Anthology of Syām Tipiṭaka

Cover Anthology Syam

พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช (จ.ป.ร.) รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ 

ปรับปรุงและจัดพิมพ์เป็น 

ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช (จ.ป.ร.) ร.ศ. ๑๑๒ อักษรสยาม 

โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

เพื่อเฉลิมพระเกียรติ วาระ ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ สมเด็จสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในรัชกาลที่ ๙ กุลเชษฐ์พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราชแห่งกรุงสยาม

องค์ประธานกิตติมศักดิ์การพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกสากล ผู้ทรงได้รับพระราชสมัญญาจากประชาคมนานาชาติ ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก (UNESCO Eminent Personality of the World 2023 )

จปร

ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม รวม ฉบับประมวลธัมม์ พ.ศ. 2566 1 เล่ม (Syām-Script Tipiṭaka: The Digital Preservation Anthology Edition) 

quick guide syam

คำนำ​ผู้​จัด​พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

พ.ศ. ๒๕๔๒ กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ท่านผู้หญิง ม.ล. มณี​รัตน์ บุนนาค ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร​ สมเด็จ​พระ​สังฆราช สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก ผู้​ดำเนิน​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล ได้​เริ่ม​สืบค้น​และ​ศึกษา​พระ​ไตร​ปิฎก​ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ปาฬิ​ภาสา-​อักษร​สยาม และ​ต่อ​มา​ใน​ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงสามารถจัดพิมพ์พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ปาฬิภาสา-อักษร​โรมัน ได้สำเร็จตามรอยต้นฉบับพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ปาฬิภาสา-อักษรสยาม เนื่อง​ใน​วาระ​ครบ​รอบ ๑๑๒ ปี​แห่ง​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก ร.ศ. ๑๑๒ ชุด​ประวัติศาสตร์​​นี้

จปร

ใน​ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา กรม​หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ​ผู้ทรงเป็นประธาน​กิตติมศักดิ์​การ​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​พระ​ไตรปิฎก​สากลใน​นานาประเทศ​ ได้​โปรด​เกล้าฯ​ ให้กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ เป็นผู้ดำเนินการจัด​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎกสากล​ ปาฬิภาสา-อักษร​โรมัน ​และ​พระราชทาน​ประดิษฐาน ณ ศาล​ฎีกา​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย ใน​มหา​มงคล​วโรกาส​ที่​พระบาท​สมเด็จ​พระเจ้าอยู่หัว​ทรง​เจริญ​พระชนมพรรษา​ครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งเป็นการตามรอยการจัดพิมพ์และพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร​. ปาฬิภาสา-อักษรสยาม ประดิษฐาน ณ สถาบันสำคัญในนานาประเทศทั่วโลก 

พระพี่นาง ๑๐๐ ปี

ภาพพระราชทานแด่ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ผู้ก่อตั้งกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ

ใน​ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ ได้​จัด​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ จ.ป.ร. ปาฬิภาสา-อักษร​สยาม ​เป็น​ฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัลเป็นครั้งแรก ​เพื่อ​เฉลิมพระเกียรติ​​พระ​ราช​ปัญญา​ญาณ​ใน​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ผู้ทรง​โปรด​ให้​จัด​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​​ขึ้น​เป็น​ชุด​ครั้งแรกของโลก ​จึง​ได้​ขนานนาม​ฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัลชุด​นี้​ว่า พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช ซึ่ง​เป็นการ​เขียน​ทับศัพท์คำ ปาฬิ (Pāḷi) ตาม​หลัก​การ​เขียน​ใน​สมัย​รัชกาล​ที่ ๕ และ​ตรง​ตาม​เสียง​ปาฬิ​ที่​สืบทอด​ภาษา​ธัมมะ (dhamma) ใน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ตั้งแต่​สมัย​พุทธกาล​ ​แทน​การ​เขียน​แต่เดิมว่า ​บาฬี หรือ บาลี 

