Roman Script & Russian Phonetic Alphabet

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ 
ชุดอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ พ.ศ. 2562 

โครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19 ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักขะระโรมัน จากต้นฉบับมหาสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 สำเร็จเป็นฉบับสากล ชุดสมบูรณ์ ชุด 40 เล่ม เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 และต่อมาได้พัฒนาเป็น ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) พ.ศ. 2559 (The World Phonetic Tipiṭaka : Sajjhāya Recitation Edition 2016) เพื่อการอ่านออกเสียงตามกฎไวยากรณ์ เช่น กัจจายะนะ-ปาฬิ ซึ่งได้มีการอ้างอิงไว้ในการจัดพิมพ์ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ากรุงสยาม ได้พระราชทานเป็นพระธัมมทานไปทั่วโลกเมื่อศตวรรษที่แล้ว

เนื่องในวาระที่สหพันธรัฐรัสเซียได้ค้นพบพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม ชุดประวัติศาสตร์ดังกล่าว ในหอสมุดที่สำคัญต่างๆ ในรัสเซีย และได้มีหนังสือเป็นทางการจากกระทรวงวัฒนธรรมรัสเซียผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทยขอความอนุเคราะห์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (40 เล่ม) และ ชุด ส.ก. (40 เล่ม) รวมชุด 80 เล่ม ที่จัดพิมพ์ใหม่ตามต้นฉบับ จ.ป.ร. ดังกล่าว เป็นพระธัมมทานจากมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์การพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ในอดีต มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลจึงได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และจัดพิมพ์เป็นฉบับรัสเซียขึ้นใหม่เป็นชุดสมบูรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการค้นพบพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ชุดที่สำคัญครั้งนี้ โดยโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ทำการปริวรรตเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกตามหลักวิชาการด้านภาษาศาสตร์และเรียงพิมพ์เป็นฐานข้อมูลในทางเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ ถอดอักขะระ (Alphabetic Transliteration) และ ถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) จัดพิมพ์เป็นฉบับอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ในปัจจุบัน เรียกว่า พระไตรปิฎกสากล ชุดอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ชุด 40 เล่ม (The World Tipiṭaka in Russian Script-Pāḷi, 40 Vols)

การจัดพิมพ์ฉบับสัชฌายะ เป็นการเรียงพิมพ์คู่ขนานระหว่าง อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ กับ ชุดอักขะระต่างๆ โดยเฉพาะ สัททะอักขะระไต-ปาฬิ (Tai Phonetic Alphabet-Pāḷi) ซึ่งพัฒนาจากอักขะระในภาษาไทย โดยมุ่งเน้นการเขียนเสียงพยัญชนะที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการอ่านออกเสียงปาฬิ ตามจังหวะเสียงละหุ และเสียงคะรุ ที่ระบุไว้ในหลักการออกเสียง พยัญชนะกุสละ 10 ประการ ที่แม่นตรงกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ที่เป็นสากล การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลด้วยอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ อักขะระไทย จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมทางปัญญาของไทยและรัสเซีย 


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้ากรุงสยาม
พระราชทานพระไตรปิฎกแก่หอสมุดในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ 2

 

อักขะระสยาม-ปาฬิ ฉบับ​ จ.ป.ร.​ พ.ศ. 2436

อักขะระสยาม-ปาฬิ และ อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ​
ที่สร้างใหม่ พ.ศ. 2562

รายละเอียดของหลักการและข้อสังเกตในการจัดสร้างพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ  พ.ศ. 2562 มีดังต่อไปนี้ :

1. ภาษาและอักษรรัสเซีย

ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่เขียนด้วยรูปพยัญชนะและรูปสระ มีหลักการเหมือนการเขียนรูปพยัญชนะและรูปสระในภาษาไทย จึงไม่เป็นการยากเหมือนภาษาที่เขียนเป็นรูปภาพ เช่น ภาษาจีน ดังนั้นจึงไม่เป็นอุปสรรคในการถอดเสียงปาฬิเพื่อพิมพ์เป็นอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ  โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงทำการถอดเสียงปาฬิตามหลักวิชาการด้านภาษาศาสตร์เพื่อจัดพิมพ์เป็นชุดอักขะระปาฬิ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษารัสเซียจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน 

