บทนำพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม อนุรักษ์ดิจิทัล

โครงการพระไตรปิฎกสากล :

จาก พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436
สู่ พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2554 

คำนำ​การจัดทำต้นฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562

รัตน​โก​สิน​ทร​ศก​ ​112​ ​(​พ​.​ศ​.​ 2436​)​ ​เป็น​ปี​ที่​กรุง​สยาม​ประสบ​วิกฤตการณ์​ร้าย​แรง​ด้านความมั่นคงแห่ง​ชาติ​ ​แต่​เป็น​ที่​อัศจรรย์​ว่า​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ได้​ทรง​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ใน​การ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​อักษร​สยาม​ ​ชุด​ ​39​ ​เล่ม​ ​เป็น​ครั้ง​แรก​ ​เพื่อ​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​เนื่อง​ใน​งาน​ฉลอง​การ​ครอง​สิริ​ราช​สมบัติ​ครบ​ ​25​ ​ปี​ ​ใน​ปี​ดัง​กล่าว​ ​โดย​ได้​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​ชุด​นี้​แก่​พระ​อาราม​ต่างๆ​ ​ประมาณ​ ​500​ ​สำรับ​ ​ทั่ว​พระ​ราช​อาณาจักร​ ​และ​ต่อ​มา​ได้​พระราชทาน​แก่​สถาบัน​ต่างๆ​ ​อีก​ไม่​น้อย​กว่า​ ​260​ ​สถาบัน​ใน​นานา​ประเทศ​ทั่ว​โลก​ ​ซึ่ง​ใน​ปัจจุบัน​ถือ​เป็นการ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​เป็น​ชุดเป็นครั้ง​แรก​ ​ดัง​นั้น​การ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​แก่​ชาว​โลก​จึง​เป็นการ​เผยแผ่​พระพุทธพจน์​ที่​สำคัญ​ใน​ประวัติศาสตร์​พระพุทธ​ศาสนา​เถรวาท​

​เพื่อ​เฉลิม​ฉลอง​ความ​สำเร็จ​ทาง​ภูมิปัญญา​ไทย​สากล​ดัง​กล่าว​ ​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2547​ ​ซึ่ง​เป็น​วาระ​ที่ใกล้​จะ​บรรจบครบรอบ​ ​112​ ​ปี​ ​แห่ง​การ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​อักษร​สยาม​ ​กองทุนสน​ทนาธัมม์​นำสุขฯ​ ​ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ​ ​ร่วม​กับ​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​ ​จัดปาฐกถา​พิเศษ​หน้า​พระที่นั่ง​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​เรื่อง​ ​จุลจอมเกล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​พิมพ์​ชุด​แรก​ของ​โลก​ ​:​ ​112​ ​ปี​ ​เทคโนโลยี​ธัมมะ​สู่​โลก​โดย​คน​ไทย​ ​ซึ่ง​ใน​งาน​ดัง​กล่าว​ ​สมเด็จ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ได้​ทอด​พระเนตร​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​ประวัติศาสตร์​ชุด​นี้​เป็น​พิเศษ​ ​การ​เสด็จ​ทรงเป็น​ประธาน​งาน​ปาฐกถา​พระไตรปิฎก​จึง​เป็นการ​ประกาศ​มิติ​ทาง​ภูมิปัญญา​ไทย​สากล​ที่​สำคัญ​ยิ่ง​ใน​ประวัติศาสตร์​การ​สืบทอด​พระ​ไตรปิฎก​ของโลก​ ​และ​เป็นการ​เกริ่น​ความ​สำเร็จ​ของ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​​ซึ่งจะจัดพิมพ์ใน​ปี​ต่อ​มา​ อัน​เป็น​ฉบับ​ที่​กองทุน​สนทนาธัมม์นำ​สุขฯ​ ได้​ทำการ​ตรวจ​ทาน​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ ​และ​ได้จัด​พิมพ์​ขึ้น​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2548​ นับว่าเป็น​พระไตรปิฎก​อักษร​โรมัน​ฉบับ​แรก​ที่​พิมพ์​ขึ้น​ใน​ประเทศไทย​ ​และ​เป็น​ฉบับ​อักษร​โรมัน​ชุด​สมบูรณ์​ของ​โลก​ 

