พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน 2562

โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ พ.ศ. 2542-2562 :​ ​
ฉบับ​มหา​สังคายนา​สากล​นานาชาติ​
​ชุด​ ​40​​ ​เล่ม​
​ พ.ศ. ​2500​

กำเนิด​

กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ​ท่านผู้หญิง​ ​ม.ล​.​ ​มณี​รัตน์​ ​บุนนาค​ ​ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์​สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร​ ​สมเด็จ​พระ​สังฆราช​ ​สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก​ ​(ปัจจุบันดำเนินงานโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2555) ได้​ริเริ่ม​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ใน​ ​พ.ศ​.​ ​2542​ ​เนื่องจาก​ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้​รับ​การ​บอกบุญ​จาก​ต่าง​ประเทศ​ให้​อุปถัมภ์​การพิมพ์พระไตรปิฎกซึ่ง​บันทึก​พระพุทธ​พจน์​ของ​พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​โดย​จัด​พิมพ์​เป็น​อักษร​โรมัน​ (Roman Script) ​

พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ชุด​สมบูรณ์​ ​40​ ​เล่ม​ ​ที่จัด​พิมพ์​ด้วย​อักษร​โรมัน​ ตาม​การสังคายนา​สืบทอด​เป็น ​ปาฬิ​ภาสา (Pāḷi Bhāsā หรือเดิมเรียกกันว่า ภาษาบาลี) ​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ตลอด​ระยะ​เวลา​กว่า​ ​25​ ​พุทธ​ศตวรรษ​ ​ชุด​นี้​​ยัง​มิ​เคย​มี​การ​จัด​พิมพ์​เป็น​ ​อักษร​โรมัน​ชุด​สมบูรณ์​มา​ก่อน​ ​ณ​ ​ที่​ใด​ใน​โลก


ผู้ก่อตั้งโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542

 


ดู พระสัมโมทนียกถา

ต้นฉบับ​ปาฬิ​

ต้นฉบับ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ​นี้​ ​รู้จัก​กัน​โดย​ทั่วไป​ว่า​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​ฉัฏฐ​สังคีติ​ ​(Chaṭṭhasaṅgīti​ Tipiṭaka Edition) พิมพ์​เสียงปาฬิด้วย​อักษร​พม่า​ ​เป็น​ผล​งานการ​ประชุม​สังคายนา​ระดับ​นานาชาติ​ครั้ง​เดียว​ของ​โลก​ ​ซึ่ง​พระ​สงฆ์​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ผู้ทรง​ความ​รู้​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​จาก​นานาชาติทั่ว​โลก​ได้​ประชุม​ออกเสียงสวดเป็นปาฬิภาสา และบันทึกเป็นพระไตรปิฎก อักษรพม่า ​ณ​ ​นคร​ย่างกุ้ง ระหว่าง​ ​พ.ศ​.​ ​2496​-​2500


ฉบับอักษรพม่า พ.ศ. 2500 อ้างอิงฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436
ปัจจุบันจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548

​ประมุข​พุทธมามกะ​และ​ผู้​แทน​รัฐบาล​ต่างๆ​ ​ได้​แสดง​ความ​ยินดี​ถึงความสำเร็จใน​การ​ประชุม​สังคายนานานาชาติ​ดัง​กล่าว​ ​ซึ่ง​พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ​และ​สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ​ได้​เสด็จฯ​ ​ไป​ทรง​ร่วม​อนุโมทนา​ ​ณ​ ​สถาน​ที่​สังคายนา​ ​ใน​วโรกาส​ที่​เสด็จ​เยือน​ประเทศ​พม่า​อย่างเป็นทางการเมื่อ​ พ.ศ. 2503 ในการนี้ประธานาธิบดีพม่าได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎก ฉบับฉัฏฐสังคีติชุด 40 เล่ม (ดูภาพปกสีแดง) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ​นี้​ ​ได้​รับ​การ​ยกย่อง​ว่า​เป็น​พระ​ไตรปิฎก​ที่​เป็น​มาตรฐาน​ใน​ระดับ​นานาชาติ​ของ​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ทั่ว​โลก

สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร​ ​สมเด็จ​พระ​สังฆราช​ ​สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก​ ​พระองค์ที่ 19 ผู้ทรง​เป็น​ผู้​แทน​ผู้​เชี่ยวชาญ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​จากประเทศไทย​ ได้ทรง​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​สังคายนา​นานาชาติ ​พ.ศ​.​ ​2500​ ​และ​ใน​การ​ตรวจ​ทาน​เพื่อ​จัด​พิมพ์​ใหม่ใน​ ​พ.ศ​.​ ​2542​ ​ได้​ทรง​มี​พระ​บัญชา​ประกาศ​แต่ง​ตั้ง​คณะ​กรรมการ​ตรวจ​ทาน​และ​จัดพิมพ์​ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ​โดย​ได้​ประทาน​ชื่อ​พระ​ไตรปิฎก​ชุดที่จัดพิมพ์ใหม่เป็น​อักษรโรมัน ว่า​ ​Mahāsaṅgīti​ ​Tipiṭaka​ ​Buddhavasse​ ​2500​ ​และ​ชื่อ​เป็น​ภาษา​ไทย​ว่า​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​มหา​สังคายนา​สากล​นานาชาติ​ ​พ.ศ​.​ 2500​ ​พิมพ์​อักษร​โรมัน​ ​พ.ศ​.​ 2548​ ​(​The​ ​Buddhist​ ​Era​ ​2500​ ​Great​ ​International​ ​Council​ ​Pāḷi​ ​Tipiṭaka​,​ ​Roman​ ​Script​ ​2005​)​

ใน​การ​จัด​เตรียม​ต้นฉบับ​อักษร​โรมัน​ ​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ได้​ทำการค้นคว้าหาต้นฉบับชุดเดียวกับที่ประธานาธิบดีพม่าได้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคาดว่าพิมพ์หลังการสังคายนา พ.ศ. ​2500​ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับต้นฉบับยกร่างที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงนำกลับมาจากประเทศพม่า พิมพ์ พ.ศ. 2498 และอีกฉบับหนึ่งจากมูลนิธิภูมิพโลภิกขุซึ่งทำสำเนามาจากพระธัมมานันทะมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สันนิษฐานว่าพม่าจัดพิมพ์ในปีที่จบการสังคายนา พ.ศ. 2500 เพื่อเป็นหลักฐานของการจบงานสังคายนา (​ดูรายละเอียดต้นฉบับอักษรพม่า ในคำนำพระไตรปิฎกสากล โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (​ป.อ. ปยุตโต)​)​

นอกจากนี้ยังได้ใช้​ข้อมูล​บาง​ส่วน​ของ​ต้นฉบับ​อิเล็กทรอนิกส์​ ​2 ​แหล่ง​ ซึ่ง​รวมฉบับอิเล็กทรอนิกส์จากสถาบันวิจัยวิปัสสนา VRI ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้​รับ​มอบ​เป็น​ธัมม​ทาน​จากท่าน เอส เอ็น โกเอ็นก้า​ เป็น​ฐาน​ข้อมูล​เบื้อง​ต้น​ ​