อักษรรัสเซีย

อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ สังเกตเครื่องหมายสระสั้น ( ^ ), เสียงพ่นลม (  x  ), และเสียงกล้ำ (   ̮  )

 

2. รูปเสียงสระในภาษารัสเซีย
    และการบัญญัติรูปอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

ผู้เชี่ยวชาญทางภาษารัสเซียชาวไทยจากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ได้ให้คำแนะนำโครงการพระไตรปิฎกสากลว่า เห็นชอบกับหลักการที่ไม่พึงคำนึงการออกเสียงสระรัสเซียในรายละเอียดปลีกย่อย เพราะเสียงสระในภาษารัสเซียจะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งของพยางค์ในแต่ละคำ เช่น เสียง สระ-โอ ที่ไม่เน้นการออกเสียง (non-accent) จะออกเสียง สระ-อะ เป็นต้น การถอดเสียงจึงสมควรบัญญัติรูปเขียนอักขะระรัสเซีย-ปาฬิขึ้นใหม่ให้ชัดเจน

ดังนั้นในการเขียนเสียงปาฬิด้วยสระเสียงยาวในอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ จะใช้รูปสระของอักษรรัสเซียที่มีอยู่เดิมแล้ว คือ  a  [อา], и  [อี], และ у  [อู] ส่วนสระเสียงสั้น [อะ]  [อิ]  [อุ] ใน อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ที่บัญญัติรูปพิมพ์ขึ้นใหม่จะใช้สัญลักษณ์เครื่องหมายหมวก ( ^ ) (circumflex) กำกับสระเสียงยาวดังกล่าว เพื่อให้ชาวรัสเซียส่วนใหญ่เข้าใจได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่มีเสียงสั้น (ดูตารางสระปาฬิด้านล่าง) 

สระเสียงยาว ปาฬิภาสา

 

สระเสียงสั้น ปาฬิภาสา

 

สังเกต เครื่องหมายหมวก ( ^ ) บนสระเสียงสั้น
ในอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

 

สำหรับรูปสระเสียงยาว (ทีฆะสระ) เอ และ โอ ใช้สัญลักษณ์ของเสียงสระยาวในภาษารัสเซีย คือ э [เอ], และ o [โอ] เนื่องจาก สระ-เอ ที่เขียนด้วยรูป e ในภาษารัสเซียมีการกลายเสียงเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ส่วน э (เอ) เป็นเสียงสระแท้ เสียงเดียว ที่ใกล้เคียงกับ สระ-เอ ในปาฬิภาสาที่สุด จึงตกลงเลือกเครื่องหมายนี้เป็นเสียง สระ-เอ ในพระไตรปิฎกอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

อักขะระรัสเซีย-ปาฬิชุดนี้เทียบตามเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกซึ่งเน้นการออกเสียงสระสั้น และสระยาว พร้อมด้วยเสียงละหุ และเสียงคะรุ เท่านั้น จึงไม่มีการเน้นและไม่เน้นเสียงสระสั้นและสระยาวเหมือนในภาษารัสเซีย

ในการถอดเสียงเขียนด้วยสัททะอักขะระไต-ปาฬิ นั้น สระเสียงยาวที่มีตัวสะกดจะเขียนไม้ไต่คู้บนพยัญชนะที่ประกอบสระเสียงยาวตัวนั้น เพื่อแสดงว่าสระเสียงยาวตัวนั้นต้องออกเสียงเร็ว เช่น [ซว็าก..] [เม็ต..] เป็นต้น

