สัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก.

ภาพพระราชทาน

พระไตรปิฎกที่บันทึกด้วยปาฬิภาสา (เดิมเรียกว่า บาลี) เป็นคำสั่งสอนในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันมีการจัดพิมพ์เป็นชุดด้วยอักษรของชาติต่างๆ มากมาย แต่ชุดที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นฉบับสากลที่พิมพ์ เป็นอักษรโรมันชุดสมบูรณ์ของโลก ชุด 40 เล่ม จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2548 โดยโครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร และได้เผยแผ่เป็นพระธัมมทานในสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน

จากการเผยแผ่ฉบับสากลตลอดมาเป็นเวลายาวนาน ทำให้พบว่าแม้อักษรโรมันจะเป็นอักษรสากลที่รู้จักกันทั่วโลก แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังไม่สามารถอ่านออกเสียงอักษรโรมันได้อย่างคล่องแคล่วและแม่นตรงตามต้นฉบับสากลได้ และแม้คณะสงฆ์นานาชาติทั่วโลกจะพยายามออกเสียงปาฬิภาสาให้แม่นตรงตามที่พระวินัยกำหนด (โดยเฉพาะในไวยากรณ์เรื่อง ìพยัญชนะกุสะละ 10 ประการî) แต่ปัจจุบันก็พบว่าการออกเสียง สวดมนต์ตามท้องถิ่นต่างๆ ยังออกเสียงไม่แม่นตรงตามที่อ้างอิงไว้ในไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ เป็นปัญหาที่เรียกว่า การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์อธิบายว่าเกิดจากสำเนียงท้องถิ่นไปปนแทรกกับเสียงดั้งเดิมในปาฬิภาสา เช่น ในประเทศไทยมักออกเสียงในพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ว่า [พุท] แทน [บุด] / bud ในปาฬิภาสา กล่าวคือเอาเสียงพ่นลม (Aspirated Sound) ไปปนแทรกกับเสียงไม่พ่นลม (Unaspirated Sound) ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะกุสะละ  ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 เรียกว่า สิถิละ (ไม่พ่นลม) และ ธะนิตะ (พ่นลม) เป็นต้น

ในปัจจุบันที่มีการบันทึกเสียงสวดมนต์ต่างๆ อย่างแพร่หลายในระบบอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่มีโครงการใดที่สามารถบันทึกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกได้ในระบบดิจิทัลทั้งชุด เพื่อการค้นคว้า ศึกษา และฝึกซ้อมการออกเสียงให้ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างของการศึกษาเสียงปาฬิต่างๆ ดังกล่าว แทนการศึกษาที่มุ่งเน้นแต่เฉพาะการแปลศัพท์ในพระไตรปิฎกเป็นภาษาต่างๆ โดยไม่ คำนึงถึงการออกเสียงปาฬิดั้งเดิม 

โครงการพระไตรปิฎกสากล 2542-... by Dhamma Society on Scribd