ขอ​อนุโมทนา​สาธุการ​ใน​กุศล​เจตนา​ของ​การ​อนุรักษ์ ​และ​เผยแผ่​ พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช ร.ศ. ๑๑๒ ​ฉบับ​อนุรักษ์​ชุด​นี้ สม​ดัง​คาถา​ภาษา​พระ​ธัมม์​ที่​ปรากฏ​ใน​ตรา​แผ่นดิน​ใน​สมัย​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว ​อัน​เป็น​สัญลักษณ์​บนหน้าปกของพระ​ไตร​ปิฎก​ฉบับ​นี้​ ซึ่ง​เขียน​ด้วยอักขรวิธี ปาฬิภาสา-อักษร​สยาม ​ว่า สัพ์​เพสํ สํฆ​ภู​ตานํ สา​มัค์​คี วุฑ์ฒิ​สาธิ​กา (สับ​เบสั​ง สังฆ​ะ​ภู​ตานั​ง สา​มัค​คี วุฑฒิ​สาธิ​กา)

กราฟิก A5 แนวนอน

แปล​ว่า ความ​สามัคคี​ของ​หมู่​ชน​ทั้ง​ปวง​ยัง​ความ​เจริญ​ให้​สำเร็จ และ ขอ​ให้​ความ​สำเร็จ​นี้​จง​มี​แก่​การ​ศึกษา (พระ​ไตรปิฎก) ดัง​คาถา​ใน​ภาษา​พระ​ธัมม์​ที่​เขียน​เป็น​ ปาฬิภาสา-อักษร​โรมัน​ว่า namo buddhāya siddhaṁ siddhamastu siddhituṁ

ขอ​กุศล​บุญ​กิริยา​ใน​การ​อนุรักษ์​สถาบัน​สูงสุด​ใน​พระ​บวร​พุทธ​ศาสนา คือ พระ​ไตร​ปิฎก​ จ.ป.ร. อักษร​สยาม​ และ​การ​สร้าง​พระ​ไตรปิฎกสากล​ อักษร​โรมัน​ ฉบับ​สมบูรณ์​ ตามรอยฉบับอักษรสยาม พร้อม​ทั้ง​บุญ​กิริยา​ใน​การ​สมโภชและ​ถวาย​พระ​ไตรปิฎก​แด่​สถาบัน​สงฆ์​ จง​เป็น​พลว​ปัจจัย​ให้​ท่าน​ผู้​มี​ส่วน​ใน​พระ​ธัมม​ทาน​อัน​ล้ำเลิศ​นี้​ ประสบ​แต่​ผล​อัน​ไพบูลย์​ตลอด​ไป ​และ​ขอ​น้อม​เกล้า​น้อม​กระหม่อม​ถวาย​กุศลปัญญาบารมี​ทั้ง​ปวง​ เป็น​พระ​ราช​กุศล​แด่​สถาบัน​พระ​มหา​กษัตริย์​พุทธมามกะ​ไทย​ ผู้ทรง​พระคุณ​อัน​ประเสริฐ​เทอญ.

(นาย​สิริ เพ็​ชร​ไชย ป.ธ. ๙)
ประธาน​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ​ท่านผู้หญิง​ ​ม.ล.มณี​รัตน์​ ​บุนนาค​ ​
ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์​​สมเด็จ​พระ​สังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร​ ​
พ.ศ. 2543-2554

ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
พ.ศ. 2555

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์
ประธาน​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ​ท่านผู้หญิง​ ​ม.ล.มณี​รัตน์​ ​บุนนาค​ ​
ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์​​สมเด็จ​พระ​สังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร​ ​
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน

 

ตย จปร

คำนำ พ.ศ. ๒๕๖๗

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ : อนุรักษ์ดิจิทัล ๒๕๖๖ ฉบับประมวลธัมม์ (Anthology)

๑. การเขียนเสียงปาฬิภาสาในอดีต

การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ปาฬิภาสา เป็นชุดหนังสือกำเนิดขึ้นโดยนักวิชาการทางภาษาในทวีปยุโรปปลายศตวรรษที่ ๑๘ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. 1881) แต่การตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎก ปาฬิภาสา ที่สำเร็จเป็นชุดแรกของโลก คือ ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๑ และตีพิมพ์เป็น ปาฬิภาสา-อักษรสยาม ครั้งนั้นแบ่งเป็นชุด ๓๙ เล่ม ซึ่งอ้างอิงกับฉบับพระไตรปิฎกใบลาน-อักษรขอม พ.ศ. ๒๓๓๑ ซึ่งเป็นผลจากสังคายนาพระไตรปิฎกโดยคณะสงฆ์ไทย 

