ชุด สัททะอักขะระไต

สัททะอักขะระไต ในพระไตรปิฎกสากล ชุดชาติพันธุ์ไต พ.ศ. 2562-2563

ภิกขุสังเฆนะ / bhikkhusaṁghena

 

สัททะอักขะระไต (Tai Phonetic Alphabet) เป็น ชุดอักขะระ (Akkʰara) ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ผู้ก่อตั้งภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัททะอักขะระไตชุดนี้ อ้างอิงกับชุด อักขะระสยาม-ปาฬิ ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 เพื่อใช้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล จากการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 และต้นฉบับอักขะระไตชุดนี้ได้นำเสนอในที่ประชุมสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งต่อมาได้ตีพิมพ์เป็นบทความ เรื่อง ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ในหนังสือ 80 ปี ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2557

โครงการพระไตรปิฎกสากลได้พัฒนาเป็นชุด ละหุคะรุ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ (Lahu Garu Roman Phonetic Alphabet-Pāḷi) โดยจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ตามโปรแกรมสิทธิบัตร (World Tipiṭaka Patent No. 46390) และลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์การเรียงพิมพ์ที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 

เนื่องด้วยพระไตรปิฎกที่บันทึกด้วยปาฬิภาสาไม่เคยมีการจัดพิมพ์ด้วยสัททะอักขะระใดๆ มาก่อน การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) ด้วย สัททะอักขะระ-ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Alphabet) โดยเฉพาะชุด ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ที่นำเสนอโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ จึงถือว่าเป็นการนำเสนอเป็นครั้งแรกด้วยกระบวนการถอดเสียงปาฬิอย่างละเอียดตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ การมุ่งเน้นการใช้สัญลักษณ์ทางเสียงในทางภาษาศาสตร์ ที่เรียกว่า สัททสัญลักษณ์ (phonetic symbol) เป็นการวางรากฐานสำคัญให้ผู้เชี่ยวชาญทางดุริยางคศาสตร์สามารถพัฒนาชุดสัททะอักขะระ เป็น โน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. ในการบันทึกพระไตรปิฎกทั้งชุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2559 ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลพระราชทานผลงานวิจัยดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2562 ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในภายหลัง เรื่อง โน้ตเสียงปาฬิ

ไต (Tai) เป็นชื่อของชาติพันธุ์เก่าแก่ชนชาติหนึ่งที่ปัจจุบันกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไตยวน (Tai-Yuan) เดิมเรียกว่า ไทยล้านนา, ไตโหลง (Tai-Lōng) หรือ ไทยใหญ่, และ ไตสยาม (Tai-Syām) หรือ ไทยสยาม ตลอดจน ไตลื้อ (Tai-Lüe) ในรัฐยูนานตอนใต้ของจีน และ ไตอาหม (Tai-Āhom) ในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เป็นต้น เอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติพันธุ์ไตคือวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีประวัติศาสตร์การบันทึกพระไตรปิฎกปาฬิภาสาด้วยอักขะระไตในดินแดนต่างๆ อย่างยาวนาน ซึ่งแม้อักขะระไตในแต่ละประเทศอาจมีรูปเขียนแตกต่างกันแต่เสียงปาฬิที่บันทึกในพระไตรปิฎกและการออกเสียงสวดพระไตรปิฎกโดยรวมแล้วล้วนเป็นเสียงปาฬิเดียวกัน ได้แก่ชุดเสียงปาฬิ 41 เสียง ที่สามารถอ้างอิงได้กับคัมภีร์ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ที่เก่าแก่

ปาฬิ หรือ ปาฬิภาสา (Pāḷi Bʰāsā) เป็นเสียงในภาษาตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์จัดเป็นเสียงสามัญที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ (monotonic) ปาฬิภาสาในพระไตรปิฎก ที่เรียกกันว่า ภาสาธัมม์ (เดิมเรียกกันว่าภาษาธรรม) ถ้าออกเสียงให้แม่นตรงกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ แล้วย่อมเป็นเสียงระดับสามัญ แต่ในท้องถิ่นต่างๆ ของชาวไตย่อมมีการแทรกแซงทางเสียงเป็นธรรมดา โดยเกิดจากการปนแทรกมาจากเสียงวรรณยุกต์ในภาษาท้องถิ่นของชาติพันธุ์ไตกลุ่มต่างๆ ที่เรียกกันว่า ภาษาเมือง ดังนั้นนักภาษาชาวตะวันตกซึ่งในอดีตที่มุ่งเน้นศึกษาภาษาถิ่นของชาติพันธุ์ไตจึงพบความหลากหลายของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาเมืองของท้องถิ่นไตเป็นจุดเด่น ทำให้ตั้งคำจำกัดความภาษา ไต-กระได (Tai-Kradai) ของชาติพันธุ์ไตว่า เป็นชนชาติที่มีภาษาเป็นเสียงวรรณยุกต์เป็นเอกลักษณ์ (tonal languages)