การตรวจทาน

ในการดำเนินงานคณะ​กรรมการ​ตรวจ​ทาน​​ได้​พบ​ว่า​ทั้งข้อมูลฉบับพิมพ์และข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ดัง​กล่าว​ยัง​มี​ข้อ​บกพร่อง​และ​มี​การ​พิมพ์​ผิด​พลาด​ ซึ่งได้ทำเครื่องหมายข้อแตกต่างที่สำคัญรวมจำนวนประมาณ 40,000 ตำแหน่ง เพื่อแก้ไข นอกจากนี้ในต้นฉบับอักษรพม่าเล่มที่ 39-40 คณะ​กรรมการ​ตรวจ​ทาน​​ยังพบว่าพระไตรปิฎก อักษรพม่า ที่พิมพ์ขึ้นภายหลังการสังคายนา มิได้พิมพ์ตามมติของคณะสงฆ์ เพราะในบทคำนำหมายเหตุ หรือ วิญญาปนัง ​(​viññapanaṁ) กล่าวไว้ว่ามิได้จัดพิมพ์รายละเอียดที่เรียกว่า สังขยาวาระ (​saṅkhayāvāra) (เลขจำนวนองค์ธัมม์) ดังนั้นโครงการพระไตรปิฎกสากล​จึง​ต้อง​ดำเนิน​การ​ตรวจ​ทาน​ต้นฉบับ​ใหม่​ทั้งหมด​ ​3 ​ครั้ง​ ​โดยตรวจสอบกับฉบับอื่นๆ (ดูการอ้างอิงเลขหน้ากับฉบับอื่นๆ ที่สำคัญของโลก 12 ฉบับ) ด้วย​วิธี​พิเศษ​ ​คือ​ ​การออก​เสียง​ปาฬิ​ด้วยการ​อ่าน​สัชฌายะ ​(​Pāḷi​ ​ ​Recitation​)​ ​โดย​ผู้​เชี่ยวชาญ​พระ​ไตรปิฎก​จากมูลนิธิภูมิพโลภิกขุและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​ ​เพื่อ​ตรวจ​สอบ​การ​พิมพ์​เสียง​ปาฬิ​ตาม​ต้นฉบับ​ ​และ​แก้ไข​คำ​พิมพ์​ผิด​ให้ถูกต้อง พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ รวมทั้ง สังขยาวาระ ดังกล่าวด้วย รวมจำนวนแก้ไขเพิ่มเติมใน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ทั้ง​ชุด​ ​40​ ​เล่ม​ ​ที่ตรวจทานแล้ว ​มี​จำนวน​คำทั้งสิ้น ​​2,708,706 ​คำ​ ​หรือ​ 9,442,442 พยางค์ หรือ ​20,606,104 อักษร​โรมัน​ ใช้เวลาดำเนินการรวม 6 ปี

กล่าวโดยสรุป จากการตรวจทานต้นฉบับฉัฏฐสังคีติ อักษรพม่า พ.ศ. 2500 และต้นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ที่องค์กรต่างๆ ได้ปริวรรตจาก อักษรพม่า เป็น อักษรโรมัน และ อักษรไทย โดยเผยแผ่ในระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน เช่น สถาบัน VRI ที่อ้างอิงกับ ฉบับฉัฏฐสังคีติ พ.ศ. 2500 และ เว็บไซต์พระไตรปิฎก 84000.org ที่อ้างอิงกับฉบับสยามรัฐ พ.ศ. 2470 นั้น ก็ยังมีเนื้อหาไม่แม่นตรงกับ ฉบับฉัฏฐสังคีติ พ.ศ. 2500 หรือ ฉบับสังคายนานานาชาติที่เป็นมาตรฐานของโลก ซึ่งปัจจุบันได้ตรวจทานใหม่และจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมันชุดสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 และปรับปรุงเป็นสัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) พ.ศ. 2562 มีชื่อว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลจัดพิมพ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ 

ข้อสรุปนี้มิได้หมายว่าพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ ไม่ถูกต้อง แต่หมายถึงการเรียงพิมพ์ในบางส่วนยังมีความบกพร่อง ซึ่งปัจจุบันการใช้หลักวิชาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถพิสูจน์ได้ในรายละเอียด และแก้ไขการพิมพ์ให้สมบูรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้ การสืบค้นต้นฉบับพระไตรปิฎก ประวัติการสังคายนา  สำนักพิมพ์ และปีที่จัดพิมพ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการอ้างอิง

การสร้างพระไตรปิฎกย่อมเป็นมหากุศลเสมอ ตามกุศลปัญญาและศรัทธาของผู้สร้าง


ส่วนหนึ่งของต้นฉบับการตรวจทาน ซึ่งพบข้อแตกต่างจากต้นฉบับสังคายนานานาชาติ


ปาฬิภาสา-อักษรพม่า ที่พิมพ์ขึ้นภายหลัง พ.ศ. 2506


ต้นฉบับการตรวจทาน

ผลการ​ตรวจ​ทาน​และ​จัด​พิมพ์​เป็น​อักษร​โรมัน​

โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ได้​เพิ่ม​ข้อมูล​อ้างอิง​เลขหน้ากับพระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​อักษร​ต่างๆ​ ​ไม่น้อยกว่า​ 12​ ​ฉบับ​ ​ของ​โลกจากการตรวจทานที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น​ ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในคลัง​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​นานาชาติ​กว่า​ ​2,000​ ​เล่ม ​โดย​ได้​มอบ​เป็น​ธัมม​บรรณาการ​แก่​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ​ปัจจุบัน​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​หอ​พระ​ไตรปิฎก​นานาชาติ​ ​ใน​อาคาร​มหาจุฬาลงกรณ์ซึ่งเป็นอาคารเก่า​แก่​แห่ง​แรก​ของ​มหาวิทยาลัย​ 