การเขียนเสียงปาฬิภาสาครั้งสำคัญที่จะยกมาอ้างอิง ณ ที่นี้ มีดังนี้

๑.๑ Chulachomklao of Syām Tipiṭaka B.E. 2436 / 1893 (Syām-Script)

ฉบับอักษรสยาม พิมพ์สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยแบ่งเป็นชุด ๓๙ เล่ม แม้ยังมีอีก ๖ คัมภีร์ ที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์ แต่การพิมพ์เป็นชุด และมีการจัดส่งเป็นพระธัมมทานแก่หอสมุดสำคัญทั่วโลกไม่น้อยกว่า ๒๕๐ สถาบัน จึงทำให้พระไตรปิฎกอักษรสยามมีความโดดเด่นว่าเป็นพระไตรปิฎกฉบับที่ตีพิมพ์เป็นชุด ชุดแรกของโลก และแม้ว่าการปริวรรตถ่ายถอดอักษรเป็นอักษรสยามได้รับการยกย่องโดยปราชญ์ชาวตะวันตก ว่า เป็นผลงานอันล้ำค่า[1]  แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าฉบับอักษรสยามมิได้เป็นที่สนใจของนักวิชาการเท่าไรนัก อาจจะเป็นเพราะนักวิชาการตะวันตกส่วนใหญ่คุ้นเคยแล้วกับฉบับอักษรโรมันของสมาคมปาลีปกรณ์ และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่มากแล้ว จึงไม่มีผู้ต้องการที่จะทำการศึกษาอักษรสยามใหม่เพื่อแปลเปรียบเทียบ เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของนักวิชาการชาวตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาต่างๆ แต่ไม่สนใจการออกเสียงและไวยากรณ์ทางเสียง ด้วยเหตุนี้ ฉบับอักษรสยาม แม้จะเป็นทั้งการถ่ายถอดอักษร และ การถอดเสียง จึงมิได้รับความสนใจจากนักวิชาการในระดับนานาชาติ

syam at oslo

๑.๒ Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500 (Roman-Script)

ใน​การ​จัด​เตรียม​ต้นฉบับ​อักษร​โรมัน​ (Roman-Script Transliteration Edition) ​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​มีหลักการอ้างอิงที่สำคัญ ๓ ประการ คือ 

๑.๒.๑ การอ้างอิงเนื้อหาปาฬิภาสา (Pāḷi text) ตลอดจนชื่อหัวข้อ และการแบ่งเป็นชุด 40 เล่ม กับต้นฉบับ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ภาสา ฉบับ​ฉัฏฐ​สังคีติ​ ​(Chaṭṭhasaṅgīti​ Tipiṭaka B.E. 2500 Edition) พิมพ์​ด้วย​อักษร​พม่า​ จากการประชุม​สังคายนา​ระดับ​นานาชาติ​ครั้ง​เดียว​ของ​โลก พ.ศ​.​ ​​๒๕๐๐

๑.๒.๒ การอ้างอิงอักขรวิธีการเขียนเสียงปาฬิ (Pāḷi orthographic writing) ซึ่งมีการอ้างอิงเสียงละหุ (Lahu) และเสียงคะรุ (Garu) ตามหลักพยัญชนะกุสะละในพระวินัยปิฎก กับต้นฉบับ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม หรือ ปัจจุบันเรียกว่า จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ที่มีการแบ่งพยางค์ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การเขียน พยางค์เสียงไม่สะกด (ไม้อะ) เสียงสะกด (ไม้วัญฌการ) และเสียงกล้ำ (ไม้ยามักการ) ซึ่งฉบับอักษรสยามชุดนี้เป็นต้นฉบับที่เก่าที่สุดที่พม่าใช้อ้างอิงด้วย

