การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล

​​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ 2548​ ​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ​หรือ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (World Tipiṭaka Foundation)ในปัจจุบัน ได้​เริ่ม​ดำเนิน​การ​พิมพ์พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิภาสา​-อักษร​โรมัน​ ​ฉบับ​มหา​สังคายนา​สากล​นานาชาติ​ ​พ​.​ศ​.​ 2500​ ​ชุด​ ​40​ ​เล่ม​ ​เพื่อ​เป็น​พระธัมม​ทาน​จาก​ชาว​ไทย​แก่​สถาบัน​ใน​นานา​ประเทศ​ทั่ว​โลก​ ​ใน​การ​นี้​ ​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​ ​กุล​เชษฐ์​พระ​ราช​นัดดา​ใน​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ใน​ฐานะ​ที่​ทรง​เป็น​ประธาน​กิตติมศักดิ์​การ​ประดิษฐาน​พระ​ไตรปิฎกปาฬิภาสา-อักษรโรมัน​ ​ได้​ทรง​พระ​กรุณา​พระราชทาน​​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​สากล​ชุด​พิเศษ​ปฐมฤกษ์​ ​3​ ​ชุด​ ​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​จาก​ประเทศไทย​แก่​สถาบัน​สำคัญ​ของ​โลก​ ​อัน​นับ​เป็นการ​ดำเนิน​ตาม​รอย​พระบาทสมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​พระ​บร​มอัย​กาธิ​ราช​ ที่ได้​พระราชทาน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิภาสา​-อักษร​สยาม แล้ว​ใน​อดีต​

​​พระ​ไตรปิฎก​ปาฬิภาสา-​อักษร​โรมัน​ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันว่าพระไตรปิฎกสากล ชุด​ปฐมฤกษ์​ได้​พระราชทาน​แก่​สถาบัน​สำคัญ​นานาชาติ​ ​ดังนี้​

​​พระราชทาน​แก่​ประธานาธิบดี​แห่ง​สาธารณรัฐ​สังคมนิยม​ประชาธิปไตย​ศรี​ลังกา​ ​(​ฯพณฯ​ ​จัน​ทริ​กา​ ​บันดา​รา​ไนย​เก​ ​กุมารา​ตุง​คะ​)​ ​ใน​ฐานะ​ที่​ลังกา​เป็น​ประเทศ​ที่​จาร​พระ​ไตรปิฎก​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​โลก​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ทำเนียบ​ประธานาธิบดี​แห่ง​ศรี​ลังกา​ ​นคร​โคลัมโบ​ ​วัน​ที่​ ​6​ ​มีนาคม​ ​พ​.​ศ​.​ 2548​

​​พระราชทาน​แก่​ตุลาการ​ศาล​รัฐธรรมนูญ​ ​(​นาย​ผัน​ ​จันทร​ปาน​)​ ​สำหรับ​ประชาชน​ชาว​ไทย​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​ศาล​รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย​ ​กรุงเทพมหานคร​ ​วัน​ที่​ ​15​ ​สิงหาคม​ ​พ​.​ศ​.​2548​

​​พระราชทาน​แก่​อธิการบดี​มหาวิทยาลัย​อุป​ซา​ลา​ ​(​ศาสตราจารย์​ ​ซุน​ดค​วิสต์​)​ ​สำหรับ​​ราช​อาณาจักร​สวีเดน​ ​ผู้​แทน​สถาบัน​ใน​โลก​ตะวัน​ตก​ ​ประดิษฐาน​ ​ณ​ ​หอ​แห่ง​หนังสือ​ ​ห้อง​สมุด​คา​โร​ลี​นา​เรดิ​วี​ว่า​ ​ราช​อาณาจักร​สวีเดน​ ​วัน​ที่​ ​13​ ​กันยายน​ ​พ​.​ศ​.​ 2548​

​​นับ​แต่​นั้น​เป็นต้น​มา​ ได้มีสถาบันระดับนานาชาติต่างๆ ขอพระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน​ จากประเทศไทยตลอดมา ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 มีไม่น้อยกว่า 160 สถาบัน ใน 20 ประเทศ ทั่วโลก รวมทั้งสถาบันสมเด็จพระสังฆราช สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้รับพระราชทานถวาย พระไตรปิฎกสากล ในปี พ.ศ. 2554 ด้วย 

พระราชทานพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน
แก่ศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2552

​ใน​การ​นี้​ได้​มีน​โย​บาย​สำหรับ​การ​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​​แก่​สถาบัน​สำคัญ​นานาชาติ​ทั่ว​โลก​ที่​ได้​ขอ​พระราชทาน​มา​อย่าง​เป็น​ทางการ​ ​โดย​จะ​พระราชทาน​เป็น​ลำดับ​แรก​แก่​สถาบัน​ที่​ส่ง​เสริม​การ​ศึกษา​ฐาน​ปัญญา​เพื่อ​สันติสุข​ ​หรือ​เป็น​สถาบัน​ที่​เคย​ได้​รับ​พระราชทาน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ ​จุลจอม​เก​ล้า​บรม​ธัม​มิ​กม​หา​ราช​ ​ร​.​ศ​.​ ​112​ ​อักษร​สยาม​ ​ใน​อดีต​และ​ปัจจุบัน​ยัง​คง​รักษา​ไว้​เป็น​อย่าง​ดี​.​

สมโภชและพระราชทานต้นฉบับพระไตรปิฎกอักขะระชาติพันธุ์ไต
แก่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2557

 

พิธีอัญเชิญมอบพระไตรปิฎกสากลฉบับสัชฌายะ ณ ศาลฎีกา 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564

 

สถาบันที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล by Dhamma Society on Scribd