พระไตรปิฎกอักขะระไตสยาม-ปาฬิ

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต
หนังสือ ที่ พว 0005.1/771

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานต้นฉบับสัชฌายะ ซึ่งพิมพ์เป็นชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต (Tai Scripts) คู่ขนาน กับ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) ชุดต่างๆ รวม 9 ชุดอักขะระ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 

สัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) ที่ใช้เขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสากล อ้างอิงจากต้นฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 และสร้างสรรค์สำเร็จขึ้นเป็นสัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) และได้รับการจดเป็นสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา The World Tipiṭaka Patent No. 46390 พ.ศ. 2557 (2014) ซึ่งนับเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยสัททะอักขะระเป็นครั้งแรกของโลก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9

 

อักขะระไตสยาม-ปาฬิ

อักขะระไตสยาม-ปาฬิ เดิมเรียก อักษรสยาม เป็นอักขะระที่ใช้พิมพ์ในชุดหนังสือพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นการปริวรรตอักขรวิธีการบันทึกอักขะระขอมโบราณในพระไตรปิฎกใบลานในอดีต ที่เขียนด้วยอักขรวิธีซ้อนอักขะระ หรือ เขียนพยัญชนะซ้อนกัน เช่น ซ้อนอักขะระเพื่อเขียนเสียงสะกด และซ้อนอักขะระเพื่อเขียนเสียงกล้ำ เป็นต้น แต่ในอักขรวิธีสยาม-ปาฬิได้ริเริ่มใช้เครื่องหมายวัญฌการแทนเสียงสะกด และไม้ยามักการแทนเสียงกล้ำ อันเป็นนวัตกรรมการเขียนเสียงปาฬิที่ไม่เคยมีมาก่อน

ตัวอย่างพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัลโดยโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2552

เครื่องหมายกำกับเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. มีดังต่อไปนี้

1. เสียงสระ-อะ เสียงคะรุ กำกับด้วย ไม้-อั (อะ) (    )

2. เสียงสะกด กำกับด้วย ไม้วัญฌการ  (   )

3. เสียงกล้ำ กำกับด้วย ไม้ยามักการ  (  ๎ 

4. เสียงก้องในจมูก กำกับด้วย ไม้นิคคะหิต  (     )

อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9 ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ในทางปาฬิภาสาเป็นคนแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ม.จ.ร.) เมื่อดำรงตำแหน่งประธานโครงการพระไตรปิฎกสากล และประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2543-2555 ได้ริเริ่มศึกษาการอ่านและออกเสียงปาฬิภาสา โดยเป็นผู้เขียนคำอธิบายอักขรวิธีการอ่านอักษรสยามในหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 โดยเฉพาะเสียงที่ไม่สะกด ที่มีเครื่องหมายกำกับเสียงคล้ายกับไม้หันอากาศในภาษาไทย แต่แท้จริงเป็นสัททสัญลักษณ์ที่แสดง เสียง-อะ เท่านั้่น ซึ่งเป็นเสียงไม่มีตัวสะกดตามมา ซึ่งปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากล เรียกว่า อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ  (อักขะระ ถอดเสียงว่า Akkhara)

เนื่องด้วยอักษรสยาม หรือที่โครงการพระไตรปิฎกสากล เรียกว่า อักขะระไตสยาม-ปาฬิ (Tai Syām Script-Pāḷi) ได้ตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎกชุดแรกของโลก ซึ่งมีตารางเสียงเทียบกับอักขะระโรมัน ที่นักวิชาการทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว ดังนั้นการอ้างอิงวิธีการถอดเสียงปาฬิในบทความนี้ จึงอ้างอิงกับอักขรวิธีโรมัน-ปาฬิ (Roman Script-Pāḷi)

วิธีอ่าน เสียงปาฬิ-อักขะระสยาม / อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิิ โดยสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9

1. อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ที่ไม่แสดงรูปเครื่องหมาย คือ เสียงอะ 

อักขะระสยาม-ปาฬิ เช่น  [ปะ] หรือ [นะ] เมื่อไม่ตามด้วยพยัญชนะเสียงสะกด หรือ เสียงกล้ำ จะไม่ปรากฏเครื่องหมายใดๆ กำกับ อ่านพยัญชนะตัวนั้นประกอบการประวิสรรชนีย์ (ใส่เครื่องหมาย - ) เช่น ปน [ปะนะ] อ่านตามเสียงปาฬิ ด้วย อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  pana (ดูรายละเอียดการเขียนเสียงละหุคะรุด้วยสัททะอักขะระ-ปาฬิ ในหนังสือ 80 ปี ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2557-2558)