 ๑.๒.๓ การอ้างอิงหน้า (page concordance reference) กับพระไตรปิฎกชุดสำคัญของโลกทุกฉบับ รวม ๑๓ ฉบับ ที่จัดพิมพ์ก่อน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นปีที่ฉบับอักษรโรมันจัดพิมพ์สำเร็จและเริ่มเผยแผ่ไปทั่วโลก

โครงการพระไตรปิฎกสากล จึงเป็นการตรวจทานใหม่ โดยผู้​เชี่ยวชาญ​ทั้งปาฬิภาสา และสหวิชาการด้านต่างๆ  ​​ซึ่งตรวจ​สอบ​การ​พิมพ์​เสียง​ปาฬิ​ตาม​ต้นฉบับ​ ​​แก้ไข​คำ​พิมพ์​ผิด​ให้ถูกต้อง พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เวลาดำเนินการรวม ๖ ปี และจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมัน ตามสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์ "สัชฌายะ" อัตโนมัติ (Saj-jʰā-ya Syllabic Segmentation Programme for Electronic Devices Patent No. 46390) ชุดสมบูรณ์เป็นครั้งแรกของโลก ชุด ๔๐ เล่ม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีชื่อว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ (Mahāsaṅgīti Tipiṭaka  Buddhavasse 2500) อันเป็นการจัดพิมพ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในนานาประเทศ

๒. อักษรสยามกับการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ

จากภูมิหลังเบื้องต้น จึงอาจสรุปสาระสำคัญของ พระไตรปิฎก ฉบับอักษรสยาม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในด้านต่างๆ ๔ ประการ คือ

๒.๑ ฉบับอักษรสยาม เป็น การเปลี่ยนผ่านการบันทึกหนังสือพระไตรปิฎก (Transformation of the Pāḷi Tipiṭaka in Bookform)

จากการบันทึก ปาฬิภาสา ด้วยอักษรโบราณ เช่น อักษรสิงหฬ  (ในศรีลังกา), อักษรมอญพม่า  (ในพม่า) อักษรขอม  (ในสุวรรณภูมิ) เปลี่ยนเป็น ปาฬิภาสา-อักษรสยาม (ในไทย) โดยมีเอกลักษณ์ของอักษรสยาม เป็น สัททสัญลักษณ์ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Symbol) ได้แก่เครื่องหมายกำกับเสียงปาฬิ ๔ ประเภท  (ดูรูป ไม้อะ, ไม้วัญฌการ, ไม้ยามักการ, และไม้นิคคะหิต) พระไตรปิฎก ฉบับอักษรสยามจึงเป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎกปาฬิ ชุดแรกของโลก ครั้งนั้นแบ่งเป็น ชุด ๓๙ เล่ม

๒.๒ ฉบับอักษรสยาม เป็น การเปลี่ยนผ่านทางโลกของการเผยแผ่ศาสนาด้วยวัฒนธรรมคำสอนในพระไตรปิฎก (Transformation of the Buddhist Propogation through the Dhamma Teaching)

ในอดีต พุทธศาสนามักเผยแผ่ในรูปแบบทางวัฒนธรรมพุทธศิลป์ เช่น รูปพระพุทธบาท ธัมมจักร และพุทธปฏิมาประธาน เป็นต้น แต่โครงการพระไตรปิฎกธัมมทาน ฉบับอักษรสยาม เป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เป็น ปาฬิภาสา จากการสังคายนาที่สืบทอดมาในสุวรรณภูมิ และได้พระราชทานเป็นพระธัมมทานแก่หอสมุดชั้นนำในนานาประเทศไม่น้อยกว่า ๒๕๐ สถาบันทั่วโลก 

๒.๓ ฉบับอักษรสยาม เป็น การเปลี่ยนผ่านทางวิชาการศึกษาพระไตรปิฎก (Transformation in Tipiṭaka Studies)

ในอดีต การศึกษาพระธัมม์คำสอนเป็นการศึกษาตำนาน เรื่องราวต่างๆ ของท้องถิ่น เพราะยังไม่มีพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐานชุดสมบูรณ์ แต่โครงการพระไตรปิฎกฉบับอักษรสยาม สามารถจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นชุดหนังสือที่เป็นมาตรฐาน ๓๙ เล่ม และง่ายในการศึกษาค้นคว้า เพราะเก็บรักษาในระบบบรรณารักษ์สากลในหอสมุดทั่วโลก อันเป็นการศึกษาต้นฉบับปาฬิภาสา 