เพื่อสรุปผลการตรวจทานสำหรับนักวิชาการที่จะทำการศึกษาต่อไป (World Tipiṭaka Critical Apparatus) โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงได้จัดทำเป็นข้อมูลพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง โดยเฉพาะ คำที่พิมพ์ต่างกัน (Variant Readings) แบ่งเป็นรายละเอียดต่างๆ จำนวน 6 เล่ม ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด พระไตรปิฎกอ้างอิงสากล ชุด 40 เล่ม พ.ศ. 2551


ปาฐกถาพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2546

ศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล ประธานโครงการพระไตรปิฎกสากล และราชบัณฑิต ร่วมกับอาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้เชิญท่าน เอส เอ็น โกเอ็นก้า ประธานสภาบันวิจัยวิปัสสนา มาร่วมประชุมและแจ้งผลการตรวจทานดังกล่าวในโอกาสที่โครงการพระไตรปิฎกสากลเชิญท่านมาแสดงปาฐกถาเรื่อง พระไตรปิฎกกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เนื่องในวาระ 100 ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.​ 2546 ต่อมาศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล ได้เปิดเผยข้อมูลการตรวจทานของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ของการแสดงปาฐกถาพิเศษในที่ประชุมทางวิชาการของสมาคมพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 (International Association of Buddhist Studies XIII) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546


เอส เอ็น โกเอ็นก้า  เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชฯ


ศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล (ขวา) 
ปาฐกถาพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2545

​งาน​ตรวจ​ทาน​ที่​ละเอียด​ประณีต​นี้​สำเร็จ​ได้​ด้วย​ ​เทคโนโลยี​ธัมมะ​ ​คือ​ ​การ​ใช้​เทคโนโลยี​ที่​เหมาะ​สม​และ​พอ​เพียง​ใน​ทาง​ธัมมะ​ ​โดย​เฉพาะ​การ​ประยุกต์​ใช้​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ที่​ทัน​สมัย​ที่สุด​ใน​ยุคนั้น ภาย​ใต้​การ​ดำเนิน​งาน​ทาง​วิศวกรรมศาสตร์​คอมพิวเตอร์​ ซึ่ง​ควบคุม​โดย​ผู้​เชี่ยวชาญ​ที่​เป็น​ผู้​มี​ศรัทธา​และ​มี​ความ​รู้​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ ​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ระหว่าง​ ​พ.ศ​.​ ​2543​-​2548​ ​ได้​ใช้​เวลาตรวจ​ทาน​ 3​ ​ปี​ ​ประมาณ​ 80,000​ ​ชั่วโมง​ ​และ​ต่อ​มา​อีก​ ​2​ ​ปี​ ​จำนวน​กว่า​ ​20,000 ​ชั่วโมง​ ​ใน​การ​บันทึก​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​เพื่อ​วาง​รูป​แบบ​ต้นฉบับ​และ​จัดการ​พิมพ์​ ​

นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2549-2562 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ทำการศึกษาอักขรวิธีอักษรสยามในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 และสร้างเป็นโปรแกรมตัดพยางค์อัตโนมัติ สิทธิบัตรเลขที่ 46390 ตลอดจนพัฒนาเป็นฐานข้อมูลสัททะอักขะระปาฬิ (Phonetic Alphabet)


เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัล และการเข้ารูปเล่ม
Hewlett Packard & Sinar Camera

