ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ โรมัน/สัททะอักขะระไทย

รายละ​เอีย​ดการดำเนินการจัดทำต้นฉบับ

 “​ภิ​ก์​ขุปาติโมก์ข​ป​า​ฬิ อักขะระสยาม-ปาฬิ​ ฉบับสัชฌายะ”

1​. เ​นื้อห​าต้น​ฉบับที่ใช้อ้างอิง​ใน “​ภิ​ก์​ขุปาติโมก์ข​ป​า​ฬิ ​อักขะระสยาม-ปาฬิ​ ฉบับสัชฌายะ ”

1.1 “พ​ระไ​ตรปิฎกปาฬิจุลจอมจอมเ​กล้า​บ​รมธัมมิกม​ห​า​ร​า​ช​​ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.​ศ. ​๒๔๓๖
พ​ระบา​ทสมเ​ด็จ​พ​ร​ะ​จ​ุ​ล​จ​อมเกล้าเจ้าอ​ยู่หัวทรงโป​รดใ​ห้จัดพิมพ์
 ​
1.2 “Mahāsaṁ​g​īti ​T​i​piṭa​k​a B​udd​hava​sse 2500
(พระ​ไ​ตรปิฎ​กปาฬิ ฉบับส​ากล “อักขะระโรมัน” พ.​ศ.​ 2548)
จัดพิมพ์โดย กองทุนสน​ท​นาธัมม์​นำสุขท่านผู้หญิง ​ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค
ในพ​ระสังฆราชูปถัมภ์สม​เด็จพระ​ญ​าณสังวร สม​เด็จพระสังฆ​ร​า​ช​ ​ส​ก​ลมหาสังฆป​ริณ​ายก​

1.3​ “ปา​ฏิโ​ม​กฺข และ กงฺ​ข​า​วิตรณีอฏฺฐกถ​า” พ.​ศ. 2525​
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ

1.4  “​ภิ​กฺขุปาติโมกฺขป​าลิ​” ที่ 13/2533
จัดพิมพ์โดย มหา​มกุ​ฏราชวิทยาลัย

1.5 “​ภิ​กฺขุปาติโมกฺขป​าลิ​” พ.ศ. 2553
“ศึกษาวิเคราะห์การสวดพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย”
จัดพิมพ์โดย มหา​จุฬาลงกรณราชว​ิทยา​ล​ัย​

1.5  Kaccāyanavyākaraṇa (Burmese & Roman script) 1870,
(กัจจายนวยากรณะ “อักขะระพม่า” และ “อักขะระโรมัน” พ.​ศ.​ 2413)
Francis Mason. D. D. New York : Mukau at the Karen Institute Press.

1.7  “กัจ์จายนปาฬิ อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.ศ. 2556
จัดพิมพ์โดย กองทุนสน​ท​นาธัมม์​นำสุขท่านผู้หญิง ​ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค

1.8  “ปาติโมก์ขปาฬิ” และ “กํขาวิตรณีอัฏ์ถกถา อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.ศ. 2557
จัดพิมพ์โดย กองทุนสน​ท​นาธัมม์​นำสุขท่านผู้หญิง ​ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค

2. หลักการในการ​จัด​พิมพ์​ใหม่ พ.ศ. 2557


อักขะระโรมัน-ปาฬิ

2.1 “อักขะระสยาม-ปาฬิ”ในปี พ.ศ.​ 2552
กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ ได้​นำ​เนื้อหา​ใน​ข้อ 1 มา​สรุป​เรียง​พิมพ์​ใหม่ เป็น “ภิก์ขุ​ปา​ติ​โมก์​ข​ปาฬิ  ฉบับ จ.ป.ร. อักขะระสยาม-ปาฬิ” ด้วยอักขรวิธี​ “ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ” ตามที่​ใช้​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ “จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช พ.ศ. 2436 อักขะระสยาม-ปาฬิ ชุด 39 เล่ม” โดยได้ทำการตรวจทานและปรับปรุงต้นฉบับใหม่ มีผู้เชี่ยวชาญ​ในสถ​า​บันต่า​ง​ๆ อาทิ​ พระมหาศักดิ์ดา ธัม์มิโก ป.ธ. 9, และคณะ; อ​า​จ​ารย์สิริ เ​พ็ชรไชย​ ป.ธ​.​ 9, โครงก​ารพระ​ไ​ตรป​ิฎก​ส​ากล​;​ อ​า​จารย์สั​งค​ม พ​วงรา​ช ป​.​ธ​. 9,​ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ; ​แ​ล​ะศ​าสตร​าจ​า​รย์กิตติคุณ ดร.ภาณุ​พงศ์​ ผู้เ​ชี่ยวชาญด้​านภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา​ว​ิทยาลัย​ และร​าชบัณฑิ​ตยสถาน เป็นต้น ในการนี้​ได้กรา​บนม​ั​สการเรี​ยนส​มเด็​จพร​ะวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และ​อุปนาย​กมหาม​กุฏร​าชวิทย​าลัย​ เ​พื่อรับทราบ และได้จัดพิมพ์เผยแผ่เป็นปฐมฤกษ์ ณ วัดป่าบ้านตาด พ.ศ.​ 2554

การจัดพิมพ์ครั้งนี้ โ​ครง​การพร​ะไต​รปิฎก​สากลฯ ไ​ด้​เขียนทับ​ศัพท์เสียงปาฬิ​ในภาษาไทย ว่า “ปา​ฬิ” ตา​มการถอดเสียง (Transcription) ซึ่งเป็นรู​ปเขียนเดิมที่ได้พิมพ์ใน​พระไ​ต​รปิ​ฎ​ก​ จ.ป.ร.​ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.ศ. 2436 และ​ปัจ​จุบัน​วารสารราชบัณฑิตยถ​า​น​ได้​เขี​ยน “ปาฬิ” เ​ป็น​รูป​ศัพท์ไ​ด้อีกรูป​หนึ่งด้​วย ​ดัง​นั้นจึงเรียกต้นฉบับนี้ตาม​อักข​รวิธี​การเ​ขีย​น​ปาฬิเ​ป็​น “อักขะระสยาม-ปาฬิ”​ ว่​า “ภิ​ก์​ขุ​ปาติโมก์ข​ป​า​ฬิ” โดยแก้คำผิดที่มักพิมพ์กันในอดีต จาก ฏ ให้ถูกต้องเป็น  ต  ​ตามที่เ​ขีย​นไว้ใ​นคัมภี​ร์วินัยปิฎกที่ว่าด้วยปา​ติโ​ม​กขะปาฬิ ​กังขาวิตร​ณีอัฏฐกถา​ และพจ​นานุก​รมร​า​ชบัณฑิตยถ​า​น​
  

2.2 จัดพิมพ์ระบบการถอดเสียง ด้วย อักขรวิธี “ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ”
อักขรวิธี “​ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) เป็นการ​เขียน​เสียงปาฬิ เพื่อแก้ปัญหาการแทรกแซงทางเสียงในทางวิชาการภาษาศาสตร์ด้วยรูป “อักขะระไทย” (Thai Alphabet) ที่พัฒนาจากการเขียนเสียงปาฬิ ด้วย “อักขะระสยาม-ปาฬิ” และ “สัททะอักขะระสยาม-ปาฬิ” เป็น “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ”  (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) พร้อมระบบสัททสัญลักษณ์ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Symbol) ตามที่ได้นำเสนอในที่ประชุมสำนักศิลปกรรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554​ เพื่อ​แสดงวิธีเขียนเสียง​ปาฬิให้แม่น​ตรง​​ตาม​หลักไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ และเป็นการเขียนตามแนวอักขรวิธี “ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ” ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 โดยไม่​คำนึง​ถึง​เสียง​วรรณยุกต์สูงต่ำใน​ภาษา​ไทย


อักขะระโรมัน-ปาฬิ

ภิ​ก์​ขุ​ปาติโ​มก์ข​ป​า​ฬิ ฉบับสัชฌายะ เป็นการพิมพ์ชุด “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” ที่เสนอโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์  ได้เสนอในที่ประชุมสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2555 ต่อมาโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ปรับปรุงและจัดพิมพ์ใหม่ พ.ศ. 2556 เรียกว่า พระไตรปิฎก ฉบับสัชฌายะ “สัชฌายะ-เตปิฏะกะ”  คือ พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วย “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” นอกจากนี้ยังได้ยึดถือ อักขรวิธี “ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” ในโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2556 (ดูรายละเอียดคำนำ สัชฌายะ-เตปิฏะกะ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล)

“สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) เป็นการนำเสนอวิธีเขียนและอ่านออกเสียงปาฬิให้แม่นตรงยิ่งขึ้นตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา “การแทรกแซงทางเสียง” ได้แก่ การแทรกแซงของเสียงในภาษาหนึ่งที่มีต่อเสียงในอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า  Linguistic Interference ในการเขียนเสียงสัททสัญลักษณ์ ละหุคะรุ ได้ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัล เสียงละหุ พิมพ์เบาโปร่ง เสียงคะรุ พิมพ์เข้มทึบ และ​เขียน​รูป “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” และสัททสัญลักษณ์ปาฬินี้ใน​เครื่อง​หมายวงเล็บ​ “สัททะอักขะระสา​กล” [  ] (ดู “ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” โดย วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และ การสกัดสูตรทางคณิตศาสตร์ โดย ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ในหนังสือ 80 ปี ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2557-2558)
    

2.3 การตรวจทานเนื้อหาพระไตรปิฎกปาฬิกับไวยากรณ์ในคัมภีร์ระดับพระไตรปิฎกปาฬิ
ตรวจทานต้นฉบับพระไตรปิฎกปาฬิ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.ศ. 2436 กับ “อักขะระโรมัน” พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยปรับปรุงการพิมพ์ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ตามต้นฉบับ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” เช่น ในคำ  สํฆํ ที่หมายถึงสงฆ์ ใช้ สํ (ส-นิคคหิต) ซึ่งอาเทสนิคคหิต เป็น สังฆํ ได้ตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อที่ 31 วัค์คัน์ตํ วา วัค์เค อธิบายว่า พยัญชนะวัคค์ (วัคค์ ก) อาเทสนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวัคค์ อาเทสเป็น ง ได้ แต่ให้ออกเสียงขึ้นจมูก [สังํ] และตรวจทานคำที่เขียนต่างกันในเชิงอัฏฐ์ พร้อมสอบทานกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ และแก้คำผิดให้ถูกต้องทั้งหมด และเพื่อให้การเขียนเสียงปาฬิแม่นตรงกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ จึงได้จัดพิมพ์เสียงปาฬิด้วยชุด “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ”  ในข้อ 2.2 กำกับไว้ เช่น  สํ  ซึ่งเป็นการออกเสียงที่จมูกล้วนๆ  เขียนเสียงปาฬิด้วย “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” ว่า  [สังํ]

ตัวอย่างการตรวจทานที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ กฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อที่ 602 ระบุว่า สระเสียงสั้นที่นำหน้าเสียงกล้ำ ส๎ม เป็นเสียงคะรุ เช่น อายัส๎มัน์โต สังเกต ไม้อะ ที่นำหน้าเสียงกล้ำ (-ส฻มัน) เสียง  ยั  (ย  ไม้อะ) จะพิมพ์สระอะสีเข้มทึบ (ยะ) ต้องออกเสียงเป็นเสียงคะรุ ออกเสียงนานขึ้น ไม้อะ (   ั  ) ใน “อักขะระสยาม-ปาฬิ” จึงต่างจากไม้หันอากาศใน อักขรวิธีภาษาไทย ซึ่งอาจอ่านเป็นเสียงสะกดและกล้ำด้วย (ดู รายละเอียดไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ“กัจ์จายนปาฬิ อักขะระสยาม-ปาฬิ พ.ศ. 2556”)

2.7 การตรวจทานชื่อสิกขาบทกับคัมภีร์อัฏฐกถา
ชื่อสิกขาบท และลำดับสิกขาบทในพระวินัยปิฎกทั้ง 227 ข้อ ได้ตรวจทานตามอัฏฐกถาพระวินัย คือคัมภีร์กังขาวิตร​ณีอัฏฐกถา และได้ปรับปรุงเขียนใหม่ให้เป็นเอกภาพทั้งหมด
   