Untitled-3

ต้นฉบับดังกล่าวได้ปริวรรตอักษร เป็นอักขรวิธีอักษรสยามที่ก้าวล้ำนำยุค กล่าวคือ ได้แสดงวิธีการทางภาษาศาสตร์ที่ล้ำสมัย เป็นการถ่ายถอดอักษร (Pāḷi  Transliteration) ควบคู่กันไปกับ การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันสามารถพัฒนาถอดเสียงเป็น พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะได้อย่างละเอียด (ดูโครงการเสียงสัชฌายะ)

๒.๔ ฉบับอักษรสยาม เป็นการเปลี่ยนผ่านการศึกษาพระธัมม์คำสอน จาก พระไตรปิฎกที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร สู่พระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ (Transformation from written Pāḷi Tipiṭaka to Saj-jʰā-ya Recitation and Sound Technology)

สักยปุตตํ

๓. การค้นพบองค์ความรู้ ปาฬิภาสา อักษรสยาม หรือ สยาม-ปาฬิ

โครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร นำโดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙ ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมถ์ฯ ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ผู้ก่อตั้งภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และ ศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ราชบัณฑิตยสภา ได้ตั้งข้อสมมติฐานทางสหวิชาการ ว่า ฉบับอักษรสยาม มีอักขรวิธีเขียนเสียงปาฬิ ด้วยนวัตกรรมการเรียงพิมพ์ทางด้านวิชาการภาษาศาสตร์ที่ก้าวล้ำนำยุค กล่าวคือ เป็น การถ่ายถอดอักษร (Pāḷi Transliteration) เป็น อักษรสยาม-ปาฬิ โดยเขียนเรียงกันเป็นบรรทัดเดียว และยังเป็น การถอดเสียงปาฬิ (Trancsription) เป็น สัททะอักขะระปาฬิ (Pāḷi Phonetic Alphabet) ซึ่งในอดีตไม่มีพระไตรปิฎก ปาฬิภาสา ของชาติใดได้แสดงลักษณะทาง สัททสัญลักษณ์-ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Symbol) เหมือนฉบับอักษรสยาม การพิมพ์พระไตรปิฎกในอดีตล้วนเป็นการถ่ายถอดอักษรทั้งสิ้น พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๙ จึงเป็นพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือชุดแรกของโลก และมีนวัตกรรมการเรียงพิมพ์ในทางสัททสัญลักษ์และภาษาศาสตร์ที่ล้ำยุค คือ แสดงการถ่ายถอดอักษรและถอดเสียงไปพร้อมกัน องค์ความรู้นี้ทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลวิเคราะห์การแบ่งพยางค์ของสัททะอักขะระ-ปาฬิ เป็น สูตรสกัดคณิตศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗ หรือ "สูตรสกัดชิดชนก" และต่อมา พันเอก สุรธัช บุนนาค ได้เป็นหัวหน้าคณะสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จดเป็นสิทธิบัตร พระไตรปิฎกสากล เรื่อง การแบ่งพยางค์อัตโนมัติสัชฌายะ เลขที่ 46390

นื่องจาก เสียงท้องถิ่นของภาษาไทยเปลี่ยนไป กล่าวคือ /พ/ ในภาษาไทย กลายเป็นเสียงพ่นลม ซึ่งแท้จริงแล้วไวยากรณ์เดิมว่า พ-ปาฬิ เป็นเสียงไม่พ่นลม ดังนั้น ฉบับอักษรสยาม จึงเทียบกับ [b] หรือ [บ] ซึ่งเกิดจากฐานเดียวกัน แต่ไม่พ่นลม การเทียบเสียงที่ละเอียดขึ้นนี้ จึงจัด /พ/ และ /ท/ เป็น ตัวอย่างการถอดเสียงปาฬิ มิใช่การถอดอักษร สำหรับ ก ข ณ  เทียบเสียงได้ตรงกับโรมันอยู่แล้ว จึงถือเป็นการถอดอักษร

