ถวายฉบับสัชฌายะวัดศรีสุริยวงศ์
คำกล่าวรายงาน
การถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะ
โดย ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา
ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
กราบนมัสการ
พระพรหมมงคลวัชราจารย์
เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ดิฉัน ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา
ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ในนามผู้มีจิตศรัทธา ณ ที่นี้ขอกราบเรียนรายงาน พระเดชพระคุณ และ คณะสงฆ์วัดศรีสุริยวงศาราม ในวาระ ๑๕๐ ปี สมโภชพระอารามหลวง พุทธศักราช ๒๕๖๗ ดังต่อไปนี้
เนื่องในโอกาสพิธีบำเพ็ญกุศล สมโภชพระอารามหลวงครบ ๑๕๐ ปี และอายุวัฒนมงคล ๙๓ ปี พระพรหมมงคลวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม วรวิหาร
มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล และผู้มีจิตศรัทธา ณ ที่นี้ ขอน้อมถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พ.ศ. ๒๕๕๙ ชุด ๘๐ เล่ม แด่คณะสงฆ์วัดศรีสุริยวงศาราม วรวิหาร
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. สร้างขึ้นในโครงการพระไตรปิฎกสากล ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีพระบัญชาให้ดำเนินการ และฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. ส.ก. นี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นองค์ประธานการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลเผยแผ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เป็นที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่งที่พบว่าวัดศรีสุริยวงศ์ ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นเป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎก ชุดตีพิมพ์ชุดแรกของโลก และเป็นต้นฉบับที่ใช้อ้างอิงการถอดเสียงปาฬิ เป็นฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ที่จะน้อมถวายในวันนี้ด้วย
การอัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ และ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ในวันนี้ ได้ร่วมดำเนินการโดยผู้มีจิตศรัทธาหลายคณะ ได้แก่ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล องค์กรผู้จัดพิมพ์ฉบับสัชฌายะ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นผู้จัดทำต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล โรงเรียนสยามสามไตร เป็นองค์กรผู้เผยแผ่การศึกษาวิธีพุทธตามพระไตรปิฎก ผู้แทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาลัยวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘ ผู้ริเริ่มมอบคลังพระไตรปิฎกนานาชาติเพื่อก่อตั้งเป็นหอพระไตรปิฎกนานาชาติ ณ อาคารเทวาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้อ้างอิงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมงานในวันนี้จากจังหวัดต่างๆ
ลำดับต่อไปจะเป็นการอัญเชิญพระไตรปิฎกมาประดิษฐาน เสร็จแล้ว ขออาราธนาพระสุรธัช ธชสุโร วัดศรีสุริยวงศ์ ได้โปรดอ่านนำ คำถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะ เนื่องในโอกาสพิธีบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล ๙๓ ปี พระพรหมมงคลวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม อันเป็นมงคลดิถีครบ ๑๕๐ ปี พระอารามหลวง ซึ่งพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามพระอาราม แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สร้างวัดแห่งนี้ ว่า วัดศรีสุริยวงษาวาส หรือ วัดศรีสุริยวงศาราม ในปัจจุบัน
คำกล่าวถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะ
นะโม ตัสสะ
ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมบุดธัสสะ (๓ จบ)
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอน้อมถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ
ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา)
และ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงดนตรี ปาฬิภาสา-เสียงวรรณยุกต์สามัญ)
รวมชุด ๘๐ เล่ม
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาอันประเสริฐ
ทรงเป็นองค์ประธานการพิมพ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๙
ขอพระสงฆ์จงรับ
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ
ซึ่งจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกของโลก โดยคนไทย
ประดิษฐาน ณ วัดศรีสุริยวงศ์
ในวาระสมโภชครบ ๑๕๐ ปี
และอายุวัฒนมงคล ๙๓ ปี
พระพรหมมงคลวัชราจารย์
ขออานิสงฆ์การอนุรักษ์
เสียงพระธัมม์เที่ยงแท้
จงยังให้พระสัทธัมม์
มีความรุ่งเรืองไพบูลย์
ขอให้ประเทศชาติ
ปราศจากภยันตราย
มีความเจริญทุกเมื่อ
และขอให้ข้าพเจ้า
มีดวงตาเห็นพระธัมม์
ในไม่ช้าเทอญ.
Dedication of Saj-jʰā-ya Tipiṭaka
Namo tassa
bhagavato arahato
sammāsambuddhassa
O Noble Saṁgha, we respectfully present the World Tipiṭaka of the Saj-jʰā-ya Phonetic Recitation: The King Bhumibol’s Edition (the Original Pāḷi Manuscript in 40 volumes) and the Queen Sirikit’s Edition (the Pāḷi Monotone Music Notation in Standard 40 volumes), comprising a total of 80 volumes.
This commemorative publication from 2016 has been graciously overseen by His Majesty King Maha Vajiralongkorn of Thailand, whose profound confidence in the Pāḷi Tipiṭaka is truly commendable.
We thus humbly request the Saṁgha to accept the World Tipiṭaka: The Saj-jʰā-ya Phonetic Recitation Edition, the first of its kind in the world, printed by the Thai people and respectfully enshrined here at Wat Sri Suriyawong. This presentation commemorates the 150th anniversary of this royal monastery and celebrates the auspicious 93rd birthday anniversary of the Most Venerable Abbot Phra Phrommongkolvajāraya.
May the merit accrued from preserving the authentic Saj-jʰā-ya Recitation Sound of the Dhamma enhance and foster the flourishing of the Buddha’s teachings. May the Thai nation be protected from all dangers, continuously ever prosper now and aways, and may we attain the Supreme Dhamma Insight as swiftly as we possibly can.
Sādhu! Sādhu! Sādhu!
ภาพบนขวา ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน) ผู้ถือสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์เสียงสัชฌายะ เลขที่ 46390 (พ.ศ. ๒๕๕๗) ดังนั้นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดนี้ จึงเป็นการเรียงพิมพ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าว และตีพิมพ์เผยแผ่เป็นชุดแรกของโลก
ภาพบนซ้าย ท่านผู้หญิง ดร.ภรณี มหานนท์ ผู้แทนผู้อุปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา อัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. ๒๕๕๙ (อักษรเสียงสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. อ้างอิงการถ่ายถอดอักษรปาฬิภาสา (Pāḷi Transliteration) และ การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) จาก พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖
ท่านผู้หญิง ดร.ภรณี มหานนท์ อัญเชิญพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งค้นพบว่าวัดศรีสุริยวงศ์ได้รับพระราชทาน ๑ ชุด ๓๙ เล่ม จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นฉบับการถอดเสียงเป็น ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้ร่วมงานอัญเชิญ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ และ ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. พ.ศ. ๒๕๕๙ ถวายแด่พระพรหมมงคลวัชราจารย์ เพื่ออนุโมทนา
ภาพหมู่คณะผู้มีจิตศรัทธาหลายคณะ ได้แก่ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล, กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร, โรงเรียนสยามสามไตร, ผู้แทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาลัยวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘ และผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมงานจากจังหวัดต่างๆ
คณะสงฆ์วัดศรีสุริยวงศ์ นำโดย พระครูวรกิจโกศล กำลังอัญเชิญตัวอย่างพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งค้นพบ ณ วัดศรีสุริยวงศ์
การสืบค้นพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ วัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการอนุรักษ์พระไตรปิฎกปาฬิภาสา ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน
พระครูวรกิจโกศล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม
อธิบาย สาแหรกพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ที่มีระบบการเขียนเสียงปาฬิภาสา ตามไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ซึ่งปัจจุบันสาแหรกอักษรสยามได้ถอดเสียงในทางภาษาศาสตร์ เรียงพิมพ์เป็น อักษรเสียง (Phonetic Alphabet) และโน้ตเสียงดนตรีสากล ปาฬิภาสา - วรรณยุกต์สามัญ เป็น ชุด ส.ก. ชุด ๔๐ เล่มมาตรฐาน และ ชุดสมบูรณ์ ๒๕๐ เล่ม ซึ่งมีถึง ๔ version (ดู กระบวนการสร้างสรรค์โน้ตเสียงปาฬิ)
ส่วนหนึ่งของผู้แทนนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘ ร่วมอัญเชิญพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม
คุณจงพิศ บุนนาค หนึ่งในทายาทสายสกุลบุนนาค ซึ่งสืบทอดจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัญเชิญพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม เข้าร่วมในพิธี
ผู้แทนนิสิตก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘ กำลังจัดสถานที่และเตรียมซ้อมการอัญเชิญพระไตรปิฎก เพื่อน้อมถวายเจ้าอาวาสอนุโมทนาในวันรุ่งขึ้น
ดูตัวอย่างเล่มประมวลเนื้อหา จ.ป.ร.
Anthology ฉบับ จ.ป.ร. ตัวอย่าง ๑ เล่ม อ้างอิงกับต้นฉบับ ชุด ๓๙ เล่ม ที่พบ ณ วัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดูตัวอย่างเล่มประมวลเนื้อหาโรมัน
ฉบับ ภ.ป.ร. อ้างอิงกับ ฉบับอักษรโรมัน
ฉบับอักษรโรมัน หรือ Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500 เป็นการถ่ายถอดอักษร (Transliteration) เป็นอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์โครงการพระไตรปิฎกสากลในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้พระราชทานตามรอย ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม ซึ่งสมเด็จพระปิยมหาราช ได้พระราชทานแก่หอสมุดนานาชาติทั่วโลก และพระอารามต่างๆ ในกรุงสยาม รวมทั้งวัดศรีสุริยวงศ์
ดูตัวอย่างเล่มประมวลเนื้อหา ภ.ป.ร.
Anthology ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. เป็นตัวอย่าง 1 เล่ม จากชุด ๔๐ เล่ม ซึ่งถอดเสียงจาก ฉบับอักษรโรมัน ชุด ๔๐ เล่ม ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก
ดูตัวอย่างเล่มประมวลเนื้อหา ส.ก.
Anthology ฉบับสัชฌายะ ส.ก. เป็น การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) เรียกว่า ชุดโน้ตเสียงดนตรี - วรรณยุกต์สามัญ (The Monotone Music Notation) ซึ่งจัดพิมพ์สำเร็จเป็นชุดแรกของโลก โดยเรียงพิมพ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ 46390 และได้รับประกาศนียบัตรและเหรียญรางวัลในมหกรรมนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๖๖
จากตัวอย่างการออกเสียงสัชฌายะตอนต้นวิดีทัศน์ เป็น การอ้างอิงกับต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน ซึ่งสามารถสืบค้นตัวอย่างเนื้อหาใน Tipiṭaka Anthology ด้านบน
เนื่องในวันคล้ายวันเกิดในเดือนธันวาคม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการการในต้นรัชกาลที่ ๕ ผู้เป็นบรรพบุรุษไทยในราชินิกุลบุนนาค ที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับพระไตรปิฎกมายาวนาน (ดู บรรพบุรุษบุนนาค กับ พระไตรปิฎก)
ภาพบนจากซ้าย บางส่วนของนิสิตเก่าต่างๆ รวม ๕๐ คน อาทิ คณะรัฐศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะบัญชี กรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล และ นายกกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ (คณะนิติศาสตร์) นิสิตเก่าจุฬาฯ CU 18 คณะต่างๆ มาพบกันเพื่อบำเพ็ญกุศลในโอกาสที่ได้จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะครบปีที่ ๕๐ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๘ ในภาพ มีทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง ร่วมกับ กรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ผู้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ชุด ๘๐ เล่ม ถวายวัดศรีสุริยวงศาราม (ในอดีตชื่อว่า วัดศรีสุริยวงษาวาส) (ดู วัดศรีสุริยวงษาวาส)