จปร. อนุรักษ์ดิจิทัล ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2563

โครงการพระไตรปิฎกสากล​ ​ได้​ทำการ​อนุรักษ์​ต้นฉบับ​พระ​ไตรปิฎก​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​อักษร​สยาม​ ​เป็น​สื่อ​ดิจิทัล​ด้วย​เทคโนโลยี​ทาง​ภาพ​ ​แต่ละ​หน้า​เก็บ​เป็น​จดหมายเหตุ​อิเล็กทรอนิกส์​ ​ระหว่าง​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2546​-​2547​ ​และ​ได้​เผยแผ่​เป็น​ข้อมูล​เบื้อง​ต้น​ใน​ระบบ​อินเทอร์เน็ต www.sajjhaya.org ​ซึ่งปัจจุบันดำเนินการโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตั้งแต่​ปี​ ​พ.ศ.​ ​2548​ ​

1699410927802

ดัง​นั้น​เพื่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​แพร่​หลาย​ยิ่ง​ขึ้น​ ​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​จึง​ได้​จัด​ทำ​โครงการ​ต่อ​เนื่อง​ขึ้น​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2550​ ​และ​จัด​พิมพ์​ ​“​ฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัล​”​ ​ชุด​นี้​ขึ้น​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2551​ ​ซึ่ง​นอกจาก​ได้​พิมพ์​ภาพถ่าย​จดหมายเหตุ​ดิจิทัล​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​รวม​ทั้ง​สิ้น​ ​16,248​ ​หน้า​แล้ว​ ​ยัง​ได้​มี​การนำ​ข้อมูล​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ ​(​World​ ​Tipiṭaka​ ​Data​ ​Centric​)​ ​มา​จัด​พิมพ์​ประกอบ​ ​เป็นครั้งแรก รวม​ ​7​ ​รายการ​ ​คือ​​ ​

1​.​ การปริวรรต​อักษร และ​การถอดเสียงเป็นสัท​ทอักษ​ร-ปาฬิ (Transliteration & Transcription) แสดงการปริวรรตอักษรในพระไตรปิฎกปาฬิ : จากอักษรสยาม-ปาฬิ เป็นอักษร​โรมัน-ปาฬิ (Transliteration of ​Pāḷi​ Script from Syām​-​script​ to ​​Roman​-​script​) และการถอดเสียงปาฬิภาสาเป็นสัททอักษรสา​กล​-ปาฬิ​ (​Transcription of Pāḷi​ Sound in International​ ​Phonetic​ ​Alphabet​-Pāḷi​)​ มี สระ 8 เสียง และพยัญชนะ 33 เสียง​​ รวม 41 เสียง โดยจัดพิมพ์ทุกหน้ารวม 16,248 หน้า ซึ่งพิมพ์เป็นแถวคู่กันทั้งหน้าซ้ายและขวาตามลำดับ

2​.​ ข้อมูลโครงสร้าง​พระ​ไตรปิฎกและชื่อตอน ​(​The​ ​World​ ​Tipiṭaka​ Structures and Titles ​in​ ​Roman​ Script​)​ ​แสดง​ภาพ​รวม​ที่มา​ของข้อมูลฉบับอักษร​สยาม​​เปรียบ​เทียบ​กับ​โครงสร้าง​ฉบับ​สากล​อักษร​โรมัน​ ​โดย​จัด​พิมพ์​ใต้ภาพถ่าย​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​ใน​ด้าน​ซ้าย​​ทุกหน้า รวม 16,248​ หน้า ​​ ​

​​3​.​ ​​​​ระบบรหัส​อ้างอิง​พระ​ไตรปิฎก​อิเล็กทรอนิกส์​ ​(​e​-​Tipiṭaka​ Quotation​ ​Number for Reference)​ ​แสดง​ระบบ​การสืบค้น​ข้อมูล​จากพระ​ไตรปิฎกอักษรสยามสู่ฉบับ​สากล​อักษร​โรมัน​ในเครือข่ายอิน​เทอร์เน็ต​ โดย​​อ้างอิง​ข้อมูล​​ในพระไตรปิฎกสากล รวม 118,280 ย่อหน้า​ ​ซึ่งสามารถนำไป​จัด​พิมพ์​เผยแผ่ในสื่อผสมต่างๆ ได้