นวัตกรรมเครื่องหมาย ๓ ประการ ของ อักษรสยาม แสดงหลักการ ถอดเสียงปาฬิภาสา ด้วยสัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol) ไม่จำกัดจำนวนมาเขียนเสียง เพื่อมุ่งเน้นรักษาเสียงดั้งเดิม และแสดงการแบ่งพยางค์เสียงอย่างชัดเจนระหว่าง เสียงไม่สะกด เสียงสะกด และเสียงกล้ำ

กราฟิกการถอดเสียง2

ลายแทงฉบับสำคัญในคำนำฉบับอักษรสยาม ที่นำไปสู่องค์ความรู้ทางปาฬิภาสา และความเข้าใจในการถ่ายถอดอักษรเป็น อักษรสยาม-ปาฬิ (Pāḷi Syām-Script Transliteration) และ ถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) คือ ตารางเทียบระหว่าง อักษรสยาม-ปาฬิ กับ โรมัน-ปาฬิ ตารางการถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transliteration) นี้ จึงเปรียบเสมือนลายแทงสำคัญ ที่เปิดประตูไปสู่องค์ความรู้ทางปาฬิภาสา และ อักขรวิธีการอ่านและออกเสียงในพระไตรปิฎกสากล ตามกฎไวยากรณ์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า การออกเสียงสัชฌายะ (Saj-jʰā-ya Phonetic Recition) ดู พระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ พุทธศักราช ๒๕๕๙

กราฟิกการถอดเสียง

๔. สัททสัญลักษณ์ทางเสียงที่เป็นมาตรฐานสากล

สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปเมื่อกำเนิดโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกจากการสังคายนานานาชาติ (ฉัฏฐสังคีติ) เป็นอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก และต่อมาโครงการพระไตรปิฎกสากล ชุด ๔๐ เล่ม และได้พัฒนาต่อยอด โดยการถอดเสียงฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็น ฉบับเสียงสัชฌายะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นการถอดเสียงและพิมพ์เป็นสัททอักขะระเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ เนื่องจากพระไตรปิฎกในอดีตล้วนเป็นการจัดพิมพ์ด้วยวิธีการถ่ายถอดอักษร การพิมพ์ด้วยสัททะอักขะระ และต่อยอดเป็น สัททสัญลักษณ์ และ โน้ตเสียงในทางดุริยางคศาสตร์ไม่เคยมีผู้ใดได้จัดพิมพ์มาก่อน ดังนั้นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ โดยเฉพาะชุดโน้ตดนตรีสากล-เสียงวรรณยุกต์สามัญจึงกล่าวได้ว่า เป็นการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกของโลก

phonetic symbol

 

คะรุพิเศษ (หน้าพยางค์เสียงกล้ำ) หรือที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ เรียกว่า คะรุไม่แท้ เพราะรูปศัพท์เดิม เป็น สระเสียงสั้น แต่อยู่ในตำแหน่งที่ไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 (คืออยู่หน้าพยางค์เสียงกล้ำ) ระบุให้ออกเสียงลากนานขึ้นกว่าสระสั้น 2 มาตรา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเคลื่อนของพยางค์หลังไปสนธิกับพยางค์หน้า หรือ กลายเป็น เสียงสะกดควบกล้ำ เช่น กัต-ตวา หรือ สัก-กยะ.. แทนที่จะออกเสียงที่ถูกต้องว่า [กะ-ตวา]  [สะ-กยะ..]  โดย [กะ..] [สะ..] ลากนานขึ้น เป็นเสียงคะรุ (พิเศษ)

(กดดูรายละเอียด กระบวนการสร้างสรรค์โน้ตเสียงปาฬิ)

เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า อักษรโรมัน (Roman Alphabet) เป็นอักษรนานาชาติที่ชาวโลกนิยมศึกษาเป็นสากล ดังนั้นพระไตรปิฎก ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน (Pāḷi Bhāsā in Roman-Script) ของชาติตะวันตกจึงเป็นเป็นที่รู้จักและมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ส่วน ฉบับอักษรสยาม (Syām-Script) แม้จะพิมพ์เป็นชุดหนังสือที่สมบูรณ์มากกว่าฉบับของชาวตะวันตก และมีตารางเทียบระหว่างอักษรสยาม กับ อักษรโรมัน ด้วย เป็นตัวอย่าง สามหน้า แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับฉบับอักษรโรมันที่พิมพ์เป็นอักษรโรมันทั้งเล่ม

