ศักยภาพของอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ

ในฉบับ จ.ป.ร. พ.ศ. 2436
สามารถเขียน อักขะระไต-ปาฬิ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) และ ปาฬิ-พินอิน (จีน) พ.ศ. 2562

1. ศักยภาพของอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ในการเขียนเสียงพระไตรปิฎก จ.ป.ร. : ข้อสังเกตบางประการ

พ.ศ. 2542 เมื่อเริ่มโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งดำเนินการอาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9 ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พบว่า พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม-ปาฬิ พ.ศ. 2436 เป็นการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นชุดหนังสือครั้งแรกของโลก เนื่องด้วยเดิมพระไตรปิฎกเขียนด้วยมือและจารลงบนใบลาน ส่วนชุดที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือในประเทศอังกฤษ ประมาณ พ.ศ. 2436 ยังจัดทำได้เป็นบางเล่ม มิได้ตีพิมพ์เป็นชุดเหมือนฉบับ จ.ป.ร. พระไตรปิฎกชุดนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นพระธัมมทานไปทั่วโลก เมื่อศตวรรษที่แล้ว ทำให้เมื่อโครงการพระไตรปิฎกสากลจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นใหม่โดยอ้างอิงเพิ่มเติมเนื้อหาจากฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 จึงสามารถจัดพระราชทานฉบับสากล ตามรอยประวัติศาสตร์ ฉบับ จ.ป.ร. ดังกล่าว  ปัจจุบันได้จัดพระราชทานไปแล้วไม่น้อยกว่า 150  สถาบัน ใน 25 ประเทศทั่วโลก รวมถึงหอสมุดแห่งชาติ สหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน พ.ศ. 2562

นอกจากนี้ เมื่อโครงการพระไตรปิฎกสากลทำการศึกษาเพิ่มเติมระหว่าง พ.ศ. 2549-2559 ได้พบข้อมูลที่สำคัญยิ่งขึ้นว่า อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ หรือระบบการเขียนเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. ข้างต้นมีความละเอียดลึกซึ้งและอาจกล่าวมีนวัตกรรมการเขียนสัททสัญลักษณ์ที่ล้ำยุคของโลก กล่าวคือ อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ มีเครื่องหมาย ไม้-อั (อะ) หรือ เครื่องหมายเสียงที่ไม่สะกด (Non Final-Consonat Sound), ไม้วัญฌการ (  ์ ) หรือ เครื่องหมายเสียงสะกด (Final-Consonat Sound) และไม้ยามักการ (  ๎ ) หรือเครื่องหมายเสียงกล้ำ (Cluster-Consonat Sound) ซึ่งแยกออกจากกันเด็ดขาดชัดเจน นอกจากนี้ระบบการเขียนสัททสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ยังทำให้สามารถอนุมานในทางภาษาศาสตร์ได้ว่าเป็นการนำเสนอวิธีเขียนเสียงละหุ (เสียงเร็ว) และเสียงคะรุ (เสียงที่ลากนานขึ้น) ด้วย (สุรธัช บุนนาค สิทธิบัตรเลขที่ 46390 พ.ศ. 2557) ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ จึงได้สรุปและนำเสนอตีพิมพ์ในหนังสือราชบัณทิตยสภา เรียก อักขรวิธี ในพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. ว่า อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ (พ.ศ. 2552) และต่อมาได้พัฒนาเป็น อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (พ.ศ. 2557) อีกชุดหนึ่ง เพื่อให้ง่ายในการเขียนเสียงละหุเสียงคะรุในปาฬิภาสาที่จัดพิมพ์ด้วยอักขะระไทย ซึ่งต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิต ได้พิสูจน์ข้ออนุมานข้างต้นด้วยสูตรสกัดทางคณิตศาสตร์  (สูตรสกัดชิดชนก 2557) สรุปว่า สัททสัญลักษณ์ในอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ มีความแม่นตรงและเป็นเอกภาพ กับ ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ และ อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ที่นำเสนอโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์

การค้นพบวิธีเขียนเสียงละหุเสียงคะรุดังกล่าวทำให้ในเวลาต่อมาสามารถทำการถอดเสียงปาฬิอย่างละเอียด (Pāḷi Phonetic Transcription) และบูรณาการต่อยอดเขียนเป็น โน้ตเสียงปาฬิ ในทางดุริยางคศาสตร์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

2. อักขรวิธีเสียงละหุเสียงคะรุ : องค์ความรู้ที่สำคัญจากการถอดเสียงปาฬิในฉบับ จ.ป.ร.

