Unit Testing การแบ่งพยางค์โดยฐานข้อมูล

โครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะได้ตรวจสอบกระบวนการแสดงผลดิจิทัลตามหลักการในทางวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล และได้แจ้งผลงานเป็นทะเบียนเอกสาร ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่

1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สยาม-ปาฬิ (Syām Pāḷi Computer Source Code)   

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สยาม-ปาฬิ ลิขสิทธิ์เลขที่ 308769 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้ประดิษฐ์เป็นอักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จากแนวคิดสิทธิบัตร เลขที่ 46390 ซึ่งเป็นโปรแกรมการตัดคำปาฬิ-อักขะระสยาม เป็นพยางค์ (Syām Pāḷi Syllable e-Segmenting)

2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไทย-ปาฬิ (Thai Pāḷi Computer Source Code)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไทย-ปาฬิ ลิขสิทธิ์เลขที่ 305129 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้ประดิษฐ์ เป็น อักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ถอดเสียงมาจากอักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Syām Pāḷi to Thai Pāḷi Mapping) จากแนวคิดสิทธิบัตรเลขที่ 46390 ทำให้สามารถแสดงรูปเสียงคะรุด้วยสีเข้มทึบ และรูปเสียงละหุด้วยสีเบาโปร่ง ประดิษฐ์เป็นฟอนต์ (Font) หรือ อักขะระการพิมพ์ดิจิทัล  (Digital Typography) เป็นครั้งแรก ซึ่งแม่นตรงตามกฎไวยากรณ์กัจจายนะ-ปาฬิ 

3. การตรวจทานอัตโนมัติ (Automated Pāḷi Unit Testing)

กระบวนการตรวจทานในข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น ใช้วิธีอัตโนมัติระดับหน่วยซอร์สโค้ดทำให้สามารถยืนยันได้ว่าการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสัชฌายะ ซึ่งพิมพ์คู่ขนานระหว่างอักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ กับอักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ มีความถูกต้องแม่นตรงเป็นชุดสากล 40 เล่ม พ.ศ. 2559 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ ซึ่งสำเร็จได้ในรัชกาลปัจจุบัน