​การ​ควบคุม​คุณภาพ​ของ​การ​ตรวจ​ทาน​ ​สัมฤ​ทธิ​ผล​ได้​ด้วย​กา​รบู​รณา​การ​ระหว่าง​ผู้​เชี่ยวชาญ​สห​วิชาการ​ ​ซึ่ง​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ได้​รับ​ความ​ร่วม​มือ​อย่าง​เต็ม​ที่​จาก​คณะสงฆ์​​ ​ตลอด​จน​ผู้ทรง​ความ​รู้​ใน​วิชาการ​ต่างๆ​ ​จาก​สถาบัน​ใน​ประเทศ​ต่างๆ​ ​มีน​วัต​กรรม​ที่​สำคัญ​ ​คือ​ ​รูป​แบบ​ใหม่​ของ​การ​จัด​เก็บ​ข้อมูล​พระ​ไตรปิฎก​​เป็น​ฐาน​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ ​ซึ่ง​อาสา​สมัคร​จาก​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​​และ​สมาชิก​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​ได้​พัฒนา​เป็นมาตรฐานสากล​ขึ้น​เป็น​ครั้ง​แรก​


ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน


สมเด็จพระญาณสังวรฯ องค์พระสังฆราชูปถัมภ์
ทรงตรวจต้นฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2545

มาตรฐาน​ผล​งาน​

มาตรฐาน​แรก​ ​มาตรฐาน​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ ​(​Publication​ ​Standard​)​ ​ได้แก่​ ​การ​ใช้​ระบบ​เรียง​พิมพ์​ที่​ทัน​สมัย​ ​(​Latex​ ​Digital​ ​Typesetting​)​ ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ด้วย​อักษร​โรมัน​ ​ซึ่ง​เป็น​อักษร​สากล​ของ​โลก​ที่​นานาชาติ​สามารถ​อ่าน​ออก​เสียง​ปาฬิ​ได้​ ​

มาตรฐาน​ที่​สอง​ ​คือ​ ​มาตรฐาน​อิเล็กทรอนิกส์​แบบ​เปิด​ที่​เป็น​สากล​ของ​ฐาน​ข้อมูล​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​(​Electronic​ ​Open​ ​Standard​ ​of​ ​Pāḷi​ ​Tipiṭaka​ ​Database​)​ ​ซึ่ง​สามารถ​นำ​ไป​พัฒนา​ใน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ใน​ระบบ​สากล​ต่อ​ไป​ได้​ ​

มาตรฐาน​ที่​สาม​ ​คือ​ ​มาตรฐาน​การ​ศึกษา​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ ​ได้แก่​ ​ระบบ​การ​ศึกษา​พระ​ไตรปิฎก​อ้างอิง​ระดับ​นานาชาติ​ ​(​International​ ​Tipiṭaka​ ​Studies​ ​Reference​)​ ซึ่ง​ได้​นำ​เสนอ​ด้วย​กระบวน​วิธี​ที่​สืบทอด​มา​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​ ​อาทิ​การ​สังคายนา​ ​และ​การ​สัชฌายะการ​ออก​เสียง​ปาฬิ​ ​เป็นต้น​ ​พร้อม​ทั้ง​ระบบ​พระ​ไตรปิฎก​ศึกษา​ ที่เรียกว่า ชุดพระไตรปิฎกอ้างอิง​สากล อักษร​โรมัน​ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด 40 เล่ม ครั้งแรกใน พ.ศ. 2551


พระไตรปิฎกอ้างอิงสากล ชุด 40 เล่ม พ.ศ. 2551

การ​เผยแผ่​ชุด​ปฐมฤกษ์​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​

การ​ประกาศ​การ​ดำเนิน​งาน​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ ​ได้​จัด​ขึ้น​เป็น​พิเศษ​ทั้ง​ใน​การ​ประชุม​ทาง​พระพุทธ​ศาสนา​ ​และ​ใน​การ​ประชุม​วิชาการ​ระดับ​นานาชาติ​ ​ทั้ง​ใน​ประเทศ​และ​ต่าง​ประเทศ​ระหว่าง​ ​พ.ศ​.​ 2545​-​2546​ ​และ​ใน​ปี​ ​พ.ศ​.​ ​2547​ ​ได้​ประกาศ​การ​ดำเนิน​งาน​ครั้ง​สุดท้าย​อย่าง​เป็น​ทางการ​ใน​งาน​ปาฐกถา​พิเศษ​หน้า​พระที่นั่ง​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​ณ​ ​หอ​ประชุม​ใหญ่​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​ ​กรุงเทพฯ​ ​เรื่อง​ ​112​ ​ปี​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร.ศ​.​ ​112​ ​:​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​พิมพ์​ชุด​แรก​ของ​โลก​ ​เทคโนโลยี​ธัมมะ​สู่​โลก​โดย​คน​ไทย​​ (ดู สูจิบัตร 112 ปี พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร.ศ​.​ ​112​ ​:​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​ฉบับ​พิมพ์​ชุด​แรก​ของ​โลก​ ​เทคโนโลยี​ธัมมะ​สู่​โลก​โดย​คน​ไทย)