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

2. อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ที่แสดงรูปเครื่องหมาย มี 4 ประเภท

2.1 ไม้-อั (อะ) (   ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียง สระ-อะ ( -) ที่เป็นเสียงคะรุ (เสียงลากนานขึ้น) :

2.1.1 แสดงเสียง สระ-อะ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงสะกด สังเกต ไม้-อั (อะ) (   ั  ) บนพยัญชนะหน้าเสียงสะกด เช่น  ธัม์ คือ ธั  ที่อยู่หน้าพยัญชนะเสียงสะกด  ม์ (ม-วัญฌการ) ในคำว่า  ธัม์โม  อักขะระโรมัน-ปาฬิ เขียนว่า  dhammo

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

2.1.2 แสดงเสียง สระ-อะ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ สังเกต ไม้-อั (อะ) (   ) บนพยัญชนะหน้าเสียงกล้ำ เช่น  ตัส๎มา  คือ   ตั (ตะ)  ที่อยู่หน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ  ส๎ ม- (ส-ยามักการ) ในคำ  ตัส๎มา   อักขะระโรมัน-ปาฬิ  เขียนว่า  ta-smā   (ดูคำอธิบายของ สระ-อะ ที่ต้องเป็นเสียงคะรุ ในกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602)

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

กรณี ไม้-อั (อะ) ในคำ  ตัส๎มา  ta-smā  จึงเป็นการแสดงรูปเสียง สระ-อะ เป็นสัททสัญลักษณ์  เช่นเดียวกับ สัททสัญลักษณ์ ไม้-อิ และ ไม้-อุุ ที่เป็นเสียงคะรุ เมื่อตามด้วยเสียงกล้ำ เช่น  คุย๎หํ  gu-yha

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

2.2 ไม้วัญฌการ   ์  ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียงสะกด โดยเขียนไม้วัญฌการบนพยัญชนะ เสียงสะกด เช่น ภิก์ - เกิดจาก ภิ (ภ + อิิ) + ก์  (ก-วัญฌการ) ในคำว่า  ภิก์ขุ  bhikkhu 

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

อนึ่ง ไม้วัญฌการ  (   ์  )  ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ มีหน้าที่ต่างจากเครื่องหมายที่มีรูปพ้องกันในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต (   ์ ) ที่เขียนเหนือพยัญชนะ หรือ เหนือพยัญชนะพร้อมสระ เพื่อไม่ให้ออกเสียง เช่น องค์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ค), จันทร์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ  ท  และ  ร  ทั้งสองตัว), และ สิทธิ์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ธ และ สระ-อิ) 

นอกจากนี้ในกรณี สระเสียงยาวตามด้วยเครื่องหมาย ไม้วัญฌการ  เป็นกรณีที่ไวยากรณ์ระบุไว้เป็นพิเศษ เช่น ไวยากรณ์รูปสิทธิ ข้อ 5 ระบุว่า สระเสียงยาวที่มีตัวสะกด จะต้องออกเสียงเร็ว เป็นเสียงละหุ เช่น เมต์.. ใน  เมต์ตา ออกเสียงว่า [เม็ต..] และ  โสต์ ใน  โสต์ถิ ออกเสียงว่า [โส็ต..] เป็นต้น

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

2.3 ไม้ยามักการ ( ๎ ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ เขียนไม้ยามักการไว้บนพยัญชนะเสียงกล้ำตัวหน้า คือ ให้ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากล้ำกับตัวหลัง เช่น
   
พ๎ยัญ์ชนํ  อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  byañjanaṁ
สัก
๎ยปุต์โต  อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  sa-kyaputto


ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ
 

เท๎ว  อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  dve   

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

2.4 ไม้นิคคะหิต (   ํ  ) หรือท่ี่ในภาษาไทยเรียกกันว่า พินทุโปร่ง อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียงนิคคะหิต
คือเสียงพยัญชนะเกิดที่จมูกล้วนๆ โดยเขียนไม้นิคคะหิตเหนือพยัญชนะที่ประกอบกับสระเสียงสั้น (อะ, อิ, อุ
เช่น สระ-อะ  ออักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า  สํฆํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  saṁghaṁ   