นอกจากนี้ยังเป็นธรรมดาที่โลกตะวันตกจะสนใจในเนื้อหาการแปลของศาสตร์ต่างๆ ในอดีตนักวิชาการด้านภาษาชาวตะวันตกจึงสนใจแต่การแปลปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกเป็นภาษาท้องถิ่นของชาติตน มิได้สนใจการอ่านออกเสียง “ปาฬิภาสา” พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาเถรวาท คือ การยึดถือ วาทะ ของพระอรหันตเถระ ในการสืบทอดเสียงพระธัมม์คำสอนของพระบรมศาสดาในไตรปิฎก ด้วยการออกเสียงสังคายนาให้แม่นตรง และทรงจำเสียงพระธัมม์เที่ยงแท้ในการประชุมปฐมมหาสังคายนา พ.ศ. ๑ มาจนถึงปัจจุบัน 

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อมีการก่อตั้งโครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทำให้มีการศึกษาต้นฉบับหนังสือพระไตรปิฎกอักษรสยามอย่างจริงจัง และทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลเกิดความเข้าใจในองค์ความรู้พื้นฐานของการบันทึกพระไตรปิฎก ได้แก่ “การถ่ายถอดอักษร” (Pāḷi Transliteration) และ การถอดเสียงปาฬิภาสา (Pāḷi Transcription) 

จากองค์ความรู้ดังกล่าวทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากล สามารถวิเคราะห์โครงสร้างทางเสียงปาฬิ และสามารถสร้างสรรค์โปรแกรมการแบ่งพยางค์ และจดเป็นสิทธิบัตรที่ว่าด้วยพระไตรปิฎกของมนุษยชาติได้เป็นฉบับแรก (ดู โปรแกรมสิทธิบัตร เรื่อง The Saj-jʰā-ya Syllabic Segmentation Programme for Electronic Devices No. 46390 (2014). 

๕. นวัตกรรมเสียงสัชฌายะดิจิทัล

ในอดีตการอนุรักษ์คำสอนพุทธศาสนาเป็นการอนุรักษ์คัมภีร์จารึกลายลักษณ์อักษรโบราณ หรือ หนังสือพระไตรปิฎกภาคแปลเป็นภาษาต่างๆ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาทางสหวิทยาการ และเกิดเทคโนโลยีทางเสียงที่มีศักยภาพ ทำให้สามารถถอดเสียงปาฬิภาสา เป็น สัททะอักขะระปาฬิ และ โน้ตดนตรีในทางดุริยางคศาสตร์ ได้ ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถออกเสียงปาฬิตามโน้ตเสียงพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ บันทึกในระบบดิจิทัล เป็น เสียงสัชฌายะดิจิทัลได้ด้วย

เสียงสัชฌายะดิจิทัลชุดนี้จึงเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ โดยอ้างอิงกับการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญทางดุริยางคศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนจากสำน้กงานการวิจัยแห่งชาติ ปัจจุบันได้บูรณาการเป็น พระไตรปิฎกโน้ตดนตรีสากล-เสียงวรรณยุกต์สามัญ (The Pāḷi Tipiṭaka Monotone Music Notation)

จากโน้ตเสียงปาฬิดังกล่าว ซึ่งเป็นการอ้างอิงทางสื่อดุริยางคศาสตร์สากลที่ชาวโลกถือว่าเป็นมาตรฐานที่สุดที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน ย่อมจะทำให้บุคคลทั่วไปแม้ไม่มีพื้นฐานทางไวยากรณ์ปาฬิ หากมีความรู้พื้นฐานทางดนตรีสากลที่สอนในระดับนานาชาติ ย่อมสามารถออกเสียงปาฬิภาสา ตามพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะได้ ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นการออกเสียงที่ใกล้กับเสียงในสมัยพุทธกาลมากที่สุดที่จะทำได้ในปัจจุบัน (Thai PBS เรื่อง พระไตรปิฎก : การกลับมาของเสียง พ.ศ. ๒๕๖๒)