พ.ศ​.​ ​2548​ ​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​​ ​ได้​เริ่ม​ดำเนิน​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ชุด​ ​40​ ​เล่ม​ ​เพื่อ​เป็นพระ​ธัมม​ทาน​จาก​ชาว​ไทย​แก่​สถาบัน​ใน​ประเทศ​ต่างๆ​ ​ทั่ว​โลก​ ​ใน​การ​นี้​ ​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​ผู้ทรง​เป็น​กุล​เชษฐ์​พระ​ราช​นัดดา​ใน​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ได้​ทรง​มี​พระ​กรุณาธิคุณ​รับ​เป็น​ประธาน​กิตติมศักดิ์​การ​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ใน​นานา​ประเทศ​ ​และ​ต่อ​มา​ได้​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ชุด​ปฐมฤกษ์​ ​3​ ​ชุด​ ​ตาม​รอย​ประวัติศาสตร์​ที่​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ได้​โปรด​ให้​จัด​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​เป็น​ฉบับ​อักษร​สยาม​ ​ชื่อ​ว่า​ ​พระ​ไตรปิฎก​จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร.ศ​.​ ​112​ ​(​2436​)​ ​อักษร​สยาม​ ​โดย​ได้​พระราชทาน​แก่​นานา​ประเทศ​ทั่ว​โลก​เมื่อ​ศตวรรษ​ที่​แล้ว​ ​

การ​จัด​พิมพ์​ต้นฉบับ​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​อักษร​โรมัน​ ​ฉบับ​มหา​สังคายนา​สากล​นานาชาติ​ ​พ.ศ​.​ 2500​ ​ชุด​ต้นแบบ​ ​ขนาด​ใหญ่​พิเศษ​ ​ได้​พิมพ์​เป็น​ครั้ง​แรก​โดย​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​เมื่อ​ ​พ.ศ​.​ ​2545​ ​พร้อม​ด้วย​ราย​ละเอียด​การ​ทำงาน 35​ ​รายการ​เป็น​นวัตกรรม​ต่างๆ​ ​ใน​โครงการ​ ​เป็น​คู่มือ​ประกอบ​เพื่อ​การ​ศึกษา​วิจัย​ต่อ​ไป​ ​นอกจาก​นี้​ยัง​มี​จดหมายเหตุ​ต่างๆ​  ​ได้แก่​ ​ต้นฉบับ​เอกสาร​การ​ตรวจ​ทาน​ ​4​ ​ชุด​ ​หรือ​จำนวน​ ​160​ ​เล่ม​ ​ประมาณ​ ​80,000 ​หน้า​ ​จดหมายเหตุ​​พระ​ไตรปิฎก​อิเล็กทรอนิกส์​ ​220​ ​เม​กะไบต์​ ​คลัง​วีดีทัศน์​จดหมายเหตุ​ดิจิทัล​กว่า​ ​500 ​ชั่วโมง​ ​หรือ​ ​6,500 กิกะ​ไบต์ ​ซึ่ง​ได้​บันทึก​งาน​โครงการ​ระหว่าง​ ​พ.ศ​.​ ​2542​-​2548 นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 ได้มีการบันทึกการออกเสียงปาฬิในระบบดิจิทัลรวมความยาว 3,052 ชั่วโมง หรือ 1.6 เทระไบต์ และบางส่วนได้จัดทำเป็นสารคดี พระไตรปิฎกคำสอนมีชีวิต ใน พ.ศ.​ 2562