จากการศึกษาฉบับ จ.ป.ร. พบว่าอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ มีหลักการอ้างอิงสำคัญ 4 ประการ คือ 1. อ้างอิงหลักการออกเสียงที่แม่นตรงกับฐานกรณ์ตามหลักพยัญชนะกุสะละในพระวินัยปิฎก 2. อ้างอิงการแบ่งพยางค์ตามคัมภีร์กัจจายะนะ-ปาฬิ ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด 3. อ้างอิงการออกเสียงละหุเสียงคะรุ ตามพระวินัยปิฎก และ กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 เป็นต้น 4. อ้างอิงการออกเสียงปาฬิเป็นเสียงสามัญ ซึ่งปาฬิเป็นเสียงในตระกูลอินโดอารยัน ที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ 

อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ในฉบับ จ.ป.ร. มีการนำเสนอตามหลักการข้างต้นด้วย สัททสัญลักษณ์ ที่เป็นเลิศ เช่น การถอดเสียงปาฬิ ได้แก่ /k  ข/kh  ค/g  ฆ/gh  ง/  นอกจากนี้นวัตกรรมทางสัญลักษณ์ในสยาม-ปาฬิ ยังสามารถแบ่งพยางค์การออกเสียงได้อย่างชัดเจน เช่น  สั  ใน  สัก๎ยปุต์ ตํ  ออกเสียงว่า สะ ที่ต้องลากเสียงยาวเป็นเสียงคะรุ แยกออกจาก ก๎ย (กยะ) ซึ่งเป็นพยางค์เสียงกล้ำที่ตามมาเป็นเสียงละหุ ที่ออกเสียงเร็ว

นอกจากนี้ในกรณีที่ไวยากรณ์ระบุไว้เป็นพิเศษ โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ทำการถอดเสียงปาฬิ จาก อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ซึ่งเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่ละเอียด เป็น อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ โดยใช้พยัญชนะไทย เนื่องจากภาษาไทยมีเสียงครบทุกเสียงตามปาฬิ และสามารถเขียนเสียงละหุคะรุได้ เช่น ไวยากรณ์รูปสิทธิ ข้อ 5 ระบุว่า สระเสียงยาวที่มีตัวสะกดจะต้องออกเสียงเร็ว เป็นเสียงละหุ เช่น  เส็ฎ.. ใน  เส็ฏโฐ  และไวยากรณ์วุตโตทัย ข้อ 7 ระบุว่า สระเสียงสั้นเมื่ออยู่ท้ายบทต้องออกเสียงลากยาวขึ้นเป็นเสียงคะรุ เช่น  ..ถิ   ใน  โส็ตถิ  เป็นต้น (ดูรูป) 

ชุด ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ทำให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ ใช้อ้างอิงและนำเสนอเป็นชุด โน้ตเสียงปาฬิ พ.ศ. 2559 โดยใช้เครื่องหมาย “บรรทัดเส้นเดี่ยว” (One-Staff  Line) หรือเครื่องหมาย “เสียงที่ปราศจากกุญแจเสียง” (Neutral Clef) เพื่อแสดงสัญลักษณ์ทำนองเสียงระดับเดียว (Monotone) (นวัตกรรมการบันทึกโน้ตเสียงปาฬิจากพระไตรปิฎกสัชฌายะ รางวัลวิจัยดีเด่น พ.ศ. 2562 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

จากรายละเอียดต่างๆ ของละหุคะรุ และองค์ความรู้จากการถอดเสียงปาฬิในฉบับ จ.ป.ร. ทำให้ปัจจุบันสามารถพัฒนาต่อยอดโน้ตเสียงปาฬิสู่การบันทึกเสียงปาฬิโดย ศาสตราจารย์ดวงใจ ทิวทอง ผู้เชี่ยวชาญในการออกเสียง เป็นผู้อำนวยการผลิตเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสากลในระบบดิจิทัล เรียกว่า เสียงสัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation Sound) ในพระไตรปิฎกทั้งชุด 40 เล่ม ซึ่งต่อมาเสียงสัชฌายะดิจิทัลชุดนี้ได้ใช้เป็นมาตรฐานในการถอดเสียงและสร้างเป็นชุดสัททะอักขะระปาฬิ เรียกว่า สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) และ สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-พินอิน (จีน)

3. จาก อักขะระสยาม-ปาฬิ สู่ โน้ตเสียง-ปาฬิ และ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย)​

ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) ในระบบอิเล็กทรอนิกส์

ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) ที่นำเสนอโดยโครงการพระไตรปิฎกสากล เป็นการสร้างเครื่องหมายประกอบเสียงของอักขะระรัสเซียชุดเดิมในภาษารัสเซียให้ครบเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกทั้ง 41 เสียง เพื่อให้สามารถจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเสียงปาฬิที่ชาวรัสเซียสามารถออกเสียงอ่านสัชฌายะได้ ในกรณีนี้ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) มีลักษณะพิเศษสามารถเขียนเสียงละหุเสียงคะรุได้ ด้วยการพิมพ์สีเบาโปร่งสำหรับเสียงละหุและสีเข้มทึบสำหรับเสียงคะรุ จึงเป็นนวัตกรรมในทางสัททสัญลักษณ์ในการออกเสียงละหุเสียงคะรุที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถออกเสียงได้ละเอียดแม่นตรงตามกฎไวยากรณ์

การเขียนเสียงพระไตรปิฎกสำหรับรัสเซีย แสดงวิธีแก้ปัญหาการออกเสียงสระในตำแหน่งพยางค์ที่ไม่เน้นเสียงในภาษารัสเซียด้วยชุด สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) ที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น รูปที่ 1 สระ-อา (а) ในภาษารัสเซียเมื่ออยู่ในพยางค์ไม่เน้นเสียงจะออกเสียงเร็วและสั้นขึ้นจนเป็นเสียง สระ-อะ (ใช้สัญลักษณ์ ʌ แทน) หรือ จนต้องออกเสียงเร็วและสั้นขึ้นอีกจนแทบไม่ยินเสียงสระเลย (ใช้สัญลักษณ์ ъ แทน) เช่น ออกเสียงว่า [กะ-รัน-ดาช] ไม่ใช่ [กา-ราน-ดาช] 

สังเกต รูปที่ 2 ภาษารัสเซีย ..ран.. จะถอดเสียงเป็นสัททะอักขะระไทย ว่า รัน ไม่ใช่ ราน และ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) พิมพ์ด้วยสีเบาโปร่งทุกพยางค์ เป็นเสียงละหุ ออกเสียงเร็ว 

การอนุรักษ์เสียงปาฬิด้วยภาษารัสเซียจึงไม่สามารถทำได้ด้วยระบบการถอดอักขะระ (Transliteration) เพราะไม่มีประสิทธิภาพเท่าระบบการถอดเสียง (Transcription) กล่าวคือ จากรูปที่ 1 จะเห็นว่าในภาษารัสเซียมีระบบการเน้นเสียงแต่ละพยางค์ที่ซับซ้อน และเป็นการยากที่จะเขียนเป็นสัททสัญลักษณ์ เช่น ในพยางค์ที่ 2 เป็นเสียง สระ-อา ที่ออกเสียงเร็ว ซึ่งในอดีตทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์ สระ-อา แต่ในความเป็นจริงในการออกเสียงจะต้องออกเสียงเร็วและสั้นขึ้น 

รูปที่ 3 ดังนั้นการเขียนสัญลักษณ์เสียงในพระไตรปิฎกสากลสำหรับรัสเซีย สระ-อา (а) ที่ไวยากรณ์กำหนดพิเศษให้ออกเสียงสั้น เนื่องจากมีตัวสะกด จะต้องแสดงเสียงสั้นด้วยการพิมพ์ด้วยสีเบาโปร่ง ในกรณีนี้เสียงสั้นในทางไวยากรณ์ปาฬิ เรียกว่า เสียงละหุ

ข้อพิจารณาในการออกแบบ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย)

ในการออกแบบเสียงสัททะอักขะระรัสเซีย ผู้จัดทำเลือกใช้เสียงตามระบบซีเรียลริกที่มีอยู่แล้วในภาษารัสเซีย มาเทียบเคียงกับเสียงปาฬิ แต่เนื่องจากเสียงปาฬิดั้งเดิมมีความแตกต่างจากเสียงพยัญชนะในภาษารัสเซีย ทำให้ต้องเพิ่มตัวอักษรรัสเซียปาฬิเข้าไปเพื่อให้มีเสียงครบตามเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก เช่น สระเสียงยาวในปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) จะใช้รูปสระของอักษรรัสเซียที่มีอยู่เดิม คือ  a  [อา], и  [อี], และ у  [อู] ส่วนสระเสียงสั้น [อะ]  [อิ]  [อุ] ใน ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) ที่สร้างขึ้นใหม่จะใช้สัญลักษณ์เครื่องหมายหมวก ( ^ ) (circumflex) กำกับสระเสียงยาวดังกล่าว เพื่อให้ชาวรัสเซียเข้าใจได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นสระเสียงสั้น (รัสสะสระ) สำหรับเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก

สำหรับรูปสระเสียงยาว (ทีฆะสระ) เอ และ โอ ใช้สัญลักษณ์สระยาวในภาษารัสเซีย คือ э [เอ], และ o [โอ] เนื่องจาก สระ-เอ ที่เขียนด้วยรูป e ในภาษารัสเซียมีการกลายเสียงเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ส่วน э [เอ] เป็นเสียงสระแท้เสียงเดียวที่ใกล้เคียงกับ สระ-เอ ในปาฬิภาสาที่สุด จึงสรุปเลือกใช้เครื่องหมายนี้เป็นเสียงสระ-เอ ในพระไตรปิฎกปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย)

นอกจากนี้กรณีเสียงปาฬิเป็นเสียงที่มีลักษณะพ่นลม ธะนิตะ (Aspirated) เช่น เสียง ที่เกิดจากฐานเพดานอ่อน กัณฐะชะ (ในทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า Velar) สัททะอักขะระไต-ปาฬิ ใช้รูป  ซึ่งเป็นพยัญชนะที่มีเสียงพ่นลมในภาษาไทย เป็นเสียงสามัญ หรือเทียบกับ สัททะอักขะระโรมัน เขียนว่า kh หรือ khแต่พยัญชนะรัสเซียมิได้มีลักษณะของการออกเสียงพ่นลมดังกล่าว ดังนั้นเพื่อสร้างรูปปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) สำหรับเสียงพ่นลมในพระไตรปิฎกจึงใช้สัญลักษณ์ x (เสียง ซึ่งเป็นเสียงพ่นลมในภาษาไทย และเป็นเสียงสามัญ) แสดงเสียงพ่นลมกำกับเหนือพยัญชนะรัสเซียเดิม โดยพิมพ์ยกกำลัง (Superscript) เช่น  кх  เพื่อทำให้ผู้ที่คุ้นเคยกับภาษารัสเซียรู้ว่าปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) ตัวนี้เป็นสัญลักษณ์พิเศษต้องออกเสียงพ่นลมตามที่บัญญัติใหม่ในตารางการถอดเสียงปาฬิ (ดูด้านล่าง)

4. จาก อักขะระสยาม-ปาฬิ สู่ โน้ตเสียง-ปาฬิ และ สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-พินอิน (จีน)

ปาฬิ-พินอิน (จีน) ในระบบอิเล็กทรอนิกส์

ปาฬิ-พินอิน (จีน) ที่นำเสนอโดยโครงการพระไตรปิฎกสากล  เป็นการการสร้างเครื่องหมายประกอบเสียงของอักขะระพินอินชุดเดิมในภาษาจีนให้ครบเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกทั้ง 41 เสียง เพื่อให้สามารถจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเสียงปาฬิที่ชาวจีนสามารถออกเสียงอ่านสัชฌายะได้ ในกรณีนี้ ปาฬิ-พินอิน (จีน) มีลักษณะพิเศษสามารถเขียนเสียงละหุเสียงคะรุได้ ด้วยการพิมพ์สีเบาโปร่งสำหรับเสียงละหุ และสีเข้มทึบสำหรับเสียงคะรุ จึงเป็นนวัตกรรมในทางสัททสัญลักษณ์ในการออกเสียงละหุเสียงคะรุที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถออกเสียงได้ละเอียดแม่นตรงตามกฎไวยากรณ์

การออกเสียงปาฬิด้วย ปาฬิ-พินอิน (จีน) เป็นการออกเสียงสามัญที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำซึ่งเสียงสัชฌายะดิจิทัลที่สร้างขึ้นในโครงการพระไตรปิฎกสากลจะนำมาอ้างอิงเป็นมาตรฐานระหว่าง ปาฬิ-พินอิน (จีน) กับ สัททะอักขะระต่างๆ และ โน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งคนจีนที่คุ้นเคยกับเสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีน ย่อมสามารถออกเสียงตามได้เป็นเสียงสามัญ  ข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเสนอแก่สังคมจีนในปัจจุบัน ว่า ปาฬิ-พินอิน (จีน) หรือ เสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎกเป็นเสียงสามัญเพราะเป็นเสียงในภาษาตระกูลอินโดอารยันที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ ต่างจากเสียงพินอินในภาษาจีน

ดังนั้น ปาฬิ-พินอิน (จีน) จึงเป็นระบบการออกเสียงที่ประชาชนทั่วไปสามารถเรียนรู้และออกเสียงได้ง่าย