ด้วยภูมิหลังต่างๆ ข้างต้นของไตที่มีส่วนสัมพันธ์ทั้งเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกและเสียงในภาษาท้องถิ่น การสร้างสรรค์สัททะอักขะระไตจึงมีความท้าทายและเป็นประโยชน์ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ชุด สัททะอักขะระไต-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-ไต พ.ศ. 2562 และ โน้ตเสียงปาฬิพระไตรปิฎกไต พ.ศ. 2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การถอดเสียงปาฬิ เป็น สัททะอักขะระไต-ปาฬิ

ปัญหาสำคัญของการใช้อักขะระท้องถิ่นเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก คือ การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) เกิดจากเสียงท้องถิ่นไปปนแทรกกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นการปริวรรต หรือที่เรียกว่า การถอดอักขะระ (transliteration) กล่าวคือปริวรรตจากอักขะระหนึ่งไปเขียนเป็นอีกอักขะระหนึ่ง เช่น การปริวรรตจากอักขะระขอมไปเป็นอักขะระสยาม เป็นต้น

พระไตรปิฎก จปร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436

สัททะอักขะระไต หรือ ปาฬิ-ไต ต่างจากการปริวรรตอักขะระ เพราะมุ่งเน้นการเขียนรูปเสียง หรือ การถอดเสียง (transcription) ซึ่งในทางภาษาศาสตร์สามารถเขียนเสียงด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างละเอียด จึงสามารถแก้ปัญหาการแทรกแซงทางเสียงในอดีตได้ โครงการพระไตรปิฎกสากลนำเสนอระบบการเขียนเสียงปาฬิใหม่ดังกล่าวสำหรับชนชาติไตตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในวัฒนธรรมพระไตรปิฎกเถรวาท เรียกกระบวนการนี้ว่า การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) และเรียกชุดอักขะระที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ตามเสียงพิเศษในปาฬิภาสาว่า สัททะอักขะระไต-ปาฬิ (Pāḷi-Tai Phonetic Alphabet) หรือ ปาฬิไต (Pāḷi-Tai)

ตัวอย่างที่สำคัญคือ การสร้างอักขะระเสียงพ่นลม (aspirated) ด้วยการพิมพ์สัททสัญลักษ์เสียงพ่นลมกำกับพยัญชนะเสียงพ่นลม ได้แก่  ฮ   ฮ   ฮ   ฮ   

เนื่องด้วยในทางภาษาศาสตร์สากลมีการพิมพ์  ( ʰ ) เช่น    เป็นสัทอักษร หรือ สัททะอักขะระ ดังนั้น สัททสัญลักษณ์เสียงพ่นลมของ ปาฬิ-ไต จึงสร้างชุดอักขะระเสียงพ่นลมใหม่ให้สอดคล้องกับ สัททะอักขะระสากล ซึ่งสามารถจัดพิมพ์ทั้งสองชุดอักขะระคู่ขนานกัน (parellel corpus printinɡ) ในฉบับสัชฌายะที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ทำให้ง่ายในการศึกษาเปรียบเทียบใน การออกเสียงสัชฌายะ (Sajjhāya Recitation)
 

2. เสียงพ่นลม และ เสียงไม่พ่นลม ใน ปาฬิ-ไต

ไทย หรือ ไตสยาม เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในชาติพันธุ์ไตมีวัฒนธรรมพระไตรปิฎกที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ พระไตรปิฎก จปร. อักขระสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งมีนวัตกรรมสัททสัญลักษณ์ ได้แก่ สัญลักษณ์เสียงไม่สะกด (non-final consonant symbol), เสียงสะกด (final-consonant symbol), และเสียงกล้ำ (cluster-consonant symbol) ปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ทำการศึกษาและอนุรักษ์พระไตรปิฎก จปร. อักขะระสยาม และเรียกชุดอักขะระชุดนี้ว่า ไต-สยาม (Tai-Syām) ดูสูตรสกัดชิดชนก พ.ศ. 2557 ซึ่งอ้างอิงอักขรวิธีไต-สยาม

ดังที่กล่าวแล้วในข้อ 1 การแทรกแซงทางเสียงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้การออกเสียงปาฬิดั้งเดิมผิดเพี้ยนไปในปัจจุบัน เพราะมีการปนแทรกจากเสียงท้องถิ่นในภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ในต้นฉบับ จปร. จึงเทียบอักขะระสยาม-ปาฬิ กับ อักขะระโรมัน-ปาฬิ  เช่น    กับ  g  และ    กับ  j  เป็นต้น แต่เมื่อคนไทยทั่วไปเห็นรูปอักขะระ และ  ก็จะออกเป็นเสียงพ่นลมว่า  คะ  และ  ชะ  ซึ่งเป็นเสียงพ่นลมตามเสียงในภาษาไทยที่คุ้นชิน ไม่ออกเป็นเสียงปาฬิตามคู่มือที่กำหนดให้เป็นเสียงที่ไม่พ่นลมว่า  [ga]  และ  [ja]  เรื่องนี้แสดงให้เห็นความสำคัญประการหนึ่งของฉบับ ปาฬิ-สยาม ได้ริเริ่มการเขียนเสียงด้วยรูปสัททะอักขะระ เพราะมีการเทียบเสียงกับอักขะระโรมันด้วย

สัททะอักขะระไต-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-ไต จึงแก้ปัญหาการแทรกแทรงทางเสียงของ    และ    โดยการสร้างรูปเสียงปาฬิ-ไต ขึ้นใหม่ เป็น ก-พินทุโปร่ง และ  จ-พินทุโปร่ง ด้วยเพิ่มเครื่องหมายพินทุโปร่งประกอบไว้ แสดงเสียงพยัญชนะที่มีฐานเสียงคล้ายกับ เสียง และ ในลำดับต้นของแต่ละวัคค์ แต่เป็น เสียงก้อง ที่ไม่พ่นลม เพราะไม่มีเครื่องหมายพ่นลมเหมือนในข้อ 1.

ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ แบ่งลักษณะเสียงไม่พ่นลม และเสียงพ่นลม (ดูตารางการถอดเสียง) โดยเสียงพ่นลมจะมีลักษณะที่รู้ได้โดยใช้มือวางไว้ริมฝีปากจะมีลมมาสัมผัส 

3. เสียงก้อง และ เสียงไม่ก้อง ใน ปาฬิ-ไต

ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ แบ่งเสียงอักขะระเป็นพยัญชนะรวม 33 เสียง โดยเรียงเป็นวัคค์หลักได้ 5 วัคค์ๆ ละ 5 อักขะระ ทั้งยังกำหนดไว้ชัดเจนว่า อักขะระลำดับที่ 3 และ ที่ 4 ของแต่ละวัคค์มีลักษณะเสียงก้อง (voiced sound) รู้ได้โดยใช้มือสัมผัสที่คอเมื่อเกิดการสั่นสะเทือนของเส้นเสียงขณะออกเสียง 

เช่นเดียวกับเสียงพ่นลม และเสียงไม่พ่นลม ที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างเสียงพยัญชนะแต่ละตัว โดยเฉพาะพยัญชนะต้น ในข้อ 2 ส่วนเสียงก้องช่วยให้เกิดความแตกต่างของอักขะระในการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัวได้มากขึ้น

สัททะอักขะระไต-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-ไต สร้างเสียงก้องและเสียงพ่นลม ด้วยเครื่องหมายประกอบพินทุโปร่ง ก  จ  และเครื่องหมายเสียงพ่นลม  ฮ   ฮ   ฮ   ฮ   

4. เสียงสามัญ ใน ปาฬิ-ไต

เมื่อนำพยัญชนะในภาษาไทยเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกย่อมมีเสียงวรรณยุกต์ติดมาด้วยเสมอ เช่น ส-เสือ ในภาษาไทยเป็นพยัญชนะอักษรสูง ซึ่งเมื่อประกอบกับสระย่อมออกเสียงเป็นวรรณยุกต์จัตวาเสมอ เช่น โส คนไทยจะออกเป็นเสียงวรรณยุกต์จัตวา

สัททะอักขะระไต-ปาฬิ หรือ ปาฬิ-ไต จึงเปลี่ยนไม่ใช้อักขะระเสียงสูงในการเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก เช่น ใช้    แทน  ดังนั้น จึงเขียนว่า โซ ใน [อิ-ติ-ปิ] [โซ] / [i-ti-pi] [so] และ แทน เป็นต้น

นอกจากนี้ในภาษาไทยยังมีรูปคำที่เรียกว่า คำเป็น คำตาย ที่ต้องผันเสียงวรรณยุกต์ด้วย แต่พยางค์ที่เขียนด้วย สัททะอักขะระไต จะไม่คำนึงถึงลักษณะ คำเป็น คำตาย ดังกล่าวในภาษาไทย แต่ออกเสียงตามเสียงสามัญ ที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำตามสัญลักษณ์โน้ตเสียงเส้นเดี่ยวที่พิมพ์กำกับไว้ข้างบน ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในเรื่อง โน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ปาฬิ-ไต 

อนุสนธิ : ศักยภาพของสัททะอักขะระไต

ผู้ที่คุ้นเคยกับปาฬิภาสาและพระไตรปิฎกที่พิมพ์ขึ้นในอดีต เมื่อมาอ่านสัททะอักขะระไตเป็นครั้งแรกอาจมีความสับสนกับชุดสัททะอักขะระชุดนี้ เพราะยังติดกับระบบการพิมพ์ในอดีต แต่เมื่อได้ศึกษาระบบสัททสัญลักษณ์ใหม่ก็ย่อมเกิดความเข้าใจได้

ปัจจุบันภาษาไทยได้มีการศึกษากันในระดับนานาชาติทั่วโลก เป็นส่วนหนึ่งของไทยศึกษา (Thai Area Studies) ซึ่งเน้นการศึกษาภาษาไทยในเชิงภาษาศาสตร์ กล่าวคือ ศึกษาสัญลักษณ์ของรูปเสียง การเปล่งเสียงจากฐานและกรณ์ของอวัยวะภายในปาก และความแตกต่างของเสียงพ่นลม และเสียงไม่พ่นลม เป็นต้น มิใช่ศึกษาด้วยความจำตามประเพณีของการศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศไทย ดังนั้นตารางการถอดเสียงปาฬิที่เทียบกับสัททะอักขะระไตจึงเป็นคู่มือการออกเสียงที่ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการเริ่มศึกษาเสียงปาฬิมาก่อน

เนื่องจากลักษณะพิเศษที่สำคัญของเสียงปาฬิ คือ เป็นเสียงสามัญที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ ซึ่งเป็นเสียงในตระกูลอินโด-อารยัน ที่เป็นรากฐานของเสียงในอักขะระโรมันของภาษาในยุโรปและอเมริกา ตลอดจนเป็นเสียงของอักขะระ ซิริลลิค หรือ kirillitsa ในวัฒนธรรมภาษารัสเซีย และยุโรปตะวันออกด้วย ดังนั้นสำหรับนักศึกษาในประเทศเหล่านี้เมื่อเริ่มเรียนเสียงปาฬิ จากเสียงสัชฌายะดิจิทัล ย่อมจะเกิดความคุ้นเคยกับเสียงสามัญได้ทันที และหลังจากนั้นจะค่อยๆ คุ้นเคยกับรูปเสียงของสัททะอักขะระไตด้วย อันเป็นการก้าวข้ามปัญหาการแทรกแซงทางเสียงที่มีมาตลอดนับศตวรรษ

การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์รูปศัพท์สัญลักษณ์และเทคโนโลยีทางเสียงดิจิทัล จึงมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในปัจจุบันในการเรียนรู้สัททะอักขะระไตชุดนี้ ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์สำหรับยุวชนนานาชาติในอนาคต

สัททะอักขะระไต เมื่อพิมพ์ประกอบกับโน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ชุดอักขะระ ปาฬิ-คิรีลลิซะ ของรัสเซีย และ ชุด ปาฬิ-พินอิน ของจีน จึงแสดงรูปเสียงของอักขะระสามัญที่สอดคล้องกับทั้งโน้ตเสียงปาฬิ และทั้งอักขะระเสียงสามัญของรัสเซีย และ จีน ซึ่งไม่มีสัญลักษณ์เสียงวรรณยุกต์ในการเขียนเสียงปาฬิ

ภิกขุสะเตหิ / bhikkhusatehi
โน้ตเสียง ปาฬิไต / ปาฬิ-คิรีลลิซะ (รัสเซีย) 

 

ภิกขุสะเตหิ / bhikkhusatehi
โน้ตเสียง ปาฬิไต /  ปาฬิ-พินอิน (จีน)

รูปสระและพยัญชนะที่หลากหลายของภาษาไทยเป็นที่ยอมรับอย่างดีว่าสามารถเขียนเสียงต่างๆ ที่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ และยังพิสูจน์ได้ว่าเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำได้เป็นอย่างดีด้วย การสร้างสรรค์สัททะอักขะระไต จึงเป็นพัฒนาการในการนำรูปพยัญชนะไทยที่มีศักยภาพทางเสียงมามุ่งเน้นเขียนเสียงสามัญเพื่อนำเสนอต่อประชากรไตทั่วโลกที่คุ้นเคยกับรูปอักขะระในภาษาไทย และมีความสนใจเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก อันเป็นการตามรอยประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ปริวรรตเปลี่ยนจาก อักษรขอม เป็น อักษรสยาม สำหรับพิมพ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎกชุดแรกของโลก หรือ ที่ปัจจุบันเรียกว่า อักขะระ ไต-สยาม (ดู โครงการพระไตรปิฎกสากล)