ดู สถาบัน​สำคัญ​นานาชาติที่ได้รับพระราชทาน ​


พระราชทานเป็นปฐมฤกษ์ กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา
6 มีนาคม พ.ศ. 2548

​ พระราชทาน​แก่​ประธานาธิบดี​แห่ง​สาธารณรัฐ​สังคมนิยม​ประชาธิปไตย​ศรี​ลังกา​ ​(​ฯพณฯ​ ​จัน​ทริ​กา​ ​บันดา​รา​ไนย​เก​ ​กุมารา​ตุง​คะ​)​ ​ใน​ฐานะ​ที่​ศรีลังกา​เป็น​ประเทศ​ที่​จาร​พระ​ไตรปิฎก​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​โลก​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ทำเนียบ​ประธานาธิบดี​แห่ง​ศรี​ลังกา​ ​นครโคลัมโบ​ ​วัน​ที่​ ​6​ ​มีนาคม​ ​พ.ศ​.​ ​2548

​ พระราชทาน​แก่​ประธานตุลาการ​ศาล​รัฐธรรมนูญ​ ​​(​นาย​ผัน​ ​จันทร​ปาน​)​ ​สำหรับ​ประชาชน​ชาว​ไทย​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ศาล​รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย​ ​กรุงเทพมหานคร​ ​วัน​ที่​ ​15​ ​สิงหาคม​ ​พ.ศ​.​ ​2548​

​ พระราชทาน​แก่​อธิการบดี​มหาวิทยาลัย​อุป​ซา​ลา​ ​(​ศาสตราจารย์​ ​ซุน​ด์ค​วิสต์​)​ ​สำหรับ​ราช​อาณาจักร​สวีเดน​ ​ผู้​แทน​สถาบัน​ใน​โลก​ตะวัน​ตก​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​หอ​แห่ง​หนังสือ​ ​ห้อง​สมุด​คา​โร​ลี​นา​ ​เรดิ​วี​ว่า​ ​ราช​อาณาจักร​สวีเดน​ ​วัน​ที่​ ​13​ ​กันยายน​ ​พ.ศ​.​ 2548

 

ประดิษฐาน​พระ​ไตรปิฎก​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​

​หลัง​จาก​การ​พระราชทาน​เป็น​ปฐมฤกษ์​ ​พ.ศ​.​ ​2548 และ​เพื่อ​ให้​สาธารณชน​ชาว​ไทย​ได้​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​เผย​แผ่​พระ​ธัมม​ทาน​ ​จึง​ได้​มี​การ​จัด​พิธี​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ใน​ประเทศไทย​ก่อน​การ​อัญเชิญ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ไป​ประดิษฐาน​ใน​นานา​ประเทศ​ ​เช่น​ ​พ.ศ​.​ ​2550 สถาน​เอกอัครราชทูต​ไทย​ ​ณ​ ​กรุง​นิวเด​ลี​ ​ได้​ขอ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ ​สำหรับ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​สาธารณรัฐ​อินเดีย​ ​สมเด็จ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​องค์​ประธาน​กิตติมศักดิ์ฯ​ ​ได้​โปรด​เกล้าฯ​ ​ให้​สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี​ ​เสด็จ​อัญเชิญ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ไป​พระราชทาน​แก่​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​ต่าง​ประเทศ​และ​ผู้​อุปถัมภ์พระ​ไตรปิฎก​ ​ณ​ ​กระทรวง​การ​ต่าง​ประเทศ​ ​ใน​วัน​ที่​ ​6​ ​มีนาคม​ ​(​วันพระ​ราช​ทานพ​ระ​ไตร​ปิฎก​สากล​ชุด​ปฐมฤกษ์​)​ ​สำหรับ​อัญเชิญ​ไป​ประดิษฐาน​ใน​สาธารณรัฐ​อินเดีย​ต่อ​ไป​ ​ซึ่ง​ต่อ​มา​ผู้​อุปถัมภ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ได้​อัญเชิญ​พระ​ไตร​ปิฎก​ชุดนี้ไป​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​สมาคม​มหา​โพธิ​แห่ง​ประเทศ​อินเดีย​ ​พุทธ​ค​ยา​ ​เมื่อ​วัน​ที่​ ​12​ ​กุมภาพันธ์​ ​พ.ศ​.​ 2550​ ​เป็นต้น​ ​