3. เสียงพ่นลม

เสียงปาฬิเป็นเสียงที่มีลักษณะพ่นลม ธะนิตะ (Aspirated) เช่น เสียง ที่เกิดจากฐานเพดานอ่อน กัณฐะชะ (ในทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า Velar) สัททะอักขะระไต-ปาฬิ ใช้รูป  ซึ่งเป็นพยัญชนะที่มีเสียงพ่นลมในภาษาไทย เป็นเสียงสามัญ หรือเทียบกับ สัททะอักขะระโรมัน เขียนว่า kh แต่พยัญชนะรัสเซียมิได้มีลักษณะของการออกเสียงพ่นลมดังกล่าว ดังนั้นเพื่อสร้างรูปอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ สำหรับเสียงพ่นลมในพระไตรปิฎกจึงใช้สัญลักษณ์ x (เสียง ฮ ซึ่งเป็นเสียงพ่นลมในภาษาไทย และเป็นเสียงสามัญ) แสดงเสียงพ่นลมกำกับเหนือพยัญชนะที่เกิดเสียงภายในปาก โดยพิมพ์ยกกำลัง (Superscript) เช่น  кх  เพื่อทำให้ผู้ที่คุ้นเคยกับภาษารัสเซียรู้ว่าอักขะระรัสเซีย-ปาฬิตัวนี้เป็นสัญลักษณ์พิเศษต้องออกเสียงพ่นลมตามที่บัญญัติใหม่ในตารางการถอดเสียงปาฬิ เสียงพ่นลม และเสียงไม่พ่นลม เป็น 2 หลักการที่สำคัญในเรื่อง พยัญชนะกุสะละ 10 ข้อ ในพระวินัยปิฎก ซึ่งหากออกเสียงไม่แม่นตรงในการทำสังฆกัมม์สำคัญ ภิกขุย่อมมีความผิดต้องอาบัติ และสังฆกัมม์ย่อมเป็นโมฆะ 

 

การเขียนเสียงปาฬิ เพื่อแสดงลักษณะเสียงพ่นลม

 

4. เสียงสามัญ

พยัญชนะในภาษารัสเซียเป็นเสียงสามัญที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ เพราะเป็นเสียงของภาษาในตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นเสียงตระกูลภาษาเดียวกับเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกด้วย ในกรณีนี้ถ้าถอดเสียงปาฬิและเขียนด้วยอักขะระรัสเซียอย่างถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์ ชุดอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ (Russian Alphabet-Pāḷi) ที่สร้างขึ้นใหม่จะไม่มีปัญหาการแทรกแซงทางเสียง (Linguestic Interference) เหมือนอักขะระไทยที่ใช้พิมพ์พระไตรปิฎกในอดีต เช่น ทุติยมฺปิ รูป -ปาฬิจะต้องออกเสียงคล้าย  ว่า ดุ (du) ตามที่อักขะระโรมัน เขียนว่า dutiyampi  ด้วยเหตุนี้อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ที่สร้างขึ้นใหม่จึงสามารถเขียนเสียงปาฬิได้แม่นตรงได้โดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ (ดูรูปด้านล่าง)

อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ เทียบกับ อักขะระต่างๆ ที่เป็นเสียงสามัญ

 

ในการถอดเสียงปาฬิเป็นชุดสัททะอักขะระ โครงการพระไตรปิฎกสากลได้สร้างชุด สัททะอักขะระไต-ปาฬิ ซึ่งใช้รูปพยัญชนะไทยที่เป็นเสียงสามัญ คือ เมื่อประกอบกับสระแล้วไม่ออกเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ ดังนั้นจึงใช้สัททสัญลักษณ์ (h) แทน และ (s) แทน เพื่อมิให้ผู้ที่คุ้นกับอักขะระไทย ออกเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์จัตวา เป็นต้น

 

อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ / สัททะอักขะระไต-ปาฬิ 
แสดง ชุดสัททะอักขะระไต-ปาฬิ ซึ่งเขียนเสียงสามัญ

 

สำหรับเสียงพ่นลมแสดงการพิมพ์ยกกำลัง เหมือนกับอักขะระโรมันพิมพ์ยกกำลัง h ซึ่งเมื่อนำชุดอักขะระการพิมพ์คู่ขนานชุดนี้พิมพ์ประกอบโน้ตเสียงปาฬิฉบับสัชฌายะในชุดโน้ตเสียงปาฬิ พ.ศ. 2559 แล้ว ย่อมทำให้ง่ายสำหรับยุวชนรุ่นใหม่ในนานาประเทศที่คุ้นเคยกับวิชาการดุริยางคศาสตร์ สามารถฝึกการออกเสียงโดยปราศจากการแทรกแซงทางเสียงในอดีต ซึ่งมักเกิดจากเสียงวรรณยุกต์ที่ติดมากับเสียงในภาษานั้นๆ เช่น เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย เป็นต้น 