​ใน​วัน​ที่​ ​6​ ​มีนาคม​ ​พ​.​ศ​.​ ​2548​ ​เนื่อง​ใน​โอกาส​ครบ​รอบ​ ​112​ ​ปี​ ​พระ​ไตรปิฎก​จุลจอม​เก​ล้า​บรมธัมมิ​กม​หา​ราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม​ ​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​ใน​ฐานะ​ที่​ทรง​เป็น​กุล​เชษฐ์​พระ​ราช​นัดดา​ใน​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ผู้ทรง​​เป็น​ประธาน​กิตติมศักดิ์​การ​พระราชทาน​และ​ประดิษฐาน​พระ​ไตรปิฎก​สากลใน​นานา​ประเทศ​ ​ได้​เสด็จ​จาริก​อัญเชิญ​พระไตรปิฎก​สากล​​อักษร​โรมัน​ ​ชุด​ปฐมฤกษ์​ ​40​ ​เล่ม​ จากกรุงเทพ​ไป​กรุง​โคลัมโบ​เพื่อ​พระราชทาน​แก่​ประธานาธิบดี​แห่ง​สาธารณรัฐ​สังคมนิยม​ประชาธิปไตย​ศรี​ลังกา ตามรอยการพระราชทานพระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม​ ในอดีต ​เหตุการณ์ดังกล่าว​ทำให้​เกิด​ความ​สนใจ​ใน​พระ​ไตรปิฎก​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​อักษร​สยาม​ ​มาก​ยิ่งขึ้น​ทั้ง​ใน​ประเทศ​และ​ต่าง​ประเทศ​ ​เพราะ​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​อักษร​สยาม ​เป็นการ​วาง​รากฐาน​ของ​การ​ประชุม​สังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 ​ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นฉบับ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ในปัจจุบันด้วย

​​พระ​ไตรปิฎก จปร. ​อักษร​สยาม ​เป็น​พระ​ไตรปิฎก​ปาฬิฉบับ​พิมพ์​ชุด​แรก​ของ​โลก​ ​และ​เป็น​ผล​งาน​ทาง​ภูมิปัญญา​ระดับ​สูง​ของ​ชาติ​ไทย​ ​เพราะ​เป็น​ผล​จาก​กา​รบู​รณา​การ​คลัง​ความ​รู้​ต่างๆ​ ​ที่​เป็น​เลิศ ​เพื่อ​สืบทอด​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​การ​ดำเนิน​การ​ตรวจ​ทาน​และ​จัด​พิมพ์​ฉบับ​อักษร​สยาม​ชุด​นี้​ ​ซึ่ง​ใช้​เวลา​ประมาณ​ ​6​ ​ปี​ ​อันเป็นการ​เปลี่ยนแปลง​ที่​สำคัญ​ใน​ด้าน​เทคโนโลยี​และ​วิธี​การ​สืบทอด​พระพุทธ​พจน์​ใน​ประวัติศาสตร์​พุทธศาสนา​ของ​โลก​ ​5​ ​ประการ​

 

การเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมที่สำคัญในการสืบทอดเสียงปาฬิ 5 ประการ มีดังนี้

​​1​.​ ​การ​เปลี่ยนแปลง​สื่อ​ที่​บันทึก​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​จาก​ ​ใบ​ลาน​ ​เป็น​ ​กระดาษ​ ​(การเปลี่ยนแปลง​ใน​รอบ​ ​2,000​ ​ปี​ ​หลัง​บันทึก​พระ​ไตรปิฎก​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​ใน​พุทธ​ศตวรรษ​ที่​ ​4​)​ ​ ​ ​

​​2​.​ ​การ​เปลี่ยนแปลง​อักษร​ที่​ใช้บันทึก​ ​จาก​ ​อักษร​ขอม​โบราณ​ ​เป็นการ​เรียง​พิมพ์​ด้วย ​อักษร​สยาม​ที่​ทัน​สมัย​ ​(​การ​เปลี่ยนแปลง​ใน​รอบ​ ​1,000​ ​ปี​ ​ของ​อารยธรรม​อักษร​ขอม​ใน​สุวรรณภูมิ​)​

​3​.​ การ​เปลี่ยนแปลง​วิธี​การ​บันทึก​ ​จาก​ ​การ​ใช้​มือ​เขียน​ /​ จาร​ลง​ใบ​ลาน​ ​​เป็นการ​ ​ตี​พิมพ์​ด้วย​เครื่องจักร​ ​(​การ​เปลี่ยนแปลง​เทคโนโลยี​การ​พิมพ์​ที่​ทัน​สมัย​แห่ง​ยุค​)​