ข้อพิจารณาในการออกแบบ สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-พินอิน (จีน)

ในการออกแบบเสียงสัททะอักขะระพินอิน ผู้จัดทำเลือกใช้เสียงตามระบบพินอินที่มีอยู่แล้วในอักษรภาษาจีนมาเทียบเคียงกับเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก แต่เนื่องจากเสียงเสียงปาฬิดั้งเดิมมีความแตกต่างจากเสียงพยัญชนะของภาษาจีน ทำให้การออกแบบสัททะอักขะระพินอินสำหรับพิมพ์พระไตรปิฎกต้องมีการเพิ่มตัวอักษรเข้าไปเพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างพยัญชนะของสัททะอักขะระพินอินเดิม ยกตัวอย่างเช่น ภาษาจีนพินอินมีรูปอักษรพินอิน d สำหรับเสียงปาฬิ  [ต] และ b สำหรับเสียงปาฬิ [ป] ไม่มีเสียง [lz] และ [bz] ผู้จัดทำจึงเพิ่มตัวอักษรโรมัน z ไว้ด้านหลัง เป็นการแสดงว่าเป็นฐานเสียงเดิม แต่มีลักษณะการเปล่งเสียงเป็นเสียงก้องไม่พ่นลมตามไวยากรณ์ปาฬิในพระไตรปิฎก เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายและไม่สับสน 

สำหรับเสียงที่เป็นเสียงก้องไม่พ่นลมทั้งหมด ผู้จัดทำได้ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรโรมัน z ไว้ด้านหลังทุกตัว ได้แก่ gz [ค] x [จ]  ḍz  [ฑ] dz [ด] และ bz [บ] นอกจากนี้ ในส่วนของเสียงก้องพ่นลม ผู้จัดทำได้เพิ่มตัวอักษรโรมัน h ไว้ด้านหลัง ได้แก่  gh [ฆ] ch [ฌ] ḍh [ฒ] dh [ธ] และ bh [ภ] ส่วนเสียงพยัญชนะในฐานกรณ์ที่หลังปุ่มเหงือก ผู้จัดทำได้เพิ่มเครื่องหมายจุด ( . ) ใต้ตัวอักษรได้แก่ [ฏ]  [ฐ]  ḷz [ฑ]  ṭh [ฒ]  [ณ]  และ [ฬ]  เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและจดจำ

ดังนั้น ปาฬิ-พินอิน (จีน) จึงเป็นระบบการออกเสียงที่ประชาชนทั่วไป สามารถเรียนรู้และออกเสียงได้ง่าย

5. สรุป 

อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ เป็นภูมิปัญญาไทยที่นำไปสู่การถอดรหัสวิธีเขียนเสียงละหุและเสียงคะรุ ในพระไตรปิฎก ซึ่งอักขรวิธีที่เรียกกันว่า พินทุบอด ที่ใช้พิมพ์พระไตรปิฎกของไทยในปัจจุบันไม่มีคุณสมบัตินี้ (ดู สำเนาเอกสารราชบัณฑิตหน้าซ้าย) และได้มีการพัฒนา เป็น อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ซึ่งเป็นการนำเสนอชุดอักขะระของชนชาติไทย ที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เนื่องด้วยมีจำนวนรูปอักขะระครบทุกเสียงปาฬิ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงประวัติศาสตร์พัฒนาการจัดพิมพ์ระไตรปิฎกปาฬิที่เป็นเลิศนานัปการของชาติไทย ซึ่งสร้างสรรค์โดยคนไทย ระบบการเขียนเสียงละหุเสียงคะรุจะง่ายต่อประชาชนทั่วไปที่จะศึกษาและฝึกหัดออกเสียงให้ชัดเจนและง่ายขึ้น แม้เป็นนวัตกรรมใหม่ก็สามารถศึกษาและเข้าใจได้

ดังนั้น อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ จึงเป็นกุญแจไขไปสู่การเปลี่ยนผ่านกำแพงทางภาษาที่สำคัญ กล่าวคือ จากปาฬิภาสาที่กำลังจะถูกลืมว่าเป็นภาษาโบราณสู่การอนุรักษ์เสียงปาฬิในอักขะระของประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยีที่สำคัญของโลก คือ รัสเซีย และจีน เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดทำตัวอย่างบันทึกเสียงสัชฌายะในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียและจีนเป็นตัวอย่างแล้ว

ศักกยภาพอักขรวิธีสยามปาฬิ by Dhamma Society on Scribd