​4​.​ ​​ตัวอย่าง​ข้อ​มูล​ปาฬิ​​ 2 ฉบับ และเทียบหน้าระหว่างอักษร​โรมัน​​กับอักษร​สยาม ​(Example​ ​of​ ​Pāḷi​ ​Tipiṭaka Parallel​ ​​Corpus​ ​in Siam​-​script and ​Roman​-​script​​)​ ​แสดง​การพิมพ์เสียง​ปาฬิภาสา​​​ โดยเปรียบเทียบกันระหว่าง​พระไตรปิฎกอักษร​สยามกับอักษร​โรมัน​ ทุกหน้า 16,248​ หน้า ​​โดย​พิมพ์​ข้อมูล​ใต้​ภาพ​ถ่ายในด้านขวาของภาพถ่ายพระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​ ​​​ ​​

​​5​.​ ​จดหมายเหตุภาพถ่ายดิจิทัลพระไตรปิฎกอักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ (Digital Preservation Edition) แสดงความสามารถในการสืบค้นจดหมายเหตุภาพดิจิทัล “พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรม ธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์” ด้วยเทคโนโลยีทางภาพแต่ละหน้า จำนวน 16,248 หน้า ซึ่งจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุในเครือข่ายอิน​เทอร์เน็ต

​​6​.​ ข้อมูล​ท้ายอรรถ ​(Endnotes​)​ ​แสดงรายละเอียดคำศัพท์และรูป​คำที่พิมพ์​ต่างกัน (Variant Readings) ระหว่าง​พระ​ไตรปิฎก​​อักษร​สยามกับอักษรโรมัน​ ทั้งหมด​จำนวน​ ​7,414​ ​รายการ​ ซึ่งเดิม​ได้​จัด​พิมพ์​เป็นส่วนหนึ่งใน​เชิงอรรถ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ซึ่งในฉบับอนุรักษ์นี้​ได้​จัด​พิมพ์​รวมกันไว้​ใน​ตอน​ท้าย​ของ​หนังสือ

​​7​.​ ​ดัชนี​​ศัพท์ ปาฬิภาสา-​อักษร​โรมัน​ ​(Index of ​Pāḷi Words in Roman script)​ ​แสดงจำนวนคำ​ศัพท์ ปาฬิ​ภาสา-อักษร​โรมัน ในพระไตรปิฎกสากล และชี้ตำแหน่งของศัพท์เหล่านั้นในพระไตรปิฎก ปาฬิภาสา-อักษรสยาม ฉบับ จปร. รวม 109,629 คำ เพื่อสะดวกในการค้นหาศัพท์ในฉบับ จปร.  โดย​จัด​พิมพ์​ไว้ใน​ตอน​ท้าย​ของ​หนังสือ​ และสามารถสืบค้นที่  Tipitaka Studies Reference ​​​​

ตัวอย่าง​การ​พิมพ์​ฉบับ​อนุรักษ์​ครั้ง​นี้​ ​นอกจาก​เป็นการ​เปิด​มิติ​ใหม่​ของ​สื่อ​ผสม​อิเล็กทรอนิกส์​สำหรับ​การ​จัด​พิมพ์​ที่​ทัน​สมัย​แล้ว​ ​ยัง​ได้​บูรณ​า​การ​วิธี​นำ​เสนอ​ข้อมูล​ของ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​และ​อักษร​โรมัน​ทั้ง​สอง​ฉบับ​ ​ซึ่ง​จะ​เป็น​ประโยชน์​โดยตรง​ใน​วงการ​วิชาการ​ ​โดย​เฉพาะ​ใน​สถาบัน​นานาชาติ​จำนวน​ไม่​น้อย​กว่า​ ​260​ ​สถาบัน​ ​ใน​ ​30​ ​ประเทศ​ทั่ว​โลก​ที่​ได้​รับ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​เมื่อ​ศตวรรษ​ที่​แล้ว

1699410932939

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นประธานการพิมพ์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2554 ชุด 40 เล่ม และได้เสด็จจาริกอัญเชิญไปพระราชทานถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งเมียนมาร์ พร้อมกับพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ซึ่งได้จัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นชุดสมบูรณ์ชุดแรก โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตามคำกราบบังคมทูลเชิญจากฝ่ายพม่า ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554