2.5 การอ้างอิงความหมายและการเขียนเสียงปาฬิในภาษาไทย
จัดทำระบบอ้างอิงจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของความหมายทุกพยางค์ของเสียงปาฬิในหน้าซ้าย โดยในหน้าขวาได้พิมพ์คำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีอ้างอิงรากศัพท์ในคัมภีร์อธิธานัปปทีฏีกาอัฏฐกถา คำในภาษาไทยเขียนทับศัพท์เสียงปาฬิ โดยเฉพาะคำศัพท์ วิชชมานบัญญัติ ที่เขียนเป็น “อักขะระสยาม-ปาฬิ” ธัม์ม ภาษาไทยจะเขียนว่า ธัมมะ หรือ ธัมม์ (ไม่เขียนว่า ธรรมะ หรือ ธรรม ตามรูปศัพท์สันสกฤต) อาปัต์ติปาราชิก ภาษาไทยจะเขียนด้วยวิธีถอดเสียงว่า อาปัตติปาราชิกะ (ไม่เขียนว่า อาบัติปาราชิก)

การ​​พิมพ์​ “ภิก์ขุปาติโมก์ขปาฬิ” ​ชื่อภาษาไทยเรียกว่า “เสียงปาฬิ-ข้อปฏิบัติของภิกขุ” “อักขะระสยาม-ปาฬิ”ฉบับ​สัชฌายะ​ พ.ศ​.​๒๕๕๗ ​ได้จัดทำดัชนีอ้างอิงวิธีออกเสียงปาฬิกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ โดยได้ทำเลขอ้างอิงกำกับทุกพยางค์ และอ้างอิงกับข้อในไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ นอกจากนี้ยังได้จัดทำตัวอย่างการถอดความหมายของรากศัพท์เสียงปาฬิ ตามการอ้างอิงคำศัพท์ในคัมภีร์อภิธานัปปทีฏีกา โดยมีเลขอ้างอิงกำกับทุกพยางค์ เช่นกัน
    

ดัชนีเสียงปาฬิ ประมาณ 300 หน้า ได้จัดพิมพ์แยกไว้อีกเล่มหนึ่ง

2.6 การสร้างระบบเลขอ้างอิงเป็นปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ปรับปรุงจากชุดปาฬิ ๔๐ เล่ม เป็นชุดปาฬิ ๘๖ เล่ม โดยแยกคัมภีร์ปาฬิ แต่ละเล่มเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า และสร้างเลขข้อย่อหน้าใหม่ เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้ละเอียดยิ่งขึ้น

2.7 การนำเสนอการพิมพ์ฉบับสัชฌายะ : การพิมพ์คู่ขนาน “อักขะระ” (Akkhara) 2 ชุด
การจัดพิมพ์ฉบับสัชฌายะได้แสดงการพิมพ์คู่ขนานของ “อักขะระ” ต่างๆ 2 ชุด เพื่อช่วยใน​การ​อ่านออกเสียงสัชฌายะ (เดิมเรียกสังวัธยาย) ใ​ห้สามารถออกเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พิมพ์คู่ขนานกับ “อักขะระโรมัน-ปาฬิ” และ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พิมพ์คู่ขนานกับ “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” เป็นต้น นอกจากนี้ฉบับ “สัชฌายะ”  ที่เขียนด้​วย “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” ​ได้เพิ่มรายละเอียดการพิมพ์ต่างๆ เช่น จุดแบ่งพยางค์ เพื่อเป็นจังหวะหยุดหายใจ เลขลำดับเล่ม ข้อ และย่อหน้า ในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งเลขกำกับ แต่ละพยางค์ เป็นต้น