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

สระ-อิ  อิํ อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า  เอตัส๎มิํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  etasmiṁ 

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

 

สระ-อุ  อุํ อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า  ภิก์ขุํ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  bhikkhu

ดู อ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงปาฬิ

องค์ความรู้ของอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ในอดีตที่มีเครื่องหมายต่างๆ กำกับเสียงปาฬิ ทำให้ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า สยาม-ปาฬิ มิใช่เป็นการปริวรรตแปลงอักขะระขอมเป็นอักขะระสยามเท่านั้น แต่เป็นการริเริ่มหลักการที่สำคัญในทางภาษาศาสตร์อีกประการหนึ่งด้วย คือ การถอดเสียง (Phonetic Transcription) เป็น สัททะอักขะระ (Phonetic Symbol) เรียกว่า สัททะอักขะระสยาม-ปาฬิ ซึ่งเป็นการริเริ่มใหม่ของโลกที่ยังไม่มีผู้ใดกล่าวถึงในทางวิชาการ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพยางค์ของคำปาฬิด้วย (ดูข้อ 2.3)

โครงการพระไตรปิฎกสากลอธิบายการสร้างสรรค์เครื่องหมายกำกับเสียงต่างๆ ดังกล่าวเบื้องต้นว่า เป็นความประสงค์ของผู้จัดพิมพ์อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้อักขรวิธีสยาม-ปาฬิใหม่ที่ใช้เขียนเสียงปาฬิมีความแตกต่างจากอักขรวิธีอักษรสยามในภาษาไทย ซึ่งสยาม-ปาฬิในพระไตรปิฎกเป็นการเขียนเรียงกันบนบรรทัดเดียวและไม่มีระบบการซ้อนอักขะระ ทำให้อักขะระสยาม-ปาฬิสามารถใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่ทันสมัยของยุคพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว  เป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมการบันทึกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกอีกด้วย 

เมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ กับ อักขะระชาติพันธุ์ไตต่างๆ และหลักไวยากรณ์ปาฬิ สามารถยืนยันได้ว่าอักขรวิธีการเขียนเสียงสะกดแยกจากการเขียนเสียงกล้ำอย่างเด็ดขาด

อักขรวิธีไตยวน-ปาฬิ สอดคล้องกับอักขรวิธีไตสยาม-ปาฬิ
เสียงสะกดอ่านทวนเข็มนาฬิกา เสียงกล้ำอ่านตามเข็มนาฬิกา

กล่าวคือ ไม่มีเสียงสะกดที่กลายเป็นเสียงกล้ำในพยางค์ถัดไป โดยได้พบว่าบางอักขรวิธีของชาวไต ยังหลงเหลือร่องรอยอักขรวิธีการแบ่งพยางค์ที่ชัดเจนอยู่ เช่น อักขรวิธีล้านนา หรือที่โครงการพระไตรปิฎกสากลเรียกว่า อักขะระไตยวน-ปาฬิ แสดงการซ้อนพยัญชนะเสียงสะกด (ผู้ที่รู้ไวยากรณ์จะอ่านการซ้อนพยัญชนะดังกล่าวทวนเข็มนาฬิกา) ต่างจาก ซ้อนพยัญชนะเสียงกล้ำ (ผู้ที่รู้ไวยากรณ์จะอ่านการซ้อนพยัญชนะดังกล่าวตามเข็มนาฬิกา) ซึ่งตรงกันกับอักขรวิธีในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ที่ใช้เครื่องหมายแตกต่างกัน ได้แก่ ไม้วัญฌการแสดงเสียงสะกด (อ่านพยัญชนะไม้วัญฌการ โดยออกเสียงสะกดกับพยัญชนะต้น ด้วยวิธีอ่านย้อนทวนเข็มนาฬิกา) และไม้ยามักการแสดงเสียงกล้ำ (อ่านพยัญชนะไม้ยามักการ โดยออกเสียงกล้ำกับพยัญชนะที่ตามมา ด้วยวิธีอ่านตามเข็มนาฬิกา) โดยผู้อ่านไม่จำเป็นจะต้องรู้ไวยากรณ์แต่เมื่อเห็นเครื่องหมายก็จะออกเสียงได้ถูกต้องว่า ต้องอ่านทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา ตรงตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ซึ่งกล่าวถึงเสียงสะกดและเสียงกล้ำอยู่ต่างข้อกัน 