5. อักขรวิธี

อักขรวิธีเขียนภาษารัสเซียในปัจจุบันไม่มีการเขียนรูปสระไว้บนและล่างพยัญชนะ แต่เขียนรูปสระไว้หน้าและหลังพยัญชนะเสมอ ทำให้ง่ายในการอ่านแบบสากล ต่างจากอักขรวิธีภาษาไทยที่เขียนรูปสระไว้บน ล่าง หน้าและหลังพยัญชนะ ในกรณีนี้อักขรวิธีรัสเซียทำให้แบ่งพยางค์ได้ง่ายและสามารถเขียนประกอบกับโน้ตเสียงปาฬิ ในชุดโน้ตเสียงปาฬิ พระไตรปิฎกสัชฌายะ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป 

โน้ตเสียงปาฬิ  สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ / สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ พ.ศ. 2559
เขียนบนโน้ตเส้นเดี่ยว แสดงการออกเสียงสามัญ

โน้ตเสียงปาฬิ  อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ / สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ พ.ศ. 2562
เขียนบนโน้ตเส้นเดี่ยว แสดงการออกเสียงสามัญ

 

 ดูต้นฉบับ โน้ตเสียงปาฬิ พระไตรปิฎกสัชฌายะ พ.ศ. 2559

 

6. เสียงนาสิก

เสียงพยัญชนะปาฬิตัวสุดท้ายของแต่ละวัคค์จำนวน 5 วัคค์ คือ , ñ, , n, m จากพยัญชนะปาฬิทั้งหมด 33 ตัว เป็นเสียงที่ไวยากรณ์ปาฬิระบุให้ออกเสียงขึ้นจมูก หรือที่ในทางวิชาการภาษาศาสตร์เรียกว่า เสียงนาสิก (Nasalized) ในการสร้างอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ เพื่อกำหนดให้ออกเสียงดังกล่าว จะใส่สัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติมประกอบพยัญชนะปาฬิ เช่น  н   н̃    н̣   н   м   ซึ่งสัญลักษณ์ที่เขียนบนและใต้อักขะระรัสเซียเหล่านี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบอักขะระโรมันที่แพร่หลายของชาวตะวันตก

7. เสียงนิคคะหิต

เสียงที่เกิดขึ้นก้องในจมูกล้วนๆ ซึ่งไวยากรณ์ปาฬิ เรียกว่า นิคคะหีตะ (Niggahīta) หรือ เสียงนิคคะหิตใช้รูปสัญลักษณ์พินทุโปร่ง (  ํ ) [อังํ] พิมพ์เหนือพยัญชนะนิคคะหิตที่ประกอบกับสระ-อะ, สระ-อิ, สระ-อุ ออกเสียงว่า อังํ,  อิงํ,  อุงํ หรือ อักขะระโรมัน เขียนว่า mํ ออกเสียงว่า amํ, imํ, umํ ในการสร้างอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ใช้รูปพินทุโปร่งดังกล่าวเขียนเหนือพยัญชนะ н คือ н̊ 

เสียงนิคคะหิต​ ในอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

8. ฉบับสัชฌายะ

การพิมพ์พระไตรปิฎกสากลในปัจจุบันมุ่งเน้นตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ เพื่อส่งเสริมการออกเสียงให้แม่นตรง ด้วยเหตุนี้พระไตรปิฎกรัสเซีย จึงจัดพิมพ์อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ สัททะอักขะระ-ปาฬิ ในโครงการพระไตรปิฎกสากล เรียกการจัดพิมพ์เสียงปาฬิชุดนี้ว่า ฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Pāḷi Phonetic Edittion) ดังนั้นเพื่อให้นักวิชาการชาวรัสเซียที่คุ้นเคยกับพระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. อักขะระสยาม-ปาฬิ พ.ศ. 2436 ที่เก็บอยู่ในหอสมุดต่างๆ ได้ศึกษาต่อยอดในด้านการออกเสียง โครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2562 จึงเรียงพิมพ์ อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็นชุดพิเศษตามรอยประวัติศาสตร์ในอดีต และอีก 2 ชุดคือจัดพิมพ์ อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ สัททะอักขะระไต-ปาฬิ และ อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ ตามหลักวิชาการภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน 

นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์สีเบาโปร่งและเข้มทึบในอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ซึ่งเรียกว่า ชุด สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ (Russian Phonetic Alphabet-Pāḷi) ตามหลักวิชาการภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นในการออกเสียงสำหรับชาวรัสเซีย 

ต้นฉบับสัชฌายะ อักขะระสยาม-ปาฬิ  ถอดเสียงเป็น อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
ซึ่งทำให้สามารถถอดเสียงเป็นอักขะระอื่นๆ ได้ (ดูสัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ ด้านล่าง)
 

ฉบับสัชฌายะ สำหรับนักวิชาการ พิมพ์ อักขะระโรมัน-ปาฬิ คู่ขนาน สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ 
แสดง เสียงละหุ (เร็ว) พิมพ์สีเบาโปร่ง เสียงคะรุ (นาน) พิมพ์สีเข้มทึบ ในสัททะอักขะระโรมัน

 

อักขะระสยาม-ปาฬิ / อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

จาก สัททสัญลักษณ์ ทางภาษาศาสตร์ สู่ โน้ตเสียง-ปาฬิ ทางดุริยางคศาสตร์

โน้ตเสียง-ปาฬิ / อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ
แสดง เสียงละหุ (เร็ว) เขียนด้วยโน้ตหัวดำ 1 มาตรา  เสียงคะรุ (นาน) โน้ตหัวขาว 2 มาตรา

 

สัททะอักขะระ-ปาฬิ ดังกล่าวสามารถสืบค้นและฟังการออกเสียงสัชฌายะดิจิทัล ได้ที่ sajjhaya streming

ด้วยเหตุนี้การพิมพ์ชุดอักขะระใหม่ชุดนี้ประกอบกับโน้ตเสียงเส้นเดี่ยว (One-Staff Line) ย่อมมีประสิทธิภาพเป็นสากลในระดับนานาชาติ

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ พ.ศ. 2562
เสียงละหุ (เร็ว) พิมพ์สีเบาโปร่ง เสียงคะรุ (นาน) พิมพ์สีเข้มทึบ ในสัททะอักขะระโรมัน

9. การออกเสียงไม่สะกด​ หน้าพยางค์เสียงกล้ำ​ 


สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ กับ โน้ตเสียง-ปาฬิ
สังเกต การพิมพ์สีเบาโปร่งของอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ

อักขรวิธี​ ไม้-อะ​ (อั)​ อักขะระสยาม​ ในพระไตรปิฎก​ จ.ป.ร.​ พ.ศ.​ 2436 เป็นการเขียนเสียงปาฬิ​ ตามหลักไวยากรณ์​กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602​ (Du-mhiGaru​ 602)​ ที่ระบุว่า​ สระเสียงสั้น​ ต้องออกเป็นเสียงคะรุ เช่น​ (สะ-)​ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ​ (กย-)​ (ดูรูปด้านบน) จะต้องออกเสียงคะรุ​ คือ​ลากเสียงยาวขึ้นเป็นสองมาตรา​ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้พยางค์ทั้งสอง คือ พยางค์เสียงไม่สะกด กับพยางค์เสียงกล้ำเคลื่อนเข้าหากัน​ และกลายเป็นเสียงสะกด​ เช่น​ (สัก-กยะ-ปุต-โต)​ ซึ่งมักเป็นการออกเสียงในปัจจุบัน​ซึ่งแสดงถึงการแบ่งพยางค์ที่ไม่ตรงกับเสียงและความหมายดั้งเดิมในพระไตรปิฎก 

ดังนั้น​เพื่อช่วยการออกเสียงให้แม่นตรงยิ่งขึ้น​ โดยเฉพาะการแบ่งพยางค์ตามไวยากรณ์ข้างต้น​ โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงได้พัฒนาการเขียนเสียงปาฬิ​ จากสัททะอักขะระในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์​ เป็นการเขียนด้วยโน้ตเสียงปาฬิในทางวิชาการด้านดุริยางคศาสตร์สากล​ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านจังหวะโน้ตพื้นฐานได้​  

