อักขรวิธี ไม้-อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ

สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9

เสียงปาฬิ ปาฬิภาสา หรือ เสียงภาษาพระธัมม์
โดย สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9

เสียงที่โครงการพระไตรปิฎกสากลเรียกว่า ปาฬินั้น พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​ได้​ทรง​บัญญัติ​ไว้​ในพระไตรปิฎกในส่วนของพระ​วินัย​ปิฎก​เรื่อง​การ​รักษา​เสียง​พระ​ธัมม์​คำ​สอน​อย่าง​ชัดเจนว่า ห้าม​มิ​ให้​แปล​เปลี่ยน​เป็น​เสียง​ใน​ภาษา​อื่น เช่น ห้าม​แปลเปลี่ยนเป็น​เสียงในภาษา​สัน​ก​ฤตตาม​ราย​ละเอียด​ใน​พระ​สุต​ตัน​ต​ปิฎก​ ดังนั้นเพื่อป้องกัน “อักขรวิบัติ” พระวินัยปิฎกจึงระบุหลักการออกเสียงปาฬิ พยัญชะนะกุสะละ ไทยเรียก​ว่า “พยัญชนะกุสละ 10” ได้แก่  1. สิถิละ   2. ธะนิตะ   3. ทีฆ​ะ   4. รัสสะ   5. คะรุ   6. ละหุ   7. นิคคะหีตะ   8. สัมพันธะ  9. วะวัตถิ​ตะ   10. วิ​มุตตะ  การออกเสียงปาฬิที่ไม่แม่นตรงตามพุทธบัญญัติในพระวินัยปิฎก ถือ​เป็นการ​ล่วง​ละเมิด​พระธัมมวินัย ที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก ภิกขุ​ใน​พระ​พุทธ​ศาสนา​ย่อม​ต้อง​อาบัติ​ตาม​ความ​ร้าย​แรง​ของ​การ​ล่วง​ละเมิดและ​มี​โทษที่​คณะสงฆ์​​ต้อง​ลง​ทัณฑ์​เป็น​ประการ​ต่างๆ ยกเว้นอาบัติปาราชิกะที่ภิกขุพ้นจากความเป็นภิกขุทันที พร้อมกับการกระทำล่วงละเมิดนั้น นอกจากนี้สังฆ​กัมม์​ที่เกิดขึ้นจากสงฆ์​ที่​ต้อง​อาบัติ​ร้ายแรงย่อม​เป็น​โมฆะ

วิธีอ่าน เสียงปาฬิ-อักขะระสยาม / อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิิ โดยสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9

1. อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ที่ไม่แสดงรูปเครื่องหมาย คือ เสียงอะ 

อักขะระสยาม-ปาฬิ เช่น หรือ เมื่อไม่ตามด้วยพยัญชนะเสียงสะกด หรือ เสียงกล้ำ จะไม่ปรากฏ เครื่องหมายใดๆ กำกับ อ่านพยัญชนะตัวนั้นประกอบวิสรรชนีย์ (ใส่เครื่องหมาย - ) เช่น ปน อ่านตามเสียงปาฬิ ด้วย อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า  pana (ดูรายละเอียดการเขียนเสียงละหุคะรุด้วยสัททะอักขะระ-ปาฬิ ในหนังสือ 80 ปี ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2557-2558)

2. อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ที่แสดงรูปเครื่องหมาย มี 4 ประเภท

2.1 ไม้อะ (   ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียง สระ-อะ ( -) ที่เป็นเสียงคะรุ :

2.1.1 แสดงเสียง สระ-อะ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงสะกด สังเกตไม้-อะ (   ั  ) บนพยัญชนะหน้าเสียงสะกด เช่น ธัม์ คือ ธั ที่อยู่หน้าพยัญชนะเสียงสะกด ม์ (ม-วัญฌการ) ในคำว่า ธัม์มํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ เขียนว่า dhammaṁ

2.1.2 แสดงเสียง สระ-อะ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ สังเกตไม้-อะ (   ) บนพยัญชนะหน้าเสียงกล้ำ เช่น  กัต๎วา คือ  กั (กะ) ที่อยู่หน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ ต๎ว- (ต-ยามักการ) ในคำ กัต๎วา อักขะระโรมัน-ปาฬิ เขียนว่า ka-tvā  (ดูคำอธิบายของ สระ-อะ ที่ต้องเป็นเสียงคะรุ ในกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602)

กรณี ไม้อะ ในคำ  กัต๎วา ka-tvā จึงเป็นการแสดงรูปเสียง สระ-อะ เป็นสัททสัญลักษณ์  เช่นเดียว กับ สัททสัญลักษณ์ ไม้-อิ และ ไม้-อุุ ที่เป็นเสียงคะรุ เมื่อตามด้วยเสียงกล้ำ เช่น คุย๎หํ gu-yha

2.1.3 เสียง อะ-นาสิก (  ัง ) พยัญชนะปาฬิ ไม่กำกับด้วยไม้วัญฌการ ไม่เป็นเสียงสะกด เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิ คำว่า มังคลมุต์ตมํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า maṅgalamuttamaṁ  เสียง อัง  [ - ังํ] เป็นเสียงคะรุ ออกเสียงนาน

2.2 ไม้วัญฌการ   ์  ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียงสะกด โดยเขียนไม้วัญฌการบนพยัญชนะ เสียงสะกด เช่น ภิก์ - เกิดจาก ภิ (ภ + อิิ) + ก์  (ก-วัญฌการ) ในคำว่า ภิก์ขbhikkhu       

อนึ่ง ไม้วัญฌการ  (   ์  )  ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ มีหน้าที่ต่างจากเครื่องหมายที่มีรูปพ้องกันในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต (   ์ ) ที่เขียนเหนือพยัญชนะ หรือ เหนือพยัญชนะพร้อมสระ เพื่อไม่ให้ออกเสียง เช่น องค์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ค), จันทร์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ  ท  และ  ร ทั้งสองตัว), และ สิทธิ์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ธ และ สระ-อิ) 

2.3 ไม้ยามักการ  ๊ ) ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ เขียนไม้ยามักการไว้บนพยัญชนะเสียงกล้ำตัวหน้า คือ ให้ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากล้ำกับตัวหลัง

เช่น
พ๎ย (พ-ยามักการ-ย) ในคำว่า สพ๎ยัญ์ชนํ sa-byañjanaṁ      
พ๎ยัญ์ชนํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า byañjanaṁ
เท๎ว  อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า dve       
กัล๎ยาณธัม์มํ   อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า ka-lyānadhammaṁ    

2.4 ไม้นิคคะหิต (   ํ  ) หรือท่ี่ในภาษาไทยเรียกกันว่า พินทุโปร่ง อักขะระสยาม-ปาฬิ แสดงเสียงนิคคะหิต
คือเสียงพยัญชนะเกิดที่จมูกล้วนๆ โดยเขียนไม้นิคคะหิตเหนือพยัญชนะที่ประกอบกับสระเสียงสั้น (อะ, อิ, อุ) 
เช่น สระ-อะ  ออักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า ภิก์ขุสํฆํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า bhikkusaṁghaṁ   
สระ-อิ  อิํ อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า เอตัส๎มิํ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า etasmiṁ 
สระ-อุ  อุอักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า ภิก์ขุํ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ ว่า bhikkhu