonetic Alphabet-Pāḷi) เพื่อจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) โดย ศ.กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ พ.ศ. 2552-2557

3. สร้างสูตรสกัดคณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์ ความแม่นตรงของการถอดเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก ด้วย ชุดสัททะอักขะระ ต่างๆ ว่า แม่นตรงและเป็นเอกภาพ กับไวยากรณ์กัจจายะนะ และพระไตรปิฎกสากล โดย ศ.ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์, ราชบัณฑิต พ.ศ. 2557

4. สร้างข้อมูลพระไตรปิฎกสากลขนาดใหญ่ และ พระไตรปิฎกปัญญาประดิษฐ์ (World Tipiṭaka Big Data & World Tipiṭaka AI) โดย ปิยะพงษ์ รักพงษ์ไทย และคณะ พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน 

5. ออกแบบ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) ในพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) โดย รศ.ดร. ศศี พงศ์สรายุทธ พ.ศ. 2557

6. ฝึกหัด และผลิตเสียงสัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation Sound) จากโน้ตเสียงปาฬิ พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก. โดย ศ.ดวงใจ ทิวทอง พ.ศ. 2558-2560

7. สร้างตารางการถอดเสียงปาฬิ เป็น ชุด สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ และ การแบ่งพยางค์เสียงตามไวยากรณ์กัจจายะนะ (Pāḷi Russian Alphabetic Transcription and Kaccāyana Syllabic Segmentation) โดย พันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค พ.ศ. 2559-2562

8. สร้างสัททสัญลักษณ์สำหรับ ชุด ละหุ คะรุ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ (Lahu Garu Russian Phonetic Alphabet-Pāḷi and Russian Tipiṭaka Orthographic Writing) โดย ผศ.ศรัญธร ชูทิม และ ดร.รมย์ ภิรมนตรี พ.ศ. 2562

9. แปลเป็นภาษารัสเซียจากภาษาไทย ซึ่งอ้างอิงพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน  (World Tipiṭaka in Russian Translation) ซึ่งเป็นการแปลอ้างอิงเป็นคำๆ ตามฐานข้อมูลโดย ดร.รมย์ ภิรมนตรี พ.ศ. 2559-2562


แปลเป็นภาษารัสเซีย จาก ภาษาไทย

10. สร้างฐานข้อมูลชุด สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ พ.ศ. 2559-2562 (World Tipiṭaka Database in Russian Phonetic Symbol) และ จัดพิมพ์เผยแผ่ตามสิทธิบัตรสัชฌายะ เลขที่ 46390 โดย ท่านผู้หญิง วราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (Published in according with Sajjhāya Syllabic Segmentation Patent No. 46390 by World Tipiṭaka Foundation) พ.ศ. 2562

ตัวอย่างเสียงสัชฌายะดิจิทัล
สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ 
คู่ขนาน
 สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ

 

ตัวอย่างเสียงสัชฌายะดิจิทัล
สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ
คู่ขนาน
สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ

ตัวอย่างเสียงสัชฌายะดิจิทัล
สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
คู่ขนานสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