การอ่านพระไตรปิฎกจากโน้ตเสียงเส้นเดี่ยว (One-Staff Line) ทำให้สามารถออกเสียงสามัญได้ชัดเจน คือ เสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ (monotone) ตามเสียงปาฬิที่เป็นเสียงในตระกูลภาษาอินโด-อารยัน ซึ่งไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ เป็นการแก้ปัญหาการออกเสียงของไทยที่มักเอาเสียงวรรณยุกต์ในพยัญชนะไทยไปปนแทรกกับเสียงดั้งเดิมในพระไตรปิฎก เช่น ไทยจะออกเสียงวรรณยุกต์จัตวาของคำว่า [โส] ใน [อิติปิ โส] เป็นต้น ซึ่งอักษรโรมันที่เขียนว่า  itipi so ชาวตะวันตกทั่วไปจะออกเสียงว่า [อิติปิ โซ]  โดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ของนวัตกรรมการสร้างโน้ตเสียงปาฬิที่ทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับไวยากรณ์ปาฬิก็สามารถออกเสียงได้ตรงตามไวยากรณ์ได้  สังเกต เสียงสระสั้น​ [สะ]​ / [sa]​ ในพยางค์แรก​ จะถูกกำกับด้วยโน้ตหัวขาว​ ที่มีจังหวะความยาว 2​ มาตรา​ และเขียนพร้อมเครื่องหมาย​ "เทนูโต" (tenuto) คือ​ ขีดใต้หัวโน้ต​ แสดงถึงการเน้นการออกเสียงโน้ตตัวนี้ว่า​ให้ยาวขึ้นเต็มอัตรา​ ซึ่งเป็นการริเริ่มการใช้โน้ตเสียงสากล​ หรือ​ สัททสัญลักษณ์​ (สัญลักษณ์ทางเสียง​)​ แสดงหลักไวยากรณ์กัจจายะนะ​-ปาฬิ ข้อ​ 602​ ข้างต้น

การพิมพ์โน้ตเสียงปาฬิ​ และอักขะระต่างๆ​ ดังกล่าว​ เป็นการจัดพิมพ์จากฐานข้อมูลพระไตรปิฎก​ ตามสิทธิบัตรการแบ่งพยางค์อัตโนมัติ Patent​ No.​ 46390​ ซึ่งทำให้แม่นตรงตามหลักการต่างๆ​ และปราศจากข้อผิดพลาดทางเทคนิคในการพิมพ์

ด้วยเหตุนี้​ ในการจัดพิมพ์อักขะระรัสเซีย​ และโน้ตเสียงปาฬิ-รัสเซีย ในชุดพระไตรปิฎกสากล​ ชุดใหม่​ พ.ศ.​ 2562​ โครงการฯ​ จึงทำการแบ่งพยางค์ในอักขะระรัสเซียให้แยกออกชัดเจน​ เพื่อป้องกันปัญหาการแบ่งพยางค์ที่ไม่แม่นตรงกับไวยากรณ์ในอักขะระอื่นๆ​ ในอดีต

การออกเสียงที่ไม่แม่นตรงของสงฆ์​ในสังฆกัมม์สำคัญ​ในกัมมวาจา กล่าวคือ ไม่แม่นตรงตามหลักพยัญชนะกุสะละ​ 10 ย่อมมีความผิดเป็นอาบัติ และทำให้สังฆกัมม์เป็นโมฆะ (วินัยปิฎก ปริวารวัคค์ ข้อ 455 ฉบับสากล)

 

เสียงไม่สะกด​ หน้าพยางค์เสียงกล้ำ​ ในอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
ออกเสียงว่า สะ-กยะ​-ปุต-โต​  ไม่ใช่​  สัก-กยะ-ปุต-โต