ในไวยากรณ์กล่าวไว้แต่เพียงเสียงสะกดและเสียงกล้ำเท่านั้น เป็นตันติภาษาที่มีแบบแผนชัดเจน ไม่มีกฎใดในไวยากรณ์ กล่าวถึงเสียงสะกดที่เคลื่อนเป็นเสียงกล้ำ เพราะเสียงสระหนึ่งตัวจะประกอบกับพยัญชนะหนึ่งตัวเท่านั้น มิอาจจะประกอบกับพยัญชนะสองตัว คือ ประกอบกับพยัญชนะพยางค์หน้าเป็นเสียงสะกด และขณะเดียวกันประกอบกับพยัญชนะพยางค์หลังเป็นเสียงกล้ำได้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่เสียงสะกดและเสียงกล้ำจะมาปนแทรกกัน 

ดังนั้นเมื่อคณะผู้เขียนร่วมกับโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ศึกษาอักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ และสามารถถอดเสียงละหุจาก สระ-อะ ที่ลดรูป และถอดเสียงคะรุจากไม้-อั (อะ) จากอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ได้นั้น จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพัฒนาการบันทึกเสียงปาฬิไปสู่วิธีถอดเสียงที่มีการแบ่งพยางค์ในสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ซึ่งบูรณาการสู่การเขียนเป็นจังหวะสากลของโน้ตเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสัชฌายะ และในที่สุดทำให้สามารถจดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 46390 เรื่อง โปรแกรมการแบ่งพยางค์เสียงปาฬิอัตโนมัติในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ดูตัวอย่างตารางการถอดเสียง และการแบ่งพยางค์ในคำ อาทิกัล๎ยาณํ  adikalyānaṁ

ขอขอบคุณ พันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค นายกกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ และคณะ ที่ดำเนินการถอดเสียง แบ่งพยางค์ และออกแบบสร้างสรรค์อักขะระไตสยาม-ปาฬิ ชุดนี้ เพื่อจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต พ.ศ. 2563

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 

ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค 
ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา

ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
พ.ศ. 2563

 

 

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต
หนังสือ ที่ พว 0005.1/771

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ผู้ทรงเป็นประธานการพิมพ์เพื่ออนุรักษ์ต้นฉบับ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 เสด็จเป็นประธานในพิธีพระราชทาน ต้นฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) ในพระไตรปิฎกสากล ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด อักขะระชาติพันธุ์ไตชุดต่างๆ (Tai Scripts) คู่ขนาน กับ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) รวม 9 ชุดอักขะระ โดยได้พระราชทานต้นฉบับแก่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2557 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากลจัดขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวาระที่ ชุดสัททะอักขะระในการพิมพ์พระไตรปิฎกสากลดังกล่าว สามารถสร้างสรรค์สำเร็จขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในรัชกาลที่ 9 โดยได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรก The World Tipiṭaka Patent No. 46390 พ.ศ. 2557 (2014)

ต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล ชุดสัททะอักขะระ-ปาฬิ  (Pāḷi Phonetic Alphabet) ได้พระราชทานแก่สถาบันศาล ในฐานะที่พระไตรปิฎกเปรียบเป็นพระธรรมศาสตร์เก่าแก่ ซึ่งเป็นรากฐานทางกฎหมายของมนุษยชาติ ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้อำนาจทางตุลาการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตรย์ไทย

หมายเหตุ : ในภาพคือต้นฉบับ ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ อักขะระไตขืน-ปาฬิ (เชียงตุง) จากชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต-ปาฬิ 9 ชุดอักขะระ ปัจจุบัน พ.ศ. 2563 ได้มีการจัดเพิ่มเป็นพระไตรปิฎกสากล 18 ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต ชุดละ 40 เล่ม เป็นทั้งชุดหนังสือและระบบดิจิทัลพร้อมเสียงสัชฌายะดิจิทัล รวม 3,052 ชั่วโมง ความจุ 1.6 เทระไบต์

 

Sajjhāya : Pāḷi Tai-Syām Sc... by Dhamma Society on Scribd