สัททสัญลักษณ์การแบ่งพยางค์

นวัตกรรมภูมิปัญญาจากอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ

สะ-กยะ..  หรือ  สัก-กยะ..
sa-kya..   or    sak-kya..

สัททสัญลักษณ์ (สัททะ = เสียง; สัญลักษณ์ = เครื่องหมาย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า phonetic symbol ดูรูปอักษรสยาม) เป็นหลักการทางภาษาศาสตร์ที่ใช้เครื่องหมายในการเขียนเสียงในภาษาต่างๆ 

อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ได้ริเริ่มการใช้สัททสัญลักษณ์ กล่าวคือ เครื่องหมายเขียนเสียงปาฬิถึง 3 เครื่องหมายในฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้ถูกยอกเลิกโดยเปลี่ยนใน พ.ศ. 2470 เป็น เครื่องหมายจุดพินทุบอด เพียงหนึ่งเครื่องหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปผู้ที่ไม่รู้ไวยากรณ์เกิดความสับสน ได้แก่ อ่านพยางค์เสียงที่ไม่สะกด เป็นเสียงสะกด เป็นต้น

เช่น อักษรสยาม (ดูรูปอักษรสยาม) อ่านว่า [สะ-กยะ-ปุต..]
     สังเกต สะ เป็น เสียงไม่สะกด

แต่ปัจจุบันมักอ่านกันว่า [สัก-กยะ-ปุต..]
     สังเกต สัก เป็นเสียงสะกด และ พยัญชนะ-ก กลายเป็น พยัญชนะต้นของพยางค์ที่ตามมา ทำให้ผู้ที่ฟังแต่เสียงอ่านโดยไม่เห็นรูปศัพท์เข้าใจว่า มีรูปพยัญชนะ-ก 2 ตัว ซึ่งไม่มีรูปศัพท์นี้ในพระไตรปิฎก

อักขรวิธีสยามปาฬิ จึงเป็นวิธีเขียนเสียงที่มีศักยภาพในทางภาษาศาสตร์ เพราะเป็นการเขียนด้วยสัททสัญลักษณ์เป็นครั้งแรกของโลก คือ มีระบบการเขียนเสียงและออกเสียงที่แน่นอนเพราะออกเสียงตามสัญญลักษณ์ ได้แก่ 

1. ไม้ยามักการ ออกเสียงกล้ำ กยะ- 

2. ไม้วัญฌการ ออกเสียงสะกด ปุต

3. ไม้อะ (อั) ซึ่งมีรูปคล้ายไม้หันอากาศในภาษาไทย แสดงเสียงสระ-อะ หรือ เสียงที่ไม่สะกด สั..

ดูเพิ่มเติม เสียงสะกด และ เสียงกล้ำ
https://www.sajjhaya.org/node/56

เอกลักษณ์ของ ไม้อะ คือ สระ-อะ ที่แสดงรูป สระ-อะ ส่วน กย กล้ำกันจึงไม่มีเสียง สระ-อะ มาคั่นระหว่าง กับ  แต่มีเสียง สระ-อะ ที่ท้ายพยางค์  ทีไม่แสดงรูป (ะ) ดังนั้นในทางภาษาศาสตร์รูป ไม้-อะ บนพยัญชนะ ถือว่าเป็นสัททสัญลักษณ์ของ เสียงคะรุ (garu) ด้วย ดังที่ไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 ระบุให้ สระเสียงสั้นที่อยู่หน้าพยางค์เสียงกล้ำต้องออกเสียงให้ลากยาว คือ เสียงที่นานขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้ทั้งสองพยางค์เคลื่อนเข้ามาติดกัน ทำให้พยางค์_สะ- เคลื่อนมาผสมกับพยางค์_กยะ- กลายเป็น สักกย.. [สัก-กยะ..] ซึ่งเป็นรูปเสียงที่ไม่มีในพระไตรปิฎก

ด้วยหลักฐานอักขรวิธีทางภาษาที่สามารถพิสูจน์ได้นี้ ทำให้นักภาษาศาสตร์ได้นำเสนอในทางวิชาการว่า ไม้อะ ไม้ยามักการ และไม้วัญฌการ เป็นเครื่องหมายที่แสดงการแบ่งพยางค์ในการพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ หรือเรียกว่า สัททสัญลักษณ์การแบ่งพยางค์ (phonetic symbol in syllabic segmentation) อันเป็นนวัตกรรมการเขียนปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกที่ไม่เคยมีในอดีต เช่น การเขียนซ้อนอักษรของอักขรวิธีขอมโบราณก็ไม่มีเครื่องหมายนี้ หรือ แม้แต่ในอักขรวิธีอักษรโรมันในปัจจุบันของชาติตะวันตก ก็ไม่มีแนวคิดสัททสัญลักษณ์การแบ่งพยางค์ดังกล่าวเช่นกัน 

ตัวอย่างเช่น อักษรโรมันเขียนว่า sakyaputta ซึ่งหากมีเครื่องหมายแบ่งพยางค์จะอ่านได้ง่ายว่า sa-kya-put-ta เป็นต้น

อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9

เสียงปาฬิภาสา สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9
https://www.sajjhaya.org/node/34

ด้วยเหตุนี้ เพื่อยกย่องนวัตกรรมการเขียน เสียง-อะ ในพระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. ดังกล่าว ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ จึงบัญญัติศัพท์เรียกอักขรวิธีเขียนเสียงปาฬิที่เป็นเอกลักษณ์นี้ว่า "อักขรวิธี ไม้อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ" อ้างอิงวิธีการออกเสียงปาฬิจากอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ โดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9 ซึ่งทำให้สามารถพัฒนาต่อเป็น อักขรวิธีละหุคะรุ หรือเรียกเป็นศัพท์บัญญัติว่า "อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ" ในระบบดิจิทัลได้ อ้างอิงสูตรสกัดคณิตศาสตร์การแบ่งพยางค์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิต

สัททสัญลักษณ์ปาฬิ ในระบบดิจิทัล 

ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์
กับฉบับ จ.ป.ร.ในหอสมุดมหาวิทยาลัยออสโล

อักขรวิธีวิจินตน์
https://www.sajjhaya.org/node/35

สูตรสกัดชิดชนก
https://www.sajjhaya.org/node/97