เสียงสัชฌายะ กับ เสียงสวดตามประเพณี

การออกเสียงสัชฌายะตามไวยากรณ์
กับ
การออกเสียงสวดตามประเพณี

ข้อสังเกตสำคัญของ "การออกเสียงสัชฌายะสากล" (International Sajjhāya Recitation) เป็นการมุ่งเน้นการออกเสียงตามกฎไวยากรณ์ดั้งเดิมในพระไตรปิฎก หรือที่สากลเรียกว่า ปาฬิภาสา (Pāḷi Bhāsā) หรือ ปาฬิ (Pāḷi) มีความแตกต่างจาก "การสวดตามประเพณีของไทย" (Thai Traditional Chanting) ได้แก่ การสวดที่สืบทอดกันมาด้วยเสียงในภาษาไทย หรือที่เรียกกันว่า บาลีไทย เช่น ไวยากรณ์ออกเสียง พยัญชนะ- ว่า [บะ]  [b] แต่ปัจจุบันคนไทยมักออกเสียงนี้ว่า [พะ] [pha] ซึ่งเป็นตัวอย่างของการแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) กล่าวคือ การเอาเสียงในภาษาไทยไปปนแทรกกับเสียงดั้งเดิมในพระไตรปิฎก 

ข้อแตกต่างระหว่างการออกเสียงสัชฌายะสากลกับการสวดตามประเพณี มี 4 ประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การออกเสียงสัชฌายะอ้างอิงตามต้นฉบับ จปร. พ.ศ. 2436
การออกเสียงสัชฌายะ เป็น การถอดเสียง (Transcription) จากต้นฉบับการพิมพ์เป็นชุดพระไตรปิฎกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 จากข้อสรุปของราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ในสมมติฐานทางภาษาศาสตร์ที่พบว่า อักขรวิธีสยามปาฬิ เป็นการเขียนเสียงด้วยสัททสัญลักษณ์ในทางภาษาศาสตร์ (Phonetic Symbol) ดังนั้น การถอดเสียงปาฬิในการสัชฌายะจึงเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่อ้างอิงการพิมพ์จากต้นฉบับ จปร. อักษรสยาม อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ พิมพ์เสียงอย่างไร ก็จะถอดเสียงอย่างนั้นในระบบดิจิทัล (Digital Phonetic Transformation)  ซึ่งเป็นนวัตกรรมการอนุรักษ์เสียงจากการพิมพ์ในหนังสือพระไตรปิฎก ดังนั้น เมื่อหนังสือพระไตรปิฎก จปร. มีตารางการถอดเสียงปาฬิ เทียบกับ อักษรโรมัน การออกเสียงสัชฌายะจึงออกเสียงตามตารางการถอดเสียงนั้น ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า ออกเสียงว่า [บะ] [ba] ออกเสียงว่า [ดะ] [da] เป็นต้น ซึ่งในทางวิชาการเป็นการออกเสียงที่ไม่พ่นลม ส่วนการออกเสียงตามประเพณีเป็นการออกเสียงตามพยัญชนะภาษาไทย ว่า [พะ] และ ว่า [ทะ] ซึ่งเป็นเสียงพ่นลม ที่ไม่ตรงตามเสียงเดิมในพระไตรปิฎก 

นอกจากนี้ การอนุรักษ์เสียงที่เคร่งครัดดังกล่าว ยังรวมถึงการอนุรักษ์เสียงหยุดของวรรคตอนของแต่ละพยางค์ด้วย การออกเสียงสัชฌายะจึงเป็นการออกเสียงเป็นคำๆ เพื่อให้เห็นรูปเสียงแยกเป็นคำๆ แตกต่างจากการสวดตามประเพณีที่จะสวดติดกันทั้งประโยคยาวๆให้รวดเร็ว โดยไม่เว้นวรรคตอน

หลักการแบ่งพยางค์อ้างอิงตามสิทธิบัตร การแบ่งพยางค์สัชฌายะคำปาฬิอัตโนมัติ เลขที่ 46390

2. การออกเสียงสัชฌายะตามหลักไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ
การออกเสียงสัชฌายะเป็นการออกเสียงตามหลักไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ หลักที่สำคัญคือ การแบ่งพยางค์ ซึ่งทำให้สามารถออกเสียงสะกด (Final-Consonant Sound) และเสียงกล้ำ (Cluster-Consonant Sound) ได้ชัดเจน ตัวอย่าง กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 แสดงให้เห็นการแบ่งพยางค์เสียงกล้ำอย่างชัดเจน โดยแยกออกจากพยางค์เสียงสะกด หลักการข้อนี้เป็นหลักทางปาฬิภาสา แต่ในภาษาอื่นๆ เสียงสะกดและเสียงกล้ำอาจมิได้เป็นเสียงที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน กล่าวคือในภาษาไทย เสียงสะกดมักกลายเป็นเสียงควบกล้ำติดกันไป เช่น สัชฌายะ จะออกเสียงตามไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 ว่า กะ-ตวา แต่การสวดตามประเพณีไทยมักจะออกเสียงว่า กัต-ตวา โดย เอา เป็นเสียงสะกดของพยางค์หน้า และลากเป็นเสียงกล้ำ ตว ในพยางค์หลังด้วย 