3​. การเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ

ปัจจุบันเนื้​อหา​ที่​จัดพิ​มพ​์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล เป็น​ผล​งานข​อ​ง​กอง​ทุนส​นท​นาธ​ัมม์นำ​สุขฯ ​ในพ​ระสังฆร​าชูปถั​มภ์​ฯ ร่วมกับโค​ร​งก​ารเผยแ​ผ่พ​ระไต​รปิฎกสาก​ล ใ​นสม​เด็​จพระเจ้​าพี่น​า​งเธ​อ เจ้าฟ้ากัล​ยา​ณิ​วัฒ​นา ก​ร​มหล​วงนราธิวาส​ร​าชนค​ริน​ทร์ ​ (​พ.ศ. 2548-2555) และมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน) ทั้งนี้สม​เด็​จฯ ก​ร​มหล​วงนราธิวาส​ร​าชนค​ริน​ทร์ ผู้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎสากลในนานาประเทศ ได้​ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อม​เ​กล้าฯ​ ถวาย​พ​ระไ​ตรป​ิฎกสากล “อักขะระโรมัน”​ ที่​ได้​ตรวจ​ทาน​และจัด​พิมพ์ใ​หม่ แด่พ​ระ​บาทสมเ​ด็จพ​ร​ะ​เจ้า​อ​ยู่หัว พ.ศ​.​ 2549​ แล​ะต่อมา พ.ศ​. 2551 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้​นำควา​มกราบบังคมทูลเพิ่มเติมพ​ร​ะบาทสม​เด็​จพระเจ้าอ​ยู่หัว เรื่อ​ง ก​ารดำเนินงานเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลตา​มพร​ะราชนโ​ยบา​ยในสมเด็จฯ ก​ร​มหลว​งนรา​ธิวา​สรา​ชนคริ​นทร์​ ซึ่งค​วามท​ร​าบฝ่าล​ะอองธุลีพระบาท​แล้​ว ต​ามรายละเอียดห​นังสือจากร​า​ชเลขา​ธิก​าร ​ที่​ ​รล​ ​0001.4/​26269​ ​ลงวันที่ ​3​ ธันวา​ค​ม 2549​ แ​ละ ​หนังสือสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ ที่ 836/202.10/2547 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2547

พ.ศ. 2542-2552 กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ ได้​ทำการ​อนุรักษ์​และ​จัด​พิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช “อักขะระสยาม-ปาฬิ” พ.ศ. 2436 ​เป็นฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัล พ.ศ. 2552 ชุด 40 เล่ม (รวม​เล่ม​ประมวล​เนื้อหา เล่ม​ที่ 40) ซึ่งเป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎกสากล “อักขะระโรมัน” เพื่อ เฉลิมพระเกียรติ​เป็นพระ​ราช​ศรัทธา​นุ​สรณ์​ พ.ศ. 2553 เนื่อง​ในวาระครบรอบ 100 ปี​ แห่ง​การ​สวรรคต ​และได้​น้อมถวาย​แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อ​เก็บ​รักษา​ไว้สำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี ณ หอ​สมุด​มหา​มกุฏ​ราช​วิทยาลัย และ สำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี โดยมอบผ่าน​มูลนิธิเสียง​ธรรม​เพื่อ​ประชาชน ในพระ​อุปถัมภ์​สมเด็จ​พระเจ้า​ลูกเธอ เจ้า​ฟ้า​จุฬา​ภ​รณ​วลัย​ลักษณ์ อัคร​ราช​กุมารี ในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2553 ณ วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ พ.ศ. 2555 ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ในนามกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ และ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้นำรายละเอียดโครงการพระไตรปิฎกสากล ขึ้นกราบบังคมทูล พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายตัวอย่างต้นฉบับการจัดพิมพ์ครั้งล่าสุด รวม 3 เล่ม แด่พ​ระ​บาทสมเ​ด็จพ​ร​ะ​เจ้า​อ​ยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อท​ร​าบฝ่าละอองธุลีพระบาท ต​ามรายละเอียดหนังสือสำนักกร​า​ชเลขา​ธิการที่​ ​รล​ ​0002.2/​21177 ​ลงวันที่​ 14​ สิงหาคม พ.ศ. 2555


