หลักการสร้างพระไตรปิฎกสัชฌายะ

“พระไตรปิฎกสัชฌายะ” (Saj-jhā-ya Tepiṭaka) เพื่อ “การออกเสียงสัชฌายะ” (Sajjhāya Recitation) ในโครงการพระไตรปิฎกสากล คือ การศึกษา จัดสร้างฐานข้อมูลดิจิทัล และอนุรักษ์เสียงปาฬิ (Pāḷi) ที่อ้างอิงจาก “การออกเสียงตามประเพณี” (Traditional Chanting)   อันเป็นการศึกษาการแบ่งพยางค์คำต่างๆ ในพระไตรปิฎก เพื่ออ้างอิงกับจังหวะเสียงละหุ และเสียงคะรุตามไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถเขียนเสียงปาฬิเป็นสัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol) ที่เป็นมาตรฐานสากล (Open International Standard) ปัจจุบัน พ.ศ. 2560 สามารถบันทึกเสียงดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีทางเสียง เป็น “เสียงสัชฌายะดิจิทัล”(Digital Sajjhāya Recitation Sound) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ผลงานนี้อาจกล่าวได้ว่าสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ Thailand 4.0 กล่าวคือเป็นการพัฒนาเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ในระดับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Technology) โดยสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ แม้เป็นการพัฒนาด้านนามธรรมของอารยธรรมทางปัญญาในพระไตรปิฎก แต่ผลสำเร็จที่ได้รับสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ ย่อมสร้างมูลค่าในมิติต่างๆ เป็นรากฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในอนาคต เนื่องด้วยศาสนสมบัติในทางพระพุทธศาสนาของชาติได้มีการประเมินไว้ว่ามีมากกว่า 3 ล้านล้านบาท ดังนั้นตัวอย่างพระไตรปิฎกสัชฌายะ 4.0 นี้ ย่อมเป็นตัวอย่างที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของชาติ

เสียงสัชฌายะดิจิทัล หรือ การออกเสียงที่เป็นสากล จึงเป็นผลงานนวัตกรรมในทางภาษาศาสตร์ดุริยางคศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ มิใช่่โครงการในทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นโครงการด้านการศึกษาฐานปัญญา (Wisdombase) ด้วยสหวิชาการเทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์เสียงปาฬิ และสถาบันทางปัญญาคือพระพุทธศาสนาเถรวาท สรุปได้เป็น 4 ข้อ คือ

1. เป็นฉบับสังคายนาสากล
2. เป็นฉบับที่เขียนเสียงด้วยสัททสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) เฉลิมพระเกียรติ ร.9
3. เป็นเสียงสัชฌายะดิจิทัลชุดแรก
4. เป็นนวัตกรรม 4.0 ที่ได้รับสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกของพระไตรปิฎก