ปาฬิ-รัสเซีย

คำปรารภ

Pāḷi Roman / Pāḷi Russian Phonetics

ในอดีตไม่มีพระไตรปิฎกที่บันทึกปาฬิภาสาด้วยอักษรชาวรัสเซียเพราะเหตุใด ?

ปาฬิ-รัสเซีย

แต่ปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถสร้างพระไตรปิฎกสากลสำชาวรัสเซีย ที่เรียกว่า ฉบับปาฬิ-รัสเซีย เพราะเหตุใด ?

เพราะสามารถทำการปริวรรตอักษรเสียงปาฬิ ด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ และความรู้ในทางภาษาศาสตร์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. พระไตรปิฎกสากล
    
The World Tipiṭaka Edition

ปัจจุบันมีการศึกษาการถอดเสียงปาฬิแพร่หลายเป็นสากล ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนจากการศึกษาพระไตรปิฎกในด้านศาสนาและภาษาโบราณ เปิดเป็นมิติใหม่ในการศึกษาด้านวัฒนธรรมและสหวิชาการ

พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548

ในอดีต เสียงปาฬิ หรือ ปาฬิภาสา (Pāḷi หรือ Pāḷi Bhāsā คนไทยเรียกกันว่า ภาษาบาลี) บันทึกด้วยอักษรโบราณของชาติต่างๆ เช่น อักษรสิงหฬ อักษรขอม และอักษรสยาม โดยมุ่งเน้นศึกษากันแต่ในหมู่สงฆ์และนักวิชาการด้านภาษาโบราณ ดังนั้นการศึกษาปาฬิภาสาจึงจำกัดอยู่ในวงการศาสนาและวิชาการ 

ส่วนประชาชนทั่วไปที่มิได้ศึกษาไวยากรณ์ปาฬิในพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง ก็มักออกเสียงสวดปาฬิตามประเพณีที่ฟังตามๆ กันมาแต่โบราณ ซึ่งมักมีปัญหาของการออกเสียงปาฬิที่ผิดเพี้ยนไป ได้แก่การเอาเสียงในภาษาท้องถิ่นไปปนแทรกกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก เช่น เสียงปาฬิดั้งเดิมออกเสียงว่า [บะ] และ [ดะ] เพราะมีลักษณะเสียงไม่พ่นลม ว่า [บุด] แต่คนไทยกลับออกเสียงเป็นภาษาไทยว่า [พุท] คือ ออกเสียงว่า [พะ] และ ออกเสียงว่า [ทะ] เป็นเสียงพ่นลมในภาษาไทย ปัญหานี้ในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เรียกว่า การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ประชาชนทั่วไปออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกไม่แม่นตรงกับกฎไวยากรณ์มาเป็นเวลาช้านาน 

พ.ศ. 2548 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน (World Tipiṭaka in Roman-Script Edition) สำเร็จในประเทศไทยเป็นชุดสมบูรณ์ชุดแรก โดยอ้างอิงกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎกชุดแรกของโลก และต่อมา พ.ศ. 2554 โครงการพระไตรปิฎกสากลก็ได้ทำการอนุรักษ์ต้นฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยามดังกล่าว โดยจัดพิมพ์เป็นฉบับ จ.ป.ร. อนุรักษ์ดิจิทัลขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการศึกษาอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ กว้างขวางขึ้น เพราะเป็นพื้นฐานของการศึกษาเสียงปาฬิในด้านวิชาการภาษาศาสตร์ที่ล้ำยุคและเป็นสากล เช่น พบว่า อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ มีทั้งระบบการถอดอักขะระแบบกว้างๆ (Transliteration) เช่น การถอดเสียงจากจุดกำเนิดเสียงภายในคอไล่ออกมาตามลำดับจนถึงริมฝีปาก / k,  จ / c,  ฏ / , ต / t, ป / p และ การถอดเสียงปาฬิอย่างละเอียด (Pāḷi Phonetic Trascription) เช่น [บะ] / [ba] , [ดะ] / [da]  ซึ่งเป็นการถอดเสียงปาฬิเทียบกับปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ที่ชาวโลกสามารถอ่านออกเสียงได้ในระดับสากลนานาชาติ 

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436

นอกจากนี้อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ยังมีนวัตกรรมการเขียนเสียงสะกดและเสียงกล้ำ ด้วย สัททสัญลักษณ์ คือการใช้สัญลักษณ์แสดงการแบ่งพยางค์ระหว่างเสียงสะกด เช่น ท์ ในคำว่า พุท์ธํ (ไม้วัญฌการ,  ์ ) กับเสียงกล้ำ ในคำว่า ตุเม (ไม้ยามักการ,  ๎ ) ซึ่งทำให้คนทั่วโลกสามารถออกเสียงปาฬิได้แม่นตรงกับไวยากรณ์ยิ่งขึ้น แม้มิได้ศึกษาไวยากรณ์มาก่อน โดยเฉพาะปัจจุบันมีชาวตะวันตกต้องออกเสียงปาฬิในการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อพบระบบการพิมพ์อักษรโรมันว่า bud-dʰaŋํ  ก็สามารถออกเสียงพ่นลมได้ และก็ย่อมตระหนักว่าพยางค์สุดท้ายเป็นเสียงนาสิกพิเศษ ŋ ซึ่งเป็นเสียงนิคคะหิต (อํ) ที่ก้องในจมูก โดยสังเกตเครื่องหมายนิคคะหิตที่กำกับ IPA - ŋ  นอกจากนี้การพิมพ์โดยแบ่งพยางค์ในพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ว่า  tu-mhe  ยังทำให้ชาวโลกผู้รู้อักษรโรมันสามารถแบ่งพยางค์เสียงกล้ำได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดปัญหาการแทรกแซงทางเสียงเหมือนการออกเสียงจาก อักขรวิธีพินทุบอด  ตุมฺเห เป็น  ตุม-เห  ซึ่งเดิมอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ เขียนว่า  ตุเม สังเกตว่า /มห/ เป็นเสียงกล้ำที่ไม่มีสระใดมาคั่น ซึ่งปัจจุบันเข้าใจผิดกลายเป็นเขียนว่า  ตุมฺเห  โดยนำสระเอ มาคั่นเสียงกล้ำ /มห/ ทำให้อ่านเป็น [ตุม-เห]  

สรุป การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย ได้แก่ ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 และ ฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนทั่วโลกรู้จักเสียงปาฬิที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการในพระไตรปิฎก

2. สัททะอักขะระ-ปาฬิ
    
Pāḷi Phonetic Alphabet

มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ปาฬิภาสา ซึ่งเป็นการบูรณาการทางวิชาการสู่วิทยาการด้านสัททศาสตร์ หรือ สัททะอักขะระ-ปาฬิ ในระดับนานาชาติ

สังเกต IPA ไม่สามารถแสดงเสียงละหุคะรุได้ (ดู อักขรวิธีวิจินตน์)

การศึกษาที่เป็นสากล โดยเฉพาะการถอดเสียงปาฬิภาสา เป็น อักษรโรมัน หรือ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ทำให้เกิดการถอดเสียงปาฬิภาสา เป็น สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet, IPA) ด้วย ซึ่งต่อมาโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ปรับปรุงชุด IPA ดังกล่าว เพื่อจัดพิมพ์สำหรับปาฬิภาสา อักษรโรมัน เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2548 และ ได้ปรับปรุงใหม่ให้ละเอียดยิ่งขึ้น พ.ศ. 2562 โดยจัดพิมพ์และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศไทยประสานการจัดนิทรรศการพิเศษ ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน พ.ศ. 2562-2563 ด้วย 

การมุ่งเน้นการศึกษาการถอดเสียงปาฬินี้ทำให้เกิดการเขียนเสียงปาฬิที่ละเอียดและแม่นตรงตามหลักพระธัมมวินัย ได้แก่  เรื่อง พยัญชนะกุสะละ 10 และไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ เรื่อง การแบ่งพยางค์ของเสียงกล้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างสำคัญ คือ เสียงพ่นลม และเสียงไม่พ่นลม ที่ระบุในพระวินัยปิฎก ปัจจุบันสามารถแสดงผลการพิมพ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เสียงพ่นลม แสดงวิธีการพิมพ์ทางวิชาการภาษาศาสตร์ ด้วยการยกอักษร [ ʰ ] เช่น [bud-dʰa] และนำเสนอด้วยสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ชุดใหม่ เช่น พ-ปาฬิ นำเสนอด้วย [บ] ในคำว่า [บุด-ธะ] เป็นต้น

นอกจากนี้ เนื่องจาก IPA ไม่สามารถเขียนเสียงละหุ และเสียงคะรุ ในตำแหน่งที่ไวยากรณ์ระบุเป็นพิเศษได้ ดังนั้นโครงการพระไตรปิฎกสากลจึงริ่เริ่มการพิมพชุดสัททะอักขะระขึ้นอีกชุดหนึ่ง เรียกว่า สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ เพื่อเขียน เสียงละหุ (เสียงเร็ว) เสียงคะรุ (เสียงลากนานขึ้น) ปัจจุบันสามารถถอดเสียงเขียนด้วย สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และจัดพิมพ์ได้สำเร็จเป็นชุดพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก โดยได้รับสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์ เลขที่ 46390 เรียกพระไตรปิฎกสากลชุดนี้ว่า ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 (Sajjhāya Phonetic Edition 2015) ซึ่งจัดพิมพ์โดยโครงการพระไตรปิฎกสากล

สรุป การริเริ่มศึกษาสัททะอักขะระปาฬิในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เปิดมิติใหม่ให้นักวิชาการในระดับนานาชาติเข้ามาตรวจสอบความแม่นยำในการถอดเสียงปาฬิในทางภาษาศาสตร์ และบูรณาการสู่การศึกษาด้านสหวิชาการให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

3. เสียงสัชฌายะปาฬิดิจิทัล
    Digital Pāḷi Recitation Sound

มีการเปลี่ยนผ่านจากการเขียนเสียงปาฬิในสื่อหนังสือสู่การบันทึกเสียงปาฬิในสื่อดิจิทัลที่เป็นมาตรฐานเป็นครั้งแรก

Untitled

เสียงสัชฌายะดิจิทัล ปาฬิ-รัสเซีย

เดิมเสียงปาฬิบันทึกด้วยระบบอักษรชุดต่างๆ ซึ่งทำให้ต้องอาศัยการศึกษาในด้านภาษาโบราณโดยเฉพาะ และต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาวิธีเขียนอักขะระต่างๆ เป็นเวลานาน และจำกัดอยู่ในสื่อหนังสือ แต่ปัจจุบันเมื่อสามารถบันทึกเสียงปาฬิด้วยสัญลักษณ์ เป็นสัททะอักขะระต่างๆ ในระบบดิทัลได้ เช่น การสร้างนวัตกรรมโน้ตเสียงปาฬิ ที่เขียนเสียงละหุ ด้วยโน้ตหัวดำ-หนึ่งมาตรา และเสียงคะรุ ด้วยโน้ตหัวขาว-สองมาตรา ในทางดุริยางคศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น พ.ศ. 2562 ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๖๖ สำนักงานวิจัยแห่งชาติได้คัดเลือกผลงานวิจัยโน้ตเสียงปาฬิไปจัดแสดงในนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๔๘ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้รับรางวัลและเกียรติบัตร นวัตกรรมโน้ตเสียงปาฬิ จะมีการเผยแผ่ไปในประเทศต่างๆ จึงทำให้ประชาชนทั่วโลกที่แม้มิใช่ชาวพุทธ แต่หากมีพื้นฐานการศึกษาโน้ตดนตรีสากลในทางดุริยางคศาสตร์ ย่อมสามารถอ่านพระไตรปิฎกทั้งชุด 40 เล่ม พร้อมทั้งฟังเสียงดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า พระไตรปิฎกโน้ตเสียงปาฬิ และ เสียงสัชฌายะดิจิทัล พ.ศ. 2559