3. สัชฌายะเป็นการออกเสียงที่เน้นเสียงละหุ (Lahu) เสียงคะรุ (Garu)
เสียงละหุ (Lahu) หรือ เสียงเร็ว และเสียงคะรุ (Garu) หรือ เสียงที่ลากให้นานขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ฟังสามารถเห็นภาพรูปเสียงได้ชัดเจนขึ้น เช่น สัชฌายะจะออกเสียง สระ-เอ คือ สระเสียงยาวที่มีตัวสะกดตามมา ว่า [เม็ต] เป็นเสียงเร็ว หรือ เสียงละหุใน [เม็ต-ตา] ส่วนการสวดตามประเพณีมักลากเสียงยาวเป็นเสียงคล้ายกับเสียง [เมตร] เหมือนในภาษาไทยซึ่งให้ความสำคัญของเสียงสระ มากกว่า เสียงพยัญชนะสะกด ในทำนองเดียวกัน สระ-โอ ที่มีตัวสะกดตาม สัชฌายะ ก็จะออกเสียงพยางค์นั้นให้เร็วขึ้น เป็นเสียงละหุ เช่น [โส็ต] ใน โสตถิ เป็นต้น

เป็นที่สังเกตว่าในอดีต คำว่า ละหุ มักเข้าใจว่า เป็นเสียงที่เกิดจากสระสั้นเท่านั้น ส่วนคำว่า คะรุ ก็มักเข้าใจว่าเป็นคำที่มาจากสระเสียงยาวเท่านั้นด้วย แต่ในไวยากรณ์โดยเฉพาะ รูปะสิทธิ ข้อ 5 อธิบายไว้ชัดเจนว่า สระ-เอ และ สระ-โอ ที่มีตัวสะกดตาม ต้องออกเสียงเร็ว ซึ่งปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอธิบายว่า การออกเสียงเร็วทำให้สามารถได้ยินเสียงสะกดที่ตามมาของพยางค์นั้นชัดเจนด้วย

ดังนั้นเสียงละหุ และเสียงคะรุ จึงสอดคล้องกับหลักการในเรื่องพยัญชนะกุสะละ 10 ซึ่งแม้เอ่ยถึง เสียงรัสสะ (สระเสียงสั้น) และเสียงทีฆะ (สระเสียงยาว) แล้ว พยัญชนะกุสะละยังรวมเสียงละหุ และเสียงคะรูด้วย เพราะเสียงพยางค์สระยาวอาจต้องออกเสียงเร็วเป็นเสียงละหุเมื่อไวยากรณ์กำหนด และสระเสียงสั้นก็สามารถออกเสียงลากยาวในตำแหน่งที่ไวยากรณ์กำหนดตอนจบบาท เช่น ปาทันตะคะรุ เป็นต้น เช่น มิ ใน คัจฉามิ ลากเสียง มิ ยาวเป็นสองมาตราโดยไม่เปลี่ยนฐานเสียงเป็นสระยาว สระ-อี เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เสียงละหุเสียงคะรุจึงมีความสำคัญเพราะแสดงรูปเสียงให้ชัดเจน และตรึงอักขรวิธีการเขียนมิให้ผิดเพี้ยนไป

4. สัชฌายะเป็นการออกเสียงที่เป็นเสียงสามัญ
เสียงสามัญ คือ เสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ ดังนั้น การออกเสียงสัชฌายะ จึงได้มีการถอดเสียงปาฬิเขียนเป็นโน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) ในทางดุริยางคศาสตร์ คือใช้สัญลักษณ์การเขียนโน้ตบนระบบสัญลักษณ์บรรทัดเสียงเส้นเดี่ยว ที่ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำ 

การออกเสียงสามัญ หรือที่เรียกว่า monotone นี้เป็นระดับเสียงที่ชัดเจน และเมื่อบันทึกด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่าเป็นคลื่นเสียงที่มีความเข้ม นอกจากนี้ย่อมเป็นที่ยอมรับกันว่าเสียงวรรณยุกต์ของแต่ละคำทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังนั้นการอนุรักษ์เสียงสามัญดั้งเดิมของปาฬิภาสา จึงมีความสำคัญในการรักษาความหมายดั้งเดิมในพระไตรปิฎก การออกเสียงสัชฌายะตามอักษรโรมัน จึงต่างจากการสวดตามประเพณีที่ออกเสียงพยัญชนะตามเสียงในภาษาไทย เช่น ปาฬิว่า so แต่เมื่อไทยเขียนว่า โส ผู้สวดมักออกเป็นเสียงจัตวา ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเสียง [โซ]