10. ข้อสังเกต 

10.1 การออกเสียงปาฬิ สระเสียงยาว

ในไวยากรณ์รูปะสิทธิ ข้อ 5 : กล่าวว่า สระ-เอ เสียงยาว (ทีฆะสระ) เมื่อมีตัวสะกด ออกเสียงสั้น (ละหุ) เช่น  se + y  /  เส +  ออกเสียง  [เส็ย] ส่วน สระ-โอ เสียงยาว (ทีฆะสระ) เมื่อมีตัวสะกด ออกเสียงสั้น (ละหุพิเศษที่ไวยากรณ์กำหนด)  เช่น ko +  /  โก +  ออกเสียง  [โก็ณ] พระไตรปิฎกสัชฌายะเพื่อการออกเสียงพิมพ์สีเทา แสดงเสียงละหุ เสียง 1 มาตรา (ดูรูป โน้ต สีดำ 1 จังหวะ เร็ว 1 มาตรา) เป็นการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วย สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ คู่ขนานกับ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ เพื่อการเผยแผ่ในนานาประเทศให้แพร่หลาย

สระ-เอ เสียงยาว เมื่อมีตัวสะกด ต้องออกเสียงเร็ว [เส็ย]

 

สระ-โอ เสียงยาว เมื่อมีตัวสะกด ต้องออกเสียงเร็ว  [โก็ณ]

 

10.2 การออกเสียงสระสั้นในพยางค์สุดท้ายของบทที่ไวยากรณ์กำหนด

ในทำนองเดียวกัน พยางค์สระเสียงสั้น (รัสสะสระ) ที่ไวยากรณ์กำหนดเป็นเสียงคะรุพิเศษ (ดู ทุ-มหิคะรุ ข้อ 602 และ วุตโตทะยะ ข้อ 7) เช่น พยางค์สุดท้ายของบท คือ ลากเสียง อะ อิ อุ นานขึ้น ในฉบับสัชฌายะจะพิมพ์อักขะระสีเข้มทึบ และกำกับด้วยโน้ตเสียงตัวขาวมีขีดเทนูโต ความยาว 2 มาตรา

สระ-อิ เสียงสั้นท้ายบท [mi] เป็นเสียงคะรุ

โน้ตเสียงปาฬิ เป็นผลงานล่าสุดในโครงการพระไตรปิฎกสากล

 

ตัวอย่างเสียง

คำนำ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 

การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลในปี พ.ศ. 2562 นี้ อ้างอิงตามต้นฉบับสัชฌายะเพื่อการออกเสียง ชุด ภ.ป.ร. (ปาฬิภาสา) และชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) รวม 2 ชุด 80 เล่ม พ.ศ. 2559 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2555-2560 ได้นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงพระกรุณารับโครงการพระไตรปิฎกสากลไว้ในพระราชูปถัมภ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และต่อมาในปี 2559 ได้ทรงเป็นองค์ประธานการสร้างพระไตรปิฎกสัชฌายะ ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และยังโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เป็นผู้อัญเชิญไปน้อมถวายแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก พ.ศ. 2561 และองค์กรต่างๆ ที่เหมาะสม การพัฒนาปริวรรตจัดพิมพ์เป็นอักขะระต่างๆ ใน พ.ศ. 2562 เป็นการตามรอยประวัติศาสตร์การออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก ที่ริเริ่มการพิมพ์ด้วยสัททะอักขะระไว้ใน ฉบับ จ.ป.ร. ในรัชกาลที่ 5 เมื่อศตวรรษที่แล้ว

แม้ว่า อักขะระรัสเซีย เคยมีผู้นำเสนอเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นการเน้นเฉพาะรูปศัพท์ด้วยวิธีการถอดอักขะระ (Transliteration) โดยไม่คำนึงถึงเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก เช่น คำว่า เตน หรือที่อักขะระโรมันเขียนว่า tena [t̪eːn̪a] ถอดเป็นอักขะระรัสเซียว่า тена ทำให้ชาวรัสเซียทั่วไปอ่านตามอักขรวิธีภาษารัสเซียว่า เตีย-นา ซึ่งไม่ตรงกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ด้วยเหตุนี้ อักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ชุดนี้จึงสร้างขึ้นใหม่เพื่อมุ่งเน้นการถอดเสียงให้แม่นตรงโดยเฉพาะ (Pāḷi Transcription) ดังนั้นจึงถอดเสียงคำว่า เตน  [เต-นะ] เป็นอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ว่า [тэнâ]  [เต-นะ] ตามรายละเอียดการบัญญัติรูปเขียนที่ได้อธิบายไว้แล้วในคำนำ

ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรัญธร ชูทิม อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษารัสเซีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.รมย์ ภิรมนตรี อดีตผู้อำนวยการศูนย์รัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้คำแนะนำในการถอดเสียงปาฬิเป็นอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ พร้อมทั้งขอขอบคุณพันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค หัวหนัาคณะผู้ประดิษฐ์ สิทธิบัตร เลขที่ 46390 เรื่อง การแบ่งพยางค์คำปาฬิในโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ บันทึกเป็น อักขะระไตสยาม-ปาฬิ และสร้างชุดสัททะอักขะระ-ปาฬิ ต่างๆ เพื่อจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระรัสเซีย พ.ศ. 2562

โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) เป็นผลงานล่าสุดในการบูรณาการระหว่าง วิชาการด้านภาษาศาสตร์ กับ วิชาการด้านดุริยางคศาสตร์ ในการเขียนเสียงปาฬิ ฉบับสากล

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 

ประธาน
กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค 
ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

มิถุนายน พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการสร้างสรรค์ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ พ.ศ. 2562

1. การอ้างอิงอักขะระสยาม-ปาฬิ พระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 
โปรดให้จัดพิมพ์โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        พ.ศ. 2436

อนุรักษ์และจัดพิมพ์เป็นฉบับสากล
โดย มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
       พ.ศ. 2548

2. ถอดเสียงปาฬิ เป็นสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และ International Phonetic Alphabet (IPA)  
โดย อ.สิริ  เพ็ชรไชย ป.ธ.9, 
       ศ.กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์  (Ph.D., Linguistics, London), 
       พ.อ. (พิเศษ) สุรธัช  บุนนาค (Patent 46390)
            โครงการพระไตรปิฎกสากล
             พ.ศ. 2554

3. ​สร้างสรรค์โน้ตเสียงปาฬิ (ผลงานวิจัยดีเด่น พ.ศ. 2562)
โดย รศ.ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ
​       คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 
       พ.ศ. 2557-2558

4. ควบคุมการออกเสียงสัชฌายะและบันทึกในระบบดิจิทัล
โดย ศ.ดวงใจ ทิวทอง
​        คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 
        พ.ศ. 2558-2559

5. สร้างสรรค์โปรแกรม สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ ลิขสิทธิ์ เลขที่ 378472
โดย พ.อ. (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค 
        พ.ศ. 2562

6. สร้างฐานข้อมูลเสียงสัชฌายะ AI
โดย ปิยะพงศ์ รักพงษ์ไทย และคณะ 
       พ.ศ. 2559

7. ตรวจสอบ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
โดย ผศ.ศรัญธร ชูทิม และ ดร.รมย์ ภิรมนตรี 
       พ.ศ. 2562

8. ตรวจสอบทางภาษาด้วยผู้เชี่ยวชาญชาวรัสเซีย
โดย  รศ.ดร.โอลก้า ชีลีน่า 
        พ.ศ. 2562

9. เผยแผ่พระไตรปิฎกสากล สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
โดย ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา
       ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล 
       พ.ศ. 2562

 

น้อมรำลึกพระราชศรัทธาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ที่ทรงพระกรุณาสนับสนุนการสร้างพระไตรปิฎกสัชฌายะ และโน้ตเสียงปาฬิ ฉบับ ส.ก.

ปาฬิ-สยาม / ปาฬิ-คิรีลลิซา (รัสเซีย)

 

ปาฬิ-โรมัน / ปาฬิ-คิรีลลิซา (รัสเซีย)

 

ปาฬิ-คิรีลลิซา (รัสเซีย)

ปาฬิ-โรมัน / สัททะอักขะรัสเซีย

 


ปาฬิ-คิรีลลิซา (รัสเซีย) / สัททะอักขะระโรมัน

 

ปาฬิ-คิรีลลิซา (รัสเซีย) / โน้ตเสียงปาฬิ

 

 

1V Roman Russian Phonetic by Dhamma Society on Scribd