ความรู้ในการแบ่งพยางค์ และตำแหน่งการเรียงพิมพ์คำต่างๆ ในฐานข้อมูลพระไตรปิฎกดิจิทัลทั้งชุด ทำให้สามารถบันทึกการออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกได้ต่อเนื่องกันได้ตั้งแต่ต้นจนจบทั้ง 40 เล่ม ซึ่งยังไม่มีผู้ได้ทำมาก่อน ระบบเทคโนโลยีการบันทึกเสียงสัชฌายะดิจิทัลนี้ทำให้เกิดเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบกับระบบการพิมพ์อักษรของชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งศึกษาเสียงในรูปแบบของคลื่นเสียงในระบบดิจิทัล เพราะว่าสามารถสืบค้นและเรียกข้อมูลจากส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎกเพื่อฟังเสียงปาฬิในแต่ละคำได้อย่างรวดเร็ว

สรุป เสียงสัชฌายะดิจิทัลจึงเป็นต้นแบบในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับอนุรักษ์คลังเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเพื่อพัฒนาการทางเทคโนโลยีในอนาคต

4. พระไตรปิฎก ปาฬิ-รัสเซีย
    Pāḷi Russian Tipiṭaka 

มีการจัดทำพระไตรปิฎกสากล เป็น ฉบับสัชฌายะ ชุด ปาฬิ-รัสเซีย ชุดสมบูรณ์ ชุด 40 เล่ม

 

พัฒนาการการสร้างพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ด้วยสัททะอักขะระข้างต้น ทำให้เกิดองค์ความรู้ในการเขียนเสียงปาฬิ ด้วยอักขะระของชาติต่างๆ ซึ่งไม่เคยมีวัฒนธรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา เช่น รัสเซีย ดังนั้นเมื่อมีการสร้างชุดอักษรซิริลลิกของรัสเซีย ให้มีเสียงพยัญชนะและสระครบถ้วนและตรงกับเสียงปาฬิของพยัญชนะและสระในพระไตรปิฎกทั้ง 41 เสียง จึงทำให้เกิดพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ซึ่งพิมพ์เสียงปาฬิด้วยสัททะอักขะระของรัสเซีย เป็นครั้งแรก

โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ร่วมมือสร้าง สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ กับผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2562

ชุดปาฬิรัสเซีย (Pāḷi Russian-Script) ที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับเสียงสัชฌายะดิจิทัลในข้อ 3 จึงทำให้สามารถตรวจสอบความแม่นตรงของการเขียนเสียงปาฬิในฉบับรัสเซีย (World Tipiṭaka in Russian Phonetic Aphabet) ได้ในทางวิชาการ และเป็นระบบการเขียนที่ได้รับการตรวจสอบในทางวิชาการจากนักวิชาการชาวรัสเซีย เช่น การเขียนเสียงละหุและเสียงคะรุ ในปาฬิรัสเซีย โดยเสียงละหุแสดงผลทางดิจิทัล ด้วยสีเบาโปร่ง และเสียงคะรุ ด้วยสีเข้มทึบ ซึ่ง ชุด IPA ไม่สามารถเขียนเสียงปาฬิในรายละเอียดปลีกย่อยตามไวยากรณ์พยัญชะนะกุสะละนี้ได้ กล่าวคือ สระสั้น สามารถออกเสียงลากยาว เป็นเสียงคะรุได้ โดยไม่เปลี่ยนฐานสระสั้น เป็นสระยาว เช่น

ตัวอย่างนี้ เป็นการส่งเสริมการออกเสียงปาฬิให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพยางค์ต้นบท และพยางค์ท้ายบท ซึ่งมีหลักการอธิบายเสียงคะรุนี้ว่า ปาทันตะคะรุ ในไวยากรณ์วุตโตทัย ข้อ 7 เป็นต้น