​​​4​.​ ​การ​เปลี่ยนแปลง​ระบบ​เอกสาร​สารสนเทศ​ ​จาก​พระ​ไตรปิฎก​ใบ​ลาน​​เป็น​แผ่นๆ​ ​หรือ​ ระบบเอกสาร​เดี่ยว​ ​(​document​)​ ​เป็นการ​สร้าง​ ​ระบบ​เอกสาร​รวม​ศูนย์​ ​(​​document centric​)​ ​ของ​หนังสือ​พระ​ไตรปิฎก​ ​เช่น​ ​ระบบ​เลข​หน้า ​และ​สารบัญ​ ​(​แนวคิด​ที่​ล้ำยุค​สารสนเทศ​ใน​สมัย​นั้น​)​ ​

​5​.​ ​การ​เปลี่ยน​ระบบ​การ​เก็บ​รักษา​และ​เผยแผ่​ ​จาก​การ​เก็บ​รักษา​เฉพาะ​ใน​สถาบัน​พระพุทธศาสนา​ใน​ประเทศ​ ​หรือ​ จาก ​ระบบ​หอไตร​ ​เป็น ระบบบร​รณ​ารัก​ษ​ศาสตร์​พระ​ไตรปิฎก​นานาชาติ คือการ​เก็บ​รักษา​พระไตรปิฎกใน​หอสมุดของสถาบัน​ภูมิปัญญาชั้น​นำ​ต่างๆ​ ​ใน​นานา​ประเทศ​ทั่ว​โลก​ ​(​การ​สร้าง​ระบบ​​เครือ​ข่ายภูมิปัญญาสากลระดับนานาชาติ​​)​

​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้​ทำการ​อนุรักษ์​ต้นฉบับ​พระ​ไตรปิฎก ร​.​ศ​.​ ​112​ ​(​2436​)​ ​อักษร​สยาม​ โดยบันทึกภาพพระไตรปิฎกอักษรสยามทุกหน้าและจัดทำ​เป็นสื่อ​ดิจิทัล​ด้วย​เทคโนโลยี​ทาง​ภาพ​เก็บ​เป็น​จดหมายเหตุ​อิเล็กทรอนิกส์​ ​ระหว่าง​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2546​-​2547​ ต่อมา​ได้​เผยแผ่​เป็น​ข้อมูล​เบื้อง​ต้น​ใน​ระบบ​อินเทอร์เน็ต www​.​tipitkahall.info​ ในปี​ พ.ศ.​ ​2548​ ​ดัง​นั้น​เพื่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​แพร่​หลาย​ยิ่ง​ขึ้น​ ​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​จึง​ได้​จัด​ทำ​โครงการ​ต่อ​เนื่อง​ขึ้น โดย​ใน​ปี​​ พ​.​ศ​.​ ​2550​ ​ได้จัด​พิมพ์​ ​ฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัล ​ชุด 40 เล่ม ​ขึ้น​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2551​ ​ซึ่ง​นอกจาก​ได้​พิมพ์​ภาพถ่าย​จดหมายเหตุ​ดิจิทัล​พระ​ไตรปิฎกอักษร​สยาม​รวม​ทั้ง​สิ้น​ ​16,248​ ​หน้า​แล้ว​ ​ยัง​ได้​มี​การนำ​ข้อมูล​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ ​(​World​ ​Tipiṭaka​ ​Data​ ​Centric​)​ ​มา​จัด​พิมพ์​อ้างอิงประกอบ​  ​เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นคว้่าระดับนานาชาติ รวม​ ​7​ ​รายการ​ ​คือ​​ ​

1​.​ การปริวรรตและถ่ายถอด​อักษร : อักษรสยาม อักษร​โรมัน ​​และ​สัท​ทอักษ​รสา​กล​ปาฬิ​ 

(​Pāḷi​ ​Tipiṭaka Siam​-​Script​ to ​​Roman​-​Script​ ​Transliteration​ &​ ​Roman​-​Script to International​ ​Phonetic​ ​Alphabet​ ​for Pāḷi​ Transcription)​ ​แสดง​การปริวรรต​ปาฬิ เป็นอักษรสยาม  และอักษรโรมัน พร้อมการถ่ายถอดเสียงเป็นสัท​ทอักษ​รสา​กลปาฬิ​ มี สระ 8 เสียง และพยัญชนะ 33 เสียง​​ รวม 41 เสียง โดยจัดพิมพ์ทุกหน้ารวม 16,284 ซึ่งพิมพ์เป็นแถวคู่กันระหว่างหน้าซ้ายและขวา