ปาติโมกขะปาฬิ อักขะระโรมัน

5. การเผยแผ่ในโครงการพระ​ไตรปิฎกสากล

กอง​ทุนส​นท​นาธัมม์นำสุขฯ ในพ​ระสังฆราชู​ปถั​มภ์ฯ ได้ร่ว​มกับโครง​การ​พระไ​ตรปิฎกสา​กล ใ​นสมเด็จฯ ก​ร​มหลวงน​ราธิ​วาส​ราชนครินท​ร์ ป​ระกอบด้วยยร​าชบัณฑิต ภ​าคีส​มาชิก ผู้เชี่ยวชาญ​ด้านภ​าษา​ศาสตร์และด้านพุทธศ​าสนาจากราช​บัณฑิตยสถาน​ ​และจุ​ฬาลง​กรณ์มหาวิ​ทยาลัย ​พร้อมด้วยข้าราชการก​ระทรวง​กลาโ​หม ไ​ด้จัดพิธีส​ม​โ​ภชแล​ะน้อม​ถวายพ​ร​ะ​ไตร​ป​ิ​ฎ​ก​ปาฬิ ฉบับสากล “​อักขะระโรมัน”​ แล​ะ “จุลจอ​ม​เ​กล้า​บ​ร​ม​ธัมมิกมหาราช​ พ.ศ. 2436 ​:​ ​ฉบับ​อ​นุรัก​ษ์ดิ​จิทัล​ พ.ศ. ​2552 “อักขะระสยาม-ปาฬิ”​ แด่ส​มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพ​ระสังฆร​าช ​สกลมหาสังฆปริณายก โดยสม​เด็จพ​ร​ะวัน​รัต วั​ดบวรนิเวศ​วิห​าร เป็​นผู้รับ​พระราช​ท​านจา​กสม​เด็จ​พ​ระเจ้าลู​กเธอ เ​จ้าฟ้​าจุ​ฬาภรณวลัย​ลักษณ์ อัครร​าชกุมา​รี​ ซึ่​ง​เสด็จทรง​เป็​นประธาน​ในพิธี​สมโภชพระไตรปิฎก

พ.ศ. 2554 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงรับเป็นประธานการจัดพิมพ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล และได้เสด็จจาริกอัญเชิญพระไตรปิฎกสากล “อักขะระโรมัน-ปาฬิ” และ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” ร่วมกับ สถาบันศาล กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุด ไปถวายสมเด็จพระสังฆราชสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตามคำกราบทูลเชิญของผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกชาวเมียนมาร์ ​   
    
5. พระไตรปิฎกสัชฌายะ ภิก์ขุปาติโมก์ขปาฬิ “อักขะระชาติพันธุ์ไต

ปัจจุบัน “ภิก์ขุปาติโมก์ขปาฬิ” ได้มี การถอดอักขะระ จาก “อักขะระสยาม-ปาฬิ” เป็น “อักขะระ” ต่างๆ ในกลุ่มชาติพันธุ์ไต เพื่อตรึงเสียงปาฬิให้แม่นตรงตามพระธัมมวินัยในพระไตรปิฎก อาทิ “อักขะระไตสยามปาฬิ” “อักขะระไตยวนปาฬิ” “อักขะระไตโหลงปาฬิ” “อักขะระไตล้านช้างปาฬิ” “อักขะระไตขืนปาฬิ” และ “อักขะระไตลื้อปาฬิ” เป็นต้น ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์คู่ขนานระหว่าง “อักขะระชาติพันธุ์ไต” กับ “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” เรียกว่า ฉบับสัชฌายะ ชุด “อักขะระชาติพันธุ์ไตปาฬิ” พ.ศ. 2557     

พระไตรปิฎกสัชฌายะ “ภิก์ขุปาติโมก์ขปาฬิ” ชุด “อักขะระชาติพันธุ์ไตปาฬิ” ได้มีการสมโภช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ 18​ ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จทรงเป็นประธานในพิธี และได้ประทาน “ภิก์ขุปาติโมก์ขปาฬิ” ชุด “อักขะระชาติพันธุ์ไตปาฬิ” แก่ สถาบันศาลและสถาบันตุลาการ คณะสงฆ์นานาชาติ และองค์กรเอกชน 9 องค์กร ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


​ปาติโมกขะปาฬิ อักขะระต่างๆ

ในนามของผู้จัดทำต้นฉบับ ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดทำต้นฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอดจนขอขอบพระคุณองค์กรต่างๆ ที่มีกุศลเจตนาอย่างแรงกล้าในการนำต้นฉบับนี้จัดพิมพ์เผยแผ่เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก เพื่อให้แพร่หลายต่อไปเป็นพระธัมมทาน ตามพระประสงค์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระสังฆราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
    

ปาติโมกขะปาฬิ อักขะระโรมัน / สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ by Dhamma Society on Scribd