นอกจากนี้การสังเคราะห์เสียงสัชฌายะดิจิทัลลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า สัชฌายะสมาร์ทโฟน (Sajjhāya Smart Phone) ซึ่งสามารถแสดงผลด้วยสัททะอักขะระในระบบดิจิทัล ปาฬิ-รัสเซีย พร้อมทั้งโน้ตเสียงปาฬิกำกับจังหวะของแต่ละพยางค์ ทำให้เกิดมาตรฐานที่สมบูรณ์ทั้งภาพและเสียงในการศึกษาและพัฒนาการเขียนเสียงในพระไตรปิฎกปาฬิ

สรุป เทคโนโลยีเสียงสัชฌายะดิจิทัลเป็นมาตรฐานการอ้างอิงที่สำคัญที่ทำให้สามารถสร้าง ปาฬิ-รัสเซีย

ปัจฉิมลิขิต

นวัตกรรมการเขียนเสียงปาฬิที่ใช้อักขะระของชาติมหาอำนาจโลก เช่น รัสเซีย มีนัยสำคัญอย่างไร ?

ในด้านประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งหอจดหมายเหตุไทยบันทึกว่าได้จัดพระราชทานเป็นพระธัมมทานจากสยามประเทศ และปัจจุบันพบว่ายังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในหอสมุดสำคัญทั่วโลก ซึ่งบัดนี้สามารถอ้างอิงอักขรวิธีต้นฉบับสยาม-ปาฬิดังกล่าว สร้างเป็นชุดสัททะอักขะระเพื่อพิมพ์พระไตรปิฎกสำหรับชาวรัสเซียได้เป็นครั้งแรก

นอกจากนี้เสียงสัชฌายะดิจิทัลในพระไตรปิฎกชุดนี้ยังสามารถสร้างด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของรัสเซีย ซึ่งมีความก้าวหน้าและเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะจะศึกษาพัฒนาต่อไปได้อย่างกว้างขวางในด้านสหวิชาการที่เป็นสากล โดยเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันมีการวิจัยเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า การออกเสียงสวดมนต์ตามประเพณีโบราณของนานาชาติ ล้วนมีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ คลื่นเสียงที่มีระเบียบสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสุขภาพมนุษย์ให้ดีขึ้นได้ถึงในระดับโมเลกุลของน้ำในร่างกาย ดังนั้นเสียงสัชฌายะดิจิทัลที่มีศักยภาพย่อมสามารถนำไปศึกษาเพื่อประโยชน์ในทางเวชศาสตร์บำบัดโมเลกุล และแม้ในระดับพันธุกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ เสียงปาฬิที่มนุษย์ปัจเจกชนทุกคนสามารถออกเสียงได้ และชาวโลกล้วนยอมรับนับถือว่าพระไตรปิฎกเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญา และสันติสุขของมนุษยชาติ ย่อมจะย้ำเตือนให้มนุษย์ปัจจุบันรำลึกถึงชีวิต และคุณภาพของชีวิต ซึ่งมนุษย์จะดำรงอยู่ได้อย่างสันติก็ด้วยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่สงบสุข มีความสมดุลย์ และก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญในพระไตรปิฎก ซึ่งได้บันทึกไว้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์เป็นเสียงปาฬิภาสามาเป็นเวลาร่วม 3,000 ปีมาแล้ว และบัดนี้สามารถเผยแผ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย อักขรวิธีปาฬิ-รัสเซีย พร้อมคู่มือการออกเสียงสัชฌายะดิจิทัลในพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะโน้ตเสียงปาฬิ พ.ศ. 2562 ที่กำลังเผยแผ่จากประเทศไทยไปยังนานาประเทศโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ตามรอยพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม เมื่อศตวรรษที่แล้ว

หอสมุดเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

20 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ปีที่ 20 ในการดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากล

 

ผู้ทรงสิทธิ์ สัททะอักขะระรัสเซีย-ปาฬิ
มอบสิทธิประโยชน์ให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล