วัดศรีสุริยวงษาวาส

11045

ร 5 เสด็จราชบุรี

เสด็จประพาสราชบุรี

วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร "วัดศรีสุริยวงษาวาส"

ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขถึงสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ลงวันศุกร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ เอกศก๑๒ศักราช ๑๒๔๑ ดังนี้..

ร.ที่ ๓๙๖/๔๑ ถึง เจ้าคุณสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ด้วยเจ้าคุณจดหมายมาด้วยเรื่องชื่อวัด ได้ทราบแล้ว เป็นความจริง แต่เดิมฉันก็ได้คิดอยากจะให้เป็นชื่อตรง เหมือนวัดประยูรวงษาวาส แต่ยังไม่ทราบอัทธยาไศรย เจ้าคุณว่าจะยกย่องวัดนี้เพียงสักเท่าใด จึงได้ถามว่า เจ้าคุณอยากจะให้ชื่ออย่างไร ทราบความว่า ประสงค์จะให้มีชื่อว่าเป็นที่ตั้งวงศ์ตระกูล ฤๅเป็นผู้บำรุงเมืองราชบุรี จึงได้ให้คิดชื่อไปตามความประสงค์เดิม ซึ่งเจ้าคุณจะให้เป็นชื่อตรงเสียนั้นดีแล้ว วัดนี้ให้ชื่อ วัดศรีสุริยวงษาวาส เป็นชื่อเพราะและเป็นเกรียติยศยืนยาวไป

11048

11037

ถึงแม้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง บุนนาค) ประสงค์จะสร้างวัดในหัวเมืองนี้เป็นวัดประจำตระกูล แต่ก็ไม่ได้สร้างใหญ่โตโอ่อ่า เพียงหวังจะให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลของตระกูลและชาวราชบุรี 

10993

จากซ้ายไปขวา และ แถวบน ลงล่าง

11020_0

1. และ 2. ความผสมผสานของศิลปะ
แสดงความผสมผสานของศิลปะ ระหว่างวัฒนธรรมโรมันของตะวันตก กับ พุทธศิลปะของไทยมีพระประธานสมัยรัตนโกสินทร์

 

11057

3. ผนังพระอุโบสถ
ภาพเขียนฝาผนัง เป็น ศิลปะการเขียนสีที่ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า Trompe l'oel ศิลปะเชิง 3 มิติ หรือ ศิลปะลวงตาทรอมพลุยล์ หรือ ทรอมพลุยล์ (ฝรั่งเศส : Trompe-l'œil, ออกเสียง: tʁɔ̃p lœj) มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า “ลวงตา” เป็นเทคนิคการสร้างศิลปะแบบหนึ่งที่ทำให้ผลที่ออกมาดูเหมือนมีความเป็นภาพ 3 มิติแม้ว่าจะเป็นจิตรกรรมสองมิติ

6191_0

ภาพเขียนในพระอุโบสถ (รูปบน) เปรียบเทียบกับตัวอย่างจากต่างประเทศ

การใช้ศิลปะนี้เขียนผนังจึงทำให้รู้สึกว่าเป็นผนังหินอ่อนสีงดงามจากอิตาลี แต่แท้จริงเป็นศิลปะตกแต่งภายในที่มิได้ลงทุนมากมาย แต่เป็น "ความพอเพียง" ในท้องถิ่นหัวเมืองไทย

ภาพลวงตา อาจเป็นปริศนาธัมมะ ที่สอนว่า สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนเป็น สมมุติ ที่หลอกลวงมนุษย์ให้หลงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ

 

11016_0

4. เสาดอริก (Doric Column)
เป็นศิลปะต้นแบบของกรีกโบราณ แสดงความเรียบง่าย เพราะไม่มีลวดลายอลังการเหมือนเสาแบบอื่นๆ แต่เรียบง่ายนี้แสดงถึงพลังที่แข็งแกร่งของสิ่งก่อสร้างเป็นพระอุโบสถ 

11056

เสาดอริกกำเนิดประมาณ ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ที่สื่อถึงความมั่นคงเพราะดูเหมือนสร้างจากหินทั้งต้น แต่เสาดอริกที่พระอุโบสถวัดศรีสุริยวงศ์แท้จริงเป็นการลวงตาด้วยสีที่ทาไว้ให้ดูเหมือนหินทั้งแท่ง

 

11066

5. พระประธานในพระอุโบสถ
ไม่ปรากฏนาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

 

6196_0

6. พื้นหินรอบพระอุโบสถ
มีลวดลายที่ปรากฏในหลายวัฒนธรรม เช่น จีนเรียกลายนี้ว่า ประแจจีน เพราะไขว้กันเหมือนกุญแจไขว้ ส่วนตะวันตก เรียกว่า กุญแจเหมือนกัน คือ Greek Key เป็นลวดลายที่ใช้เขียนบนขอบของศิลปะวัตถุต่างๆ ปัจจุบันนักออกแบบ เช่น Versace ได้นำมาใช้เป็นองค์ประกอบในแฟชั่นชั้นสูง

11096

ลายกุญแจจึงเป็นลวดลายสากล แม้ในโลกอาหรับก็นิยมลวดลายเช่นนี้ ได้แก่ Arabic geometric ซึ่งพัฒนามาจากลวดลายเป็นเรขาคณิตด้วย

11101

ประแจจีน เป็นลวดลายประดับที่เรียบง่ายที่สุด และพบเห็นมากที่สุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ฝรั่งเรียกว่า "The Meander" ส่วนคนจีนเรียกว่า  "Key-pattern"  หรือ "Thunder pattern" เป็นลายที่ค่อย ๆ พัฒนาจากรูปสัญลักษณ์โบราณที่เป็นตัวแทนของ ก้อนเมฆ และ เสียงฟ้าร้อง ลายนี้แบบโบราณค้นพบบนเครื่องทองสัมฤทธิ์สมัยราชวงศ์ Shang (商朝) ประกอบด้วยคู่ของลายที่ขดเป็นแบบธรรมดา แต่ละคู่ไม่เชื่อมต่อกัน หลังจากนั้นแต่ละคู่ก็เริ่มมาเชื่อมต่อกัน เพิ่มความประณีตยิ่งขึ้น

สำหรับเกษตรกรชาวจีน สัญลักษณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะต้องพึ่งพาน้ำฝนในการดำรงชีวิต เมื่อมีเสียงฟ้าร้องก็แสดงว่าจะมีฝนตก ฝนถือเป็นของขวัญจากสวรรค์ที่ช่วยนำความอุดมสมบูรณ์มาให้

 

6051_0

7. เสมาหิน
สันนิษฐานว่า เลียนแบบทวาราวดี สร้างเป็นรูปร่างที่เรียบง่ายสอดคล้องกับศิลปะอื่นๆ ของพระอาราม และ ศิลปะอื่นๆ ของสิ่งก่อสร้าง  แนวคิดความเรียบง่าย พอเพียง และมีขนาดเล็ก ทำให้นึกถึงแนวคิดที่ว่า Small is Beautiful..

 

11044

8. กระเบื้องกรุผนังในพระอุโบสถ
วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร ร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ จากราชทูตโปรตุเกส ถึงพระพุทธเจ้าหลวงแห่งกรุงสยาม เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสไทรโยค และขากลับได้เสด็จประทับ ณ พระราชวังบนเขาสัตตนารถ ณ มณฑลราชบุรี เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๒๐ การนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ ได้นำราชทูตโปรตุเกสเข้าเฝ้าฯ ณ สถานที่แห่งนี้  ซึ่งจากการเดินทางมาถึงมณฑลราชบุรีในครั้งนั้น  ได้ปรากฏมีร่องรอยของอารยธรรม ผ่านทางสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) คือ กระเบื้อง Azulejos (อะซูเลเฮ หรือ อะซูเลโฮ) หนึ่งในเอกลักษณ์ที่สะท้อนงานศิลป์โปรตุเกสได้ชัดเจนที่สุด คือกระเบื้องที่มีการเขียนแต่งแต้มลวดลายให้สวยงาม โดยจะใช้กระเบื้องเซรามิกสีขาว นำมาเขียนด้วยสีน้ำเงิน หรือฟ้า เป็นลายเรขาคณิต ไปจนถึงลายธรรมชาติ สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโปรตุเกส ที่ได้นำมาตกแต่งภายในพระอุโบสถวัดศรีสุริยวงศารามแห่งนี้เกร็ดเล็กน้อยที่มีที่มาอันยาวนาน

คำนี้ ทางนิรุตต์ศาสตร์ มีต้นกำเนิดมาจาก ภาษาอาหรับ (ดูอ้างอิง) แปลว่าหินที่ได้ขัดเกลาแล้ว

6035

การพบกระเบื้อง azulejo ประดับที่วัดศรีสุริยวงศ์ ย่อมแสดงว่าราชทูตโปรตุเกสรู้ว่า สมเด็จเจ้าพระยาฯ กำเนิดในตระกูลบุนนาค ซึ่งมีเชื้อสายมาจากกรุงเปอร์เซีย ชาติพันธุ์อาหรับที่มีศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่องกับคาบสมุทรไอบีเรียของโปรตุเกสและสเปน และราชทูตโปรตุเกสผู้ที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้พาเข้าเฝ้านี้ อาจจะแนะนำกระเบื้อง azulejo ที่มีชื่อเสียงนี้จากเปอร์ตุเกสให้ใช้ประดับพระอารามแห่งนี้ 

6038

ดังนั้นที่เคยเข้าใจกันว่า กระเบื้องแปลกตานี้เป็นกระเบื้องญี่ปุ่น จึงเข้าใจผิด ประวัติศาสตร์ของวัศรึสุริยวงศ์ ที่ราชบุรี ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการต่างประเทศสยามอีกมากที่ต้องสืบค้น

อ้างอิง 
ข้อมูลกระเบื้อง azulejo โดย พระครูวรกิจโกศล เลขานุการวัดศรีสุริยวงศ์
ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม  (ดูภาพ)

 

11010

9. รูปนกยูงล้อมด้วยรัศมีดวงอาทิตย์
เป็น โจทย์ให้ผู้มาเยือนพิจารณาว่า "สื่อความหมายใด"

พระอาทิตย์เป็นตราของสมเด็จเจ้าพระยา

ตราสุริยมณฑล เทพบุตรชักรถ เคยเป็นตราที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ให้เป็นตราประจำตัวของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ผู้เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ต่อมาเมื่อท่านดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้นำตราสุริยมณฑลนี้มาดัดแปลงเป็นรูปพระอาทิตย์แบบฝรั่ง เลียนแบบตราพระอาทิตย์จากพระราชวังแวร์ซายส์ ใช้ตราสุริยมณฑลเป็นตราประจำตัวตั้งแต่นั้นมา

การที่มีพญานกยูงประดับอยู่ตรงกลาง น่าจะเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา เช่น ในวัฒนธรรมมอญ และ พม่าโบราณ 

โมรปริตร ก็เป็นพระปริตรสำคัญที่มีกล่าวในชาดก โมรชาดก ที่บรรยายถึงพญานกยูงเมื่อมีสติสวดสัชฌายะ พร้อมกับเพิ่งดูดวงอาทิตย์อุทัยในยามรุ่งอรุณ ย่อมมีความปลอดภัยตลอดทั้งวัน 

Morajātaka
โมรชาดก

Udetayañ cakkhumā ekarājā,

Harissavaṇṇo pathavippabhāso;

Taṁ taṁ namassāmi

harissavaṇṇaṁ pathavippabhāsaṁ,

Tayājja guttā viharemu divasaṁ.

Mahāsaṅgīti Tipiṭaka B.E. 2500
มะหาสังคีติ  ติปิฏะกะ พ.ศ. 2500

พระไตรปิฎกสากล 
ปาฬิภาสา ฉบับอักษรโรมัน

 

พระอาทิตย์ผู้เป็นดุจดวงตาโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้,

เสด็จทอแสงอุทัย พระรัศมีสีทองส่องปฐพี,

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้านมัสการพระผู้ส่องปฐพี,

ขอทรงคุ้มครองข้าพเจ้าในวันนี้,

ขอให้ข้าพเจ้ามีชีวิตยั่งยืนตลอดวันเทอญ.

 

There he rises, the king all-seeing,

Making all things bright with his golden ray.

Thee I worship, glorious being,

Keep me safe, I pray,

Through the coming day.

ดู อ้างอิงเพิ่มเติม

รูปพญานกยูงกับดวงอาทิตย์จึงน่าจะเป็นคติเตือนใจของท่านผู้สร้างพระอุโบสถมากกว่าจะแสดงความยิ่งใหญ่ของอำนาจวาสนา

 

11011_0

10. โคมแก้วเจียรนัย 
เป็น ทั้งโบราณวัตถุของวัดศรีสุริยวงศ์ และศิลปะตะวันตกที่น่าศึกษา

โคมแก้วนี้ สั่งซื้อมาจากประเทศฝรั่งเศส สร้างโดยบริษัทแก้ว Baccara ที่เลื่องชื่อนับร้อยปีในอดีตมาจนถึงปัจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นศิลปะวัตถุที่หรูหราที่สุดจากตะวันตกที่ได้ถวายเป็นพุทธบูชาในพระอุโบสถวัดศรีสุริยวงศ์ โคมคู่นี้สันนิษฐานว่าได้สั่งซื้อมาจากฝรั่งเศส เหมือนกับโคมแก้ว Antique Baccara Crystal Chandelier ~ 1878 ที่แขวนอยู่ในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 

11042

ดูเพิ่มเติม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เรื่องโคมระย้า... โดย พิทยา บุนนาค : https://www.silpa-mag.com/history/article_22193

เกร็ดประวัติศาสตร์นี้ย่อมแสดงถึงความผูกพัน ศรัทธา และจงรักภักดีของท่านที่มีต่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ในยุคที่ยังมิได้มีไฟฟ้า โคมแก้วเจียรนัยนี้ย่อมมีคุณค่า ทั้งประโยชน์และกุศล ตามที่เชื่อกันว่า การถวายแสงสว่างย่อมมีอานิสงส์ให้เกิดปัญญา นำไปสู่มัคค์ ผล นิพพาน

หวังว่าลูกหลานในสกุลบุนนาค และผู้มีจิตศรัทธา เมื่อเข้ามาในพระวิหารและได้รับรู้เกร็ดประวัติศาสตร์ของศิลปะการตกแต่งโบสถ์เล็กๆ แห่งนี้แล้ว หวังว่าจะระลึกถึงปริศนาในทางธัมมะด้วย

11091

พระไตรปิฎกประจำวัดศรีสุริยวงศ์

สิ่งสำคัญที่สุดที่เก็บอยู่ ณ วัดศรีสุริยวงศ์ คือ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ชุด 39 เล่ม ซึ่งบัดนี้กำลังนำมาตรวจสอบ เพื่อจะทำการอนุรักษ์ เก็บรักษา

11552

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม ชุดนี้ เป็นต้นฉบับการอ้างอิงเป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ที่จะนำมาถวายพระอารามแห่งนี้ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

10637

10639

11058

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 แสดงการนำเทคโนโลยีตะวันตกมาอนุรักษ์ปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกของอารยธรรมตะวันออก

ดูตัวอย่าง Ebook
เล่มประมวลเนื้อหาฉบับอักษร
สยาม

ปกลิงค์สยาม anthology

11132

เหตุใด บรรพบุรุษไทยจึงนำเทคโนโลยีโรมัน มาผสมผสานกับ ศิลปะไทยพุทธ ?

ศิลปะของชาวโรมันนอกจากจะมีความงดงามเป็นสากลแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการก่อสร้างที่แข็งแรงและมั่นคง ดูในภาพ ถนนหินที่สร้างด้วยชาวโรมันที่เก่าที่สุด อายุกว่า 3,500 ปี ยังคงหลงเหลือและใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการนำองค์ความรู้การก่อสร้างและเทคโนโลยีโบราณมาอนุรักษ์องค์ความรู้ต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการก่อสร้าง ตกแต่ง และการสร้างสรรค์อักษรปาฬิ เป็น อักษรเสียงในพระไตรปิฎก (The Pāḷi Roman Phonetic Alphabet) จึงเป็นกุศลเหตุให้พระธัมมทานมีอายุยืนยาวตราบนานเท่านาน

9283

2024-01-31 พระไตรปิฎก-782

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ
อาคาร ๑๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗

Untitled.001

การถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แด่วัดศรีสุริยวงศ์ สืบเนื่องมาจากพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสัชฌายะ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  พ.ศ. 2567-2568 ผู้ทรงเป็นองค์ประธานการพิมพ์

11944

12243

12606

12657

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ได้ใช้อ้างอิงในการจัดพิมพ์หนังสือ ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ ปาฬิภาสา ซึ่งเรียงพิมพ์คู่ขนานกับ อักษรเสียง หรือ สัททะอักขะระปาฬิ

ถวายสัชฌายะ