 การออกเสียงพระธัมม์คำสอนที่แม่นตรง ในพระสูตร ชื่อ วิมุตตายะตะนะสุตตะ (Vimuttāyatanasutta)  กล่าวว่า การออกเสียงสัชฌายะที่แม่นตรง เป็นเหตุปัจจัยสู่วิมุตติ (หลุดพ้น)

Screenshot 2024-05-17 at 11.26.18 PM

กล่าวโดยสรุป การพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ ซึ่งเป็นคัมภีร์สูงสุดในพุทธศาสนาสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ด้วยอักษรสยาม ย่อมมีความสำคัญเป็นนวัตกรรมทางภูมิปัญญาของชาติไทย แต่จากการนำเสนอเบื้องต้นถึงผลของการพิมพ์ฉบับอักษรสยาม ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านถึง ๔ ประการ นั้น ยิ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าชาติไทยมีองค์ความรู้ทางปาฬิภาสา และภูมิปัญญาในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเลิศ แต่กาลเวลาได้ผ่านไปนานกว่าศตวรรษ หนังสือพระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. ๑๑๒ ชุดนี้ได้ชำรุดสูญหายไปแทบไม่มีเหลือแล้ว ที่เก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์และคงคุณภาพดีก็มีอยู่แต่ในหอสมุดในต่างประเทศที่พระเจ้ากรุงสยาม ได้พระราชทานไว้เมื่อศตวรรษที่แล้ว ด้วยเหตุนี้โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงได้ริเริ่มทำการอนุรักษ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรสยาม เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในอักขรวิธี ไม้อะ (อั) อักษรสยาม โดยเฉพาะ การถ่ายถอดอักษร เป็น อักษรสยาม และ การถอดเสียงปาฬิ ซึ่งทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบ้บปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) พุทธศักราช ๒๕๕๙

 

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ชุด อนุรักษ์ดิจิทัล 39 เล่ม รวม ฉบับประมวลธัมม์ 

ฉบับประมวลธัมม์ หรือ Tipiṭaka  Anthology คือ การจัดพิมพ์ตัวอย่างเนื้อหาทั้งหมดในพระไตรปิฎก ปาฬิภาสา-อักษรสยาม ทั้งชุด โดยเลือกหน้าที่ ๑-๓ ในตอนต้นของแต่ละเล่ม รวม 39 เล่ม มารวมพิมพ์เป็นตัวอย่างในเล่มเดียว 

การเลือกหน้าที่ ๑ จะทำให้เห็น ชื่อพระสูตร และเนื้อหาที่ขึ้นต้น การพิมพ์ต่อกันสามหน้า ทำให้เห็นคำสำคัญในพระสูตรดังกล่าว เป็นต้น

ในหนังสือประมวลธัมม์ จะมีคำนำต่างๆ เช่น พระสัมโมทนียกถาในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ผู้ทรงมีพระบัญชาให้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากล และพระสัมโมทนียกถาของสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ ตลอดจนคำนำของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) 

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายต่างๆ (Quick Guide) ของ การถ่ายถอดอักษร การถอดเสียง ตลอดจนการอ้างอิงกับ พระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. ๒๕๔๘ ชุด ๔๐ เล่ม ด้วย

ตย ประมวลธัมม์

 

พระราชโองการประกาศ

ข้อความใบประกาศพระธัมมทาน ในพระเจ้ากรุงสยาม ใบสำคัญนี้พิมพ์กำกับไว้ในหนังสือพระไตรปิฎกเล่มที่ 1

 

ชื่อคัมภีร์ จปร

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม ชุด 39 เล่ม พ.ศ. 2436 เทียบกับ ฉบับสากล-อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ซึ่งแบ่งเป็น 86 คัมภีร์ปาฬิ (Pāḷi 1-86) รวม 40 เล่ม

โครงการอนุรักษ์ดิจิทัล ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ๒๕๔๒-๒๕๖๗

[1] ดู Robert Charlmers