สมาคมมหาโพธิ พุทธคยา พ.ศ. 2551

นโยบาย​​พระราชทาน​ฉบับอักษร​โรมัน​

​ใน​เอกสาร​การ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​จาก​เลขานุการ​ใน​พระองค์​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​พ.ศ​.​ ​2549​ ​ได้​ทรง​กำหนด​นโยบาย​สำหรับ​การ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​เป็น​ลำดับ​แรก​แก่​สถาบัน​สำคัญ​นานาชาติ​ทั่ว​โลก​ที่​ได้​ขอ​พระราชทาน​มา​อย่าง​เป็น​ทางการ​ ​และ​จะ​พระราชทาน​แก่​สถาบัน​ที่​ส่ง​เสริม​การ​ศึกษา​ฐาน​ปัญญา​เพื่อ​สันติสุข​ ​หรือ​เป็น​สถาบัน​ที่​เคย​ได้​รับ​พระราชทาน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ​ ​จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร.ศ​.​ ​112​ ​(​2436​)​ ​อักษร​สยาม​ ​ใน​อดีต​และ​ปัจจุบัน​ยัง​คง​รักษา​ไว้​อย่าง​ดี​


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

​นับ​แต่​นั้น​เป็นต้น​มา​ ​ผู้​อุปถัมภ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ได้​อัญเชิญ​พระ​ไตรปิฎกสากล​ชุด​พระราชทาน​ไป​ประดิษฐาน​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​ ​ณ​ ​สถาบัน​ต่างๆ​ ​เช่น​ ​ประธาน​ศาล​รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย​ได้​อัญเชิญ​ไป​​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ศาล​ยุติธรรม​ระหว่าง​ประเทศ​ กรุง​เฮก​ ​ราช​อาณาจักร​เนเธอร์แลนด์​ ​(​2550​)​ ​ประธาน​ศาล​ฎีกา​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย​อัญเชิญ​ไป​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ศาล​ฎีกา​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย​ ​(​2550​)​ ​สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนขัตติยราชนารี ​ทรง​อัญเชิญ​ไป​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​สถาบัน​ต่างๆ​ ​รวม​ ​18​ ​สถาบันใน​ประเทศ​ญี่ปุ่น​ ​(​2551​) 


พุทธสถานชิเตนโนจิ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น

 

เนื่องด้วยพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม เป็นต้นฉบับที่ใช้อ้างอิงในการสร้างฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) รวมชุด 80 เล่ม ในปี พ.ศ. 2560 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลนำโดยท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ได้เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และชุด ส.ก. แด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ประธานการสร้างฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 และองค์พระบรมราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

พ.ศ. 2562 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ปรับปรุงการพิมพ์ใหม่และทำดัชนีคำ (Index) เทียบกับสัททะอักขะระสากล (IPA) โดยอ้างอิงอักขรวิธีการออกเสียงปาฬิกับต้นฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งมีการจัดพิมพ์สัททสัญลักษณ์แสดงการแบ่งพยางค์เสียงสะกดแยกออกจากเสียงกล้ำอย่างเด็ดขาดและชัดเจน (ดู ตัวอย่างการแบ่งพยางค์) มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้มอบเป็นพระธัมมทานแก่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (The British Library) ณ กรุงลอนดอน ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ ระหว่าง พ.ศ. 2562-2563 ตามที่ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติอังกฤษได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์อย่างเป็นทางการผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทย


ถวายฉบับอักษรโรมัน แด่สมเด็จพระสังฆราชพม่า


ฉบับอักษรโรมัน สำหรับศาลฎีกา พ.ศ. 2558

ปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักขะระโรมัน เป็นพระธัมมทานในสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์โครงการพระไตรปิฎกสากล จำนวนไม่น้อยกว่า 160 สถาบัน ใน 25 ประเทศทั่วโลก


มูลนิธิฯ ถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะ
ซึ่งอ้างอิงจากพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน

 

 

พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน เล่ม 1 by Dhamma Society on Scribd