2​.​ ข้อมูลโครงสร้าง​พระ​ไตรปิฎกและช่ื่อ​ตอน ​(​The​ ​World​ ​Tipiṭaka​ Structures and Titles ​in​ ​Roman​ Script​)​ ​แสดง​ภาพ​รวม​ที่มา​ของข้อมูลฉบับอักษร​สยาม​​เปรียบ​เทียบ​กับ​โครงสร้าง​ฉบับ​สากล​อักษร​โรมัน​ ​โดย​จัด​พิมพ์​ใต้ภาพถ่าย​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​ใน​ด้าน​ซ้าย​​ทุกหน้า รวม 16,248​ หน้า ​​ ​

​​3​.​ ​​​​ระบบรหัส​อ้างอิง​พระ​ไตรปิฎก​อิเล็กทรอนิกส์​ ​(​e​-Tipiṭaka​ Quotation​ ​Number for Tipiṭaka Studies Reference)​ ​แสดง​ระบบ​การสืบค้น​ข้อมูล​จากพระ​ไตรปิฎกอักษรสยามสู่ฉบับ​สากล​อักษร​โรมัน​ในเครือข่ายอิน​เทอร์เน็ต​จาก​ ​www​.​tipitakaquotation​.​net​ ​โดย​​อ้างอิง​ข้อมูล​​ในพระไตรปิฎกสากล รวม 118,280 ย่อหน้า​ ​ซึ่งสามารถนำไป​จัด​พิมพ์​เผยแผ่ในสื่อผสมต่างๆ ได้

​4​.​ ​​ตัวอย่าง​ข้อ​มูลปาฬิภาสา​​ 2 ฉบับ พิมพ์เทียบหน้าระหว่างอักษร​​สยามกับอักษรโรมัน​ (Example​ ​of​ ​Pāḷi​ ​Tipiṭaka Parallel​ ​​Corpus​ ​in Siam​-​Script and ​Roman​-​Script​​)​ ​แสดง​การพิมพ์เสียง​ปาฬิ​​​ โดยเปรียบเทียบระหว่าง​พระไตรปิฎกอักษร​สยามกับอักษร​โรมัน​ ทุกหน้า รวม 16,248​ หน้า ​​โดย​พิมพ์​ตัวอย่างข้อมูลไว้​ใต้​ภาพ​ถ่ายในด้านขวาของภาพถ่ายพระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​ ​​​ ​​

​​5​.​ ​ภาพถ่ายดิจิทัลพระไตรปิฎกอักษรสยาม ฉบับอนุรักษดิจิทัล (Chulachomklao of Siam Pāḷi​ ​Tipiṭaka 1893 : A Digital Preservation Edition 2009) แสดงความสามารถ ในการสืบค้นจดหมายเหตุภาพดิจิทัล พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ ด้วยเทคโนโลยีทางภาพแต่ละหน้า จำนวน 16,248 หน้า ซึ่งจัดเก็บในเครือข่ายอิน​เทอร์เน็ต​ tipitakahall.​info

​​6​.​ ข้อมูล​คำต่างท้ายอรรถ อักษรโรมัน​ (Variant Readings at Endnotes​)​ ​แสดงรายละเอียด คำศัพท์และรูป​คำที่พิมพ์​ต่างกัน (Variant Readings) ระหว่าง​พระ​ไตรปิฎก​​อักษร​สยามกับอักษรโรมัน​ทั้งหมด​ จำนวน​ ​7,414​ ​รายการ​ ซึ่งเดิม​ได้​จัด​พิมพ์​เป็นส่วนหนึ่งใน​เชิงอรรถ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ฉบับสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 ​ซึ่งในฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม ​ได้​จัด​พิมพ์​ใว้​ใน​ตอนท้าย​ของ​หนังสือ ​ ​

​​7​.​ ​ดัชนี​​ศัพท์ปาฬิ​ อักษร​โรมัน​ ​(Index of ​Pāḷi Words in Roman Script)​ ​แสดงจำนวนคำ​ศัพท์ปาฬิ​อักษร​โรมันในพระไตรปิฎกสากล และชี้ตำแหน่งของศัพท์เหล่านั้นในพระไตรปิฎกอักษรสยาม รวม 109,629 คำ เพื่อสะดวกในการค้นหาศัพท์เทียบกับอักษรสยาม โดย​จัด​พิมพ์​ไว้ใน​ตอน​ท้าย​ของ​หนังสือ​ ​

ตัวอย่าง​การ​พิมพ์​ฉบับ​อนุรักษ์​ครั้ง​นี้​ ​นอกจาก​เป็นการ​เปิด​มิติ​ใหม่​ของ​สื่อ​ผสม​อิเล็กทรอนิกส์​สำหรับ​การ​จัด​พิมพ์​ที่​ทัน​สมัย​แล้ว​ ​ยัง​ได้​บูรณ​า​การ​วิธี​นำ​เสนอ​ข้อมูล​ของ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​และ​อักษร​โรมัน​ทั้ง​สอง​ฉบับ​ไว้ด้วย ​ซึ่ง​จะ​เป็น​ประโยชน์​โดยตรง​ใน​วงการ​วิชาการ​ ​โดย​เฉพาะ​ใน​สถาบัน​นานาชาติ​จำนวน​ไม่​น้อย​กว่า​ ​260​ ​สถาบัน​ ​ใน​ ​30​ ​ประเทศ​ทั่ว​โลก​ที่​ได้​รับ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​  อักษร​สยาม​เมื่อศตวรรษ​ที่​แล้ว​ ​ซึ่ง​เป็น​สถาบัน​ที่​จะ​ได้​รับ​การ​พิจารณา​เป็น​ลำดับ​แรก​ใน​การ​จัด​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​ ​ไป​ประดิษฐาน​เพื่อ​ศึกษา​ค้นคว้า​ต่อ​ไป​​

​อนึ่ง​ ​การเต​รี​ยม​งาน​จัด​พิมพ์​ครั้ง​นี้​ทำให้​ผู้​ดำเนิน​งาน​หลาย​ฝ่าย​ได้​มี​โอกาส​ศึกษา​ข้อมูล​อักษร​สยาม​มาก​ขึ้น​ ​ที่​สำคัญ​คือ​ทำให้​คณะ​ผู้​เชี่ยวชาญ​ด้าน​วิศวกรรมศาสตร์​คอมพิวเตอร์​ที่​จัด​ทำ​ฐาน​ข้อมูล​เกิด​ความ​เข้าใจ​ที่ชัดเจน​ใน​ระบบ​การ​บันทึก​เสียง​ปาฬิ​ด้วย​อักษร​สยาม​ ​และ​ใน​ที่สุด​ก็ได้​ข้อ​สรุป​สำคัญ​ยิ่ง​ ​คือ​ ​การ​จัด​พิมพ์​ปาฬิ​ด้วย​อักษร​สยาม​สามารถ​บันทึก​เสียง​ปาฬิ​ใน​พระ​ไตรปิฎก​ได้​ครบ​ถ้วน​และ​ด้วย​วิธี​การ​เรียง​พิมพ์​อักษรสยามของ​ชาติ​ไทย​อัน​ชาญ​ฉลาด​ ​เช่น​ ​สามารถ​ใช้​เครื่องหมาย​ยามักการ​ (  ๎ ) ​แสดง​เสียง​กล้ำ ​ร่วม​กับ​ ​ไม้​อะ (  ั ) ​แสดงเสียง​ สระ​-อะ ​และไม้วัญฌการ (   ์  ) แสดง เสียงสะกด เช่น จิต์ตัก ๎เลเสหิ เพื่อ​แสดง​การ​พิมพ์​พยัญชนะ​เสียง​​กล้ำ​แยกออกจากเสียง​สะกด​อย่างชัดเจน ​ด้วย​เหตุ​นี้​ ​จึง​ต้อง​นำ​หลัก​การ​พิมพ์​อักขรวิธี ที่เรียกว่า อักขรวิธี ไม้​อะ​อักษรสยามปาฬิ ไป​พิจารณา​ปรับปรุง​การถ่าย​ถอด​เสียง​เป็น​ สัท​ทอักษ​รสา​กล​ปาฬิ (International Phonetic Alphabet Pāḷi, IPA Pāḷi) ​ใน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ให้​สมบูรณ์​ยิ่ง​ขึ้น​ด้วย​ ​ดัง​ข้อ​เสนอ​หนึ่ง​ใน​บทความ​นี้​ในกรณีที่​พยัญชนะ​เสียงกล้ำ ​[​‿​]​ ​เพื่อ​แสดง​เสียง​พยัญชนะ​ 2 ตัวออกเสียงกล้ำกันโดยไม่มีสระคั่น

​เพื่อ​อธิบาย​ลักษณะ​พิเศษ​ของ​เสียง​ปาฬิ​ใน​มิติ​ของ​ภาษา​พระ​ธัมม์​ ​โดย​เฉพาะ​การ​ออก​เสียง​ปาฬิ​อักษร​โรมัน​ ​ที่​ยัง​มิได้​มี​การนำ​เสนอ​ใน​ทาง​สัท​ทศาสตร์​โดย​ประยุกต์​และ​บูรณ​า​การ​ใน​ด้าน​พระ​ไตรปิฎก​ศึกษา​อย่าง​จริงจัง​ ​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ​ ​ได้​เชิญ​ศาสตราจารย์​กิตติคุณ​ ​ดร​.​ ​วิ​จินต​น์​ ​ภาณุ​พงศ์​ ​เป็น​ผู้​เขียน​คู่มือ​ระบบ​การ​ออก​เสียงปาฬิ​​ใน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ฉบับ​อักษร​โรมัน​ ​เรื่อง​ ​ปาฬิ​กับ​สัท​ทอักษ​รสา​กล​ ​ซึ่ง​เป็น​ตัวอย่าง​ของ​ความ​พยายาม​​ใน​การ​ศึกษา​พระ​ไตรปิฎก​ระดับ​นานาชาติ​ที่​บูรณ​า​การ​กับ​ความ​รู้​สหสาขา​วิชา​ปัจจุบัน​ ​และ​เป็น​แนวทาง​หนึ่ง​ของ​พระ​ไตรปิฎก​ศึกษา​ใน​ยุค​ใหม่​ ​คือ​ พระ​ไตรปิฎก​ศึกษา​ระดับ​นานาชาติ​ ​ซึ่ง​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​ทรง​ปรารถนา​ให้​เกิด​ขึ้น​ ​โดย​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2547​ ​ได้​ทรง​มี​พระ​ดำรัส​กับกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ให้​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​หา​ทาง​เผยแผ่​ความ​รู้เรื่องพระไตรปิฎก​แก่​ประชาชน​ทั่วไป​​ด้วย

​บทความ​ปาฬิ​กับ​สัท​ทอักษ​รสา​กล​ จึง​เป็นการ​ค้นคว้า​และ​เรียบ​เรียง​เพื่อ​สนอง​พระ​ราช​ประสงค์​ดัง​กล่าว​และ​เป็นการ​พิมพ์​ถวาย​เป็น​พระ​ราช​กุศล​แด่​สมเด็จ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​องค์​อุปถัมภ์​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ผู้ทรง​พระ​ปัญญา​ญาณ​ ​โดย​ได้​จัด​พิมพ์​คู่มือ​นี้​เป็น​พิเศษ​ใน​ตอน​ท้าย​ของ​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​อนุรักษ์​ชุด​นี้​ทุก​เล่ม​ ในนามโครงการพระไตรปิฎกสากล ขอ​ขอบพระคุณ​ศาสตราจารย์​กิตติคุณ​ ดร​.​ ​วิ​จินต​น์​ ​ภาณุ​พงศ์​ ​ผู้​เขียน​คู่มือ​ ​ณ​ ​ที่​นี้​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ ปัจจุบันกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้ก่อตั้งมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เผยแผ่ผลงานด้านพระไตรปิฎกศึกษา 

ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ได้ให้คำแนะนำและให้ความอนุเคราะห์ ในการจัดทำต้นฉบับหนังสือชุดนี้ โดยเฉพาะท่านที่เป็นผู้แทนสถาบันต่างๆ ดังมีรายนามต่อไปนี้ 

​​ขอขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร. ธัชชัย สุมิตร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ก่อตั้งหอพระไตรปิฎกนานาชาติขึ้น ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเพื่อประทานคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ ซึ่งกองทุน สนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้ อนุรักษ์ขึ้นสำหรับประดิษฐานเป็นแห่งแรกในประเทศ ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ ซึ่งปัจจุบัน เป็นสถานที่ที่อนุรักษ์พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นชุดสมบูรณ์ที่ได้ขอยืมมาจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 5 และเป็นต้นฉบับในการถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับการจัดพิมพ์ชุดนี้  

ขอ​ขอบพระคุณ​อาจารย์​สิริ​ ​เพ็​ชร​ไชย​ ​ป​.​ธ​.​ ​9​ ​ประธาน​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ​ ​ที่​ได้​กรุณา​ให้​ข้อมูล​การออกเสียงอักขรวิธี​อักษร​สยาม​ ​​ท่านผู้หญิง​วรุณ​ยุพา สนิท​วงศ์​ ​ณ​ ​อยุธยา​ ​ที่​ปรึกษา​ด้าน​ประ​วัติ​ศาสตร์ของ​โครงการฯ ที่​กรุณา​ตรวจ​สอบ​หลัก​การ​ดำเนิน​งาน​ต่างๆ;​ ​ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน ที่กรุณาสนับสนุนให้ราชบัณฑิตและผู้เชี่ยวชาญจากราชบัณฑิตยสถานมาร่วมให้คำปรึิกษาต่างๆ; ม.ล. อนงค์ นิลอุบล คุณหญิงวิจันทรา บุนนาค และศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ ดร. อรรณพ คุณาวงษ์กฤต ในฐานะที่ปรึกษา และผู้แทนผู้อุปถัมภ์ที่ได้ร่วมสืบค้นพระไตรปิฎก จปร. ในประเทศสวีเดน ญี่ปุ่น นอร์เวย์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น, ประสิทธิ์ เสกสรรค์ เลขาธิการกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ, วิทูร ทวีสกุลชัย กรรมการก่อตั้งและเหรัญญิกกองทุนฯ​ พร้อมด้วยอริยะ อ่วมอร่าม และดร. บูชา บูชาธรรม หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและคณะ ที่ร่วมดำเนินโครงการและควบคุมการจัดพิมพ์  

​ขอ​ขอบพระคุณ​คณาจารย์​จาก​สถาบัน​ต่างๆ​ ​ที่​ได้​กรุณา​ให้​คำ​ปรึกษา​และ​ให้การ​สนับสนุน​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​ ​ฉบับ​อนุรักษ์​ดิจิทัล​ ​ดัง​มี​ราย​นาม​ดัง​ต่อ​ไป​นี้​ ​:​ ​ศาสตรา​จาร​ย์​กิตติคุณ​ ดร.​ ​กาญจนา​ เงารังษี​ ​มหาวิทยาลัย​นเรศวร​,​ ​ศาสตราจารย์​กิตติคุณ ​ดร​.​ ​อมรา​ ​ประสิทธิ์​รัฐ​สินธุ์​ ​คณะ​อักษร​ศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​,​ ​รอง​ศาสตราจารย์​ ​ดร​.​ ​นิต​ยา​ ​กาญ​จนะ​วรรณ​ ​ภาค​วิชา​มนุษยศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัย​รามคำแหง​ ​ที่​ให้​คำ​ปรึกษา​ด้าน​ภาษา​;​ ​ศาสตราจารย์ ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และราชบัณฑิต, รอง​ศาสตราจารย์​พร​ทวี​ ​พึ่ง​รัศมี​ ​หัวหน้า​ภาค​วิชา​วิทยาศาสตร์​ทาง​ภาพถ่าย​และ​เทคโนโลยี​การ​พิมพ์​,​ ​อา​จาร​ย์​ธีร​ะ​ ​ปิย​คุณากร​,​ ​รอง​ศาสตราจารย์​ ​ดร​.​ ​อรัญ​ ​หาญสืบสาย,​ อา​จาร​ย์จุฬ​พงษ์​ พา​นิช​เกรียง​ไกร​ ​ภาค​วิชา​วิทยาศาสตร์​ทาง​ภาพถ่าย​และ​เทคโนโลยี​ทางการ​พิมพ์​ ​คณะ​วิทยาศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ​ที่​ให้​คำ​ปรึกษา​เรื่อง​การ​พิมพ์​ ​และ​นิสิต​อาสาสมัคร​ภาค​วิชา​วิทยาศาสตร์​ทาง​ภาพถ่าย​และ​เทคโนโลยี​ทางการ​พิมพ์​ ​คณะ​วิทยาศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ​ที่​เป็นอาสาสมัครดำเนิน​การ​ปรับปรุง​ข้อมูล​ทาง​ภาพ​​ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รจิต วัฒนสินธุ์ คณะวิทยาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนอุปกรณ์การถ่ายภาพดิจิทัล และศาสตราจารย์ มณีวรรณ กมลพัฒนะ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต ที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพ

ขอขอบคุณ​รอง​ศาสตราจารย์​ ​ดร​. ​มานพ​ วงศ์​สายสุวรรณ​ ​ภาค​วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า​ ​และคณะ ​อาสา​สมัคร​ทั้ง​นิสิต​เก่า​และ​นิสิต​ปัจจุบัน​จาก​ภาค​วิชา​วิศวกรรม​คอมพิวเตอร์​ ​คณะวิศวกรรมศาสตร์​ ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ​ตลอด​จน​ผู้​ร่วม​งาน​ใน​โครงการ​พระไตรปิฎก​สากล​ ​ที่​ได้​สร้าง​ฐาน​ข้อมูล​ภาพ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​ฉบับ​อนุรักษ์​ ​การ​เขียน​โปรแกรม​เรียง​พิมพ์​ข้อมูล​สื่อ​ผสม​ต่างๆ​ ​และ​การ​จัด​หน้า​ใหม่​ทั้งหมด​;​ ​ผู้​ช่วย​ศาสตราจารย์​อา​วิน​ ​อิน​ทรังษี​ ​ภาควิชา​มัณฑศิลป์​ ​คณะ​ศิลปกรรม​ศาสตร์​ ​มหาวิทยา​ลัยศิลปากร​ ​ที่​ให้​คำ​ปรึกษา​ด้าน​ศิลปกรรม​พระ​ไตรปิฎก​ ​พร้อมทั้ง​ออกแบบ​ปก​และ​อักษรชุด​เรียง​พิมพ์​อักษร​สยาม​​

​ ขอขอบพระคุณผู้บัญชาการโรงเรียน​นาย​ร้อย​พระ​จุลจอมเกล้า พลโท ปริญญา สมสุวรรณ และพลตรี ณัทกร เกิดสุขผล ผู้อำนวยการส่วนการศึกษา ​โรงเรียน​นาย​ร้อย​พระ​จุลจอมเกล้า พร้อมด้วยคณาจารย์   กอ​งวิชากฏ​หมาย​และ​สังคมศาสตร์​ ​ส่วน​การ​ศึกษา​​ ​โรงเรียน​นาย​ร้อย​พระ​จุลจอมเกล้าที่​สนับสนุน​การ​ศึกษา​ค้นคว้า​พระ​ไตร​ปิฎก​​ จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช อักษร​สยาม​ เป็นเวลายาวนาน ถึง 10 ปี ระหว่าง พ​.​ศ​.​ ​2542-2552 รวมทั้งนักเรียนนายร้อยทุกคนที่ได้ให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ในวิชาทหารกับการพัฒนา และ วิชาเทคโนโลยีภูมิปัญญาไทยสากล : ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ 

ท้ายที่สุด ขอขอบพระคุณ พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่กรุณาสนับสนุนการเผยแผ่ข้อมูลการสร้างพระไตรปิฎกอักษรสยาม แก่ข้าราชการกระทรวงกลาโหม และมอบหมายให้นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายเรืออากาศ พร้อมด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่จากกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นผู้เข้าร่วมขบวนอัญเชิญพระไตรปิฎกอักษรสยาม ชุด 40 เล่ม จากกระทรวงกลาโหมเข้าสู่พิธีสมโภชพระไตรปิฎกอักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2552 น้อมถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อสืบทอดความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ของการสร้างพระไตรปิฎกอักษรสยามโดยกระทรวงกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 5 

​การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ 

กุศล​และ​ประโยชน์​ประการ​ใด​ที่​สำเร็จ​จาก​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก จปร. ​อักษร​สยาม​ ​ฉบับ​อนุรักษ์​ชุด​นี้​ ​ขอ​น้อม​ถวาย​เป็น​พุทธ​บูชา​ ​และ​อุทิศ​ถวาย​เป็น​เครื่อง​สัก​กา​ระ​สูงสุด​แด่​สมเด็จ​พระบูรพมหา​กษัตริย์​พุทธมามกะ​ไทย​ ​สถาบัน​อัน​ทรง​พระคุณ​อัน​ประเสริฐ​ที่​ได้​อนุรักษ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ และ​สืบทอด​มา​จนถึง​ทุก​วัน​นี้​​

อนึ่ง เนื่องในการปรับปรุงและจัดพิมพ์ใหม่ พ.ศ. 2562 ผู้เขียนมีข้อบันทึกเพิ่มเติมว่าในปี พ.ศ. 2555 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลร่วมกับกระทรวงมหาดไทยได้จัดนิทรรศการพระไตรปิฎกโดยอัญเชิญต้นฉบับพระไตรปิฎก จปร.อักษรสยาม พ.ศ. 2436 และฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2554 มาตั้งแสดงถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในงานฉลองครบครอบ 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ พุทธชยันตี พ.ศ. 2555 โดยรัฐบาลจัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร นับเป็นศิริมงคลหาที่สุดมิได้ และเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการจัดพิมพ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎก เป็นฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Edition) โน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. พ.ศ. 2559 และต้นฉบับปาฬิภาสา ชุด ภปร. พ.ศ. 2559 ผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นได้ที่โครงการเสียงสัชฌายะในมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

 

พัน​เอก ​สุร​ธัช​ ​ ​บุนนาค​​

หัวหน้าคณะศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม

กองวิชากฏหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 

พ.ศ. 2542-2554

นายก​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ​ท่าน​ผู้​หญิง​ ​ม​.​ล​.​ ​มณี​รัตน์​ ​บุนนาค​ ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์​

​สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร​ ​สมเด็จ​พระ​สังฆราช​ ​สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก​​